" วิถีแต่เดิม " .. " เลิก ทำ ไม่ ได้ " ..แต่.. " ต้องปรับใหม่ให้เหมาะสม "


"พื้นที่ปลูกพืชไร่ ณ จ.น่าน คิดโดยประมาณการคร่าวๆ 200,000 ไร่ หากใช้ยาฆ่าหญ้า 1 ลิตร/ไร่ พ่นยาจำนวน 2 ครั้ง/ครอป .. ฤดูฝน น้ำไหลจากที่สูงลงแหล่งน้ำ แหล่งน้ำหลายสายรวมเป็นแม่น้ำ ไหลหล่อเลี้ยง หลายล้านชีวิต" 



วันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำกิจกรรมทางการเกษตรบนพื้นที่สูงนั้น ต้องผจญกับปัญหามากมาย ทั้งยังแบกรับต้นทุนที่สูงอย่างไม่มีหนทางหลีกหนี และคงปฏิเสธความทรงประสิทธิภาพบนพื้นฐานความสะดวก “การใช้สารเคมี” ไม่ได้ .. แต่ณ บ้านห้วยโทน หมู่บ้านแสนห่างไกลจากตัวจังหวัดน่าน ซึ่งมีพื้นที่ทำมาหากินตั้งอยู่บน “แนวเทือกเขาหลวงพระบาง” 


เป็นรอยต่อชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งสามารถเดินไปเยี่ยมยามกันได้เลยทีเดียว จากบรรพชนสู่ลูกหลาน มีเพียง “ข้าวไร่” ซึ่งเป็นพืชเพียงอย่างเดียว บนภูเขาสูงตระหง่าน รอแหล่งน้ำทางการเกษตรเพียงหยาดพระพิรุณ เพื่อพร่างพรมมายังดินแดนนี้ ให้ “ข้าวไร่” ได้ยื่นช่อชูรวง มีผลิตผลให้เพียงพอต่อปากท้องที่รอคอย.. 


“ วิถีแต่เดิม “ .. ยังมีการปลูกข้าวไร่ เพื่อดำรงชีพ ซึ่ง อาจถือได้ว่าไม่ตรงตามหลักของเศรษฐศาสตร์หรือหลักการบัญชีมากนัก .. หากเทียบกับพืชไร่ยอดฮิต ที่ราคาพุ่งสูงถึง +-9 บ./กก. เรียกได้ว่าพืชหลักยอดนิยมเลยทีเดียว .. ถึงแม้น “ ข้าวไร่ “ จะไม่ใช่พืชที่สร้างรายได้อย่างเหมาะสม แต่สิ่งนี้เขา .... “ เลิก ทำ ไม่ ได้ “ .. เพราะ “ ศูนย์รวมจิตวิญญาณ “ จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งยังตราจิตตรึงใจของเหล่าสายเลือดรุ่นใหม่ แม้กาลเวลาจะหลั่งไหลไปอย่างไม่หยุดยั้งก็ตาม เขาทั้งหลายยังคงตนตัวแห่งอารยธรรมนี้ไม่ให้สิ้นสูญ และยัง.. “ ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม “ .. 


ด้วยความร่วมแรงมุ่งมั่นตั้งใจของทุกๆ ฝ่าย ด้วยการแก้ไขปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ การส่งเสริมการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง .. ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับบริบทของชุมชนและพื้นที่อย่างลงตัว .. ด้วยความตระหนักถึงพิษร้ายของการใช้ยาฆ่าหญ้า ทำให้ชาวบ้านนั้นใช้ภูมิปัญญา การผสมน้ำเกลือเพื่อใช้ทดแทน และมีระยะการใช้อย่างเหมาะสม .. การเพิ่มผลผลิตข้าว โดยการ ทดลองทำนาขั้นบันได .. การปลูกกาแฟร่วมกับการรักษาป่า .. การปลูกพริกหวานในโรงเรือน .. จนสามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจขึ้นมาได้ ทำให้ก่อรายได้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดปัญหาการเกิดแรงงานพลัดถิ่น ครอบครัวไม่อบอุ่น และปัญหาสังคมอื่นๆ ที่ตามมา 


แต่ .. ทั้งหมดนี้เป็นเพียงก้าวแรกที่ “สำคัญ” ของชุมชนที่รักษาตัวตน พิทักษ์ป่าต้นน้ำ อยู่รวมกับธรรมชาติโดยผาสุข โดยลดการพึ่งพา “ ข้าวโพดและยาฆ่าหญ้า” หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการพิทักษ์ป่าต่างๆ ได้เล็งเห็น และส่งเสริมให้เกิดการขยายผลในเชิงประจักษ์ .. ต่อไป 

..# 23° บนยอดดอย 1,207 M.

หมายเลขบันทึก: 661727เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2019 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2019 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท