ถอดบทเรียนจากวิช


ถอดบทเรียนครับ

1.ความมั่นคงในศรัทธาต่อองค์หลวงปู่

2.การยึดเอาปฏิปทาที่งดงามของหลวงปู่มาใช้ในชีวิต

3.ความมั่นในพระรัตนตรัย

4.จิตมีกำลังและสิ่งใดปรากฏในใจ

#ถอดบทเรียนการทำโจทย์ของเเม่ครูต่อเรื่องราวนี้ครับ

1.จากการเฝ้าดู ร่วมภารกิจ เเละจนมาถึงตอนนี้ ไม่มีคำว่าหยุดพัก แม่ครูทำโจทย์เต็มกำลัง ผ่านเรื่องราวมากมายเเละปริศนาธรรมที่ได้รับมอบมา ไม่มีสิ่งอื่นนอกจากความศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ เฉียบคมไม่หวั่นไหว งดงามในความมั่น งามเบื้องต้นในการน้อมรับเเละลงใจในการมีคู่ งามท่ามกลางในการใช้ปัญญา  งามในที่สุดในการความอ่อนโยนต่อทุกชีวิตที่เข้ามาสัมพันธ์กับภารกิจนี้ วิชได้อยู่ ได้เห็น ได้สัมผัส ขอกราบขอบพระคุณเเม่ครูครับ

2.ปฏิปทาที่ยังคงซาบซึ้งหลวงปู่เอาเบิ่ดทุกคนและเเม่ครูทำให้รู้สึกเข้าไปในใจลึกขึ้นอีกว่าการศรัทธาไม่ได้ตื้นเเค่การกราบไหว้ หรือการเข้าไปใกล้ชิด เเต่คือการยึดถือความดีงาม ความเพียร ความอดทน ความเมตตาขององค์หลวงปู่ เเล้วน้อมเข้ามาใส่ใจ ใส่เข้าไปในใจ  ใจงาม มั่นคง เเละนุ่มนวล

3.ความมั่นพระรัตนตรัยอยู่เหนือต้องการส่วนตัวอย่างไร การทำโจทย์ครั้งนี้สะท้อนได้หมดทุกมุมมอง การรั้งตนต่อโลก เพื่อค้ำจุ้นพระรัตนตรัย เพื่อลากหอบทุกชีวิตให้ได้มากที่สุด เป็นการเสียสละที่นุ่มนวล ยิ่งใหญ่ เป็นกระรอกน้อยที่วิดน้ำอย่างพากเพียร ด้วยใจนุ่มนวล แข็งแกร่ง ไม่หวาดหวั่นเเม้ความตายยืนตรงหน้า เป็นความกล้าหาญที่อ่อนโยน ทั้งหมดเพื่อค้ำพระรัตนตรัยให้คงอยู่ 

4.การเรียนรู้ของวิช

ครั้งนี้เป็นงานของใจวิช  มีมิตรสหายเป็นกิเลสหลายรูปแบบ อยากถอดใจวันละหลายรอบ พร่ำบ่นกับตนเองเสมอว่าทำไมต้องเป็นเราหนอที่ต้องมาทำอะไรฝืนใจ ให้ลำบากกายลำบากใจ ทำไมไม่ได้ไปเที่ยวเล่น จนเมื่อถึงวันที่ภาระกิจลุล่วง ใจก็ไม่ได้คำตอบอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน รู้เเค่ตนเองดีใจ มันปลาบปลื้มในความอดทน ไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองอดทนมากหรือน้อย ดีงามหรือไม่ เเต่ดีใจเหลือเกินที่ยังยืนอยู่ตรงนี้ เพิ่งพอเข้าใจในประโยคเดิมที่แม่ครูหยอกล้อจิตมีกำลังครั้งนั้นเมื่อภารกิจสิ้นสุด คำนี้มีนิยามของใจที่ต่างออกไป จิตไม่ได้มีกำลัง ไปเห็นเทวดา ไปสวรรค์ ไปทำเรื่องโน่นนี่ จิตมีกำลังที่เเท้นั้น คือใจที่มีกำลังต่อสู้กับกิเลสเจ้าของ ใจที่ทำสิ่งที่ไม่อยากทำ ใจที่ไม่ทำสิ่งที่อยากทำ ที่ทำมาทั้งหมด ผ่านมา ย้อนกลับไปมองเเล้วได้กำลังใจ นี่คือความหมายจิตมีกำลัง “ “ใจมีกำลัง” “กำลังใจ” 

เมื่อกำลังพิมพ์ข้อความนี้ ในสถานการณ์ที่เหนื่อยอ่อน ปรากฏในใจเป็นคำถามต่อตนเองศรัทธามันหมดละบ่และพบว่าใจเต็มตื้นเเละปิติที่จะตอบว่ายังไม่หมด จะเหนื่อยอ่อนกว่านี้ก็จะไม่มีวันหมด ทุกครั้งที่ไปกราบหลวงปู่ กราบสามครั้ง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ชีวิตังเมปูเชมิ ทราบความหมายต่อตนเองเหมือนที่เคยผ่าน คือการยกชีวิตให้พระรัตนตรัย เคยอธิษฐานถวายชีวิต เเละใช้ชีวิตเจ้าของค้ำศาสนาไว้แล้ว เเละเมื่อใจปรากฏความเหนื่อยล้า วันนี้คิดได้ว่านี่เเหละคือความหมายของคำสัญญาถวายแล้ว ยกชีวิตให้เเล้ว จะไม่เป็นผู้ฉ้อฉลต่อสัจจะของตนเอง หลวงปู่มีงานที่องค์ท่านยังคงรอคอยอย่างโดดเดี่ยว  อาจารย์หรือใครก็ตามที่จะเข้ามาช่วยได้ ให้งานสำเร็จ เราควรซัพพอร์ต เรานามสกุล ช่วยเอื้อ 555 เเละความหมายคือซัพพอร์ต นี่คืองานของใจ ภารกิจที่เราได้ลั่นสัจจะไว้เเล้ว คือการค้ำพระพุทธศาสนาให้รีบปฏิบัติเอา เราจะค้ำจุนใครได้อย่างไรบนความเห็นผิดเย้ !!

กราบขอบพระคุณเเม่ครูครับ


คำสำคัญ (Tags): #ถอดบทเรียน#reflection
หมายเลขบันทึก: 662433เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2019 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2019 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท