Meta R2R NICU รพ.ยโสธร


เมื่อเช้ามีโอกาสได้พูดคุยกับพี่วิ ถึงเรื่อง การพัฒนากระบวนการการพยาบาลอย่างเป็นระบบด้วยกลไกมิติทางคุณภาพต่อความปลอดภัยและการเข้าถึงระบบบริการของผู้ป่วยNICUโรงพยาบาลยโสธร

(วิภาดา เชื้อศุภโรบลและคณะ) 

ทำให้มองเห็นการค่อยๆ ก่อร่างสร้างความคิดในการแก้ไขและพัฒนางานด้วยกระบวนการวิจัยต่อเนื่องหลายปี มีผลงาน R2R อันเป็นวิจัยจากการปฏิบัติจนเกิดเป็นรูปแบบและกระบวนการทำงานที่บูรณาการฐานคิดทั้งในเรื่อง Service Plan HA KM และฐานการเรียนรู้ Reflective Learning

มีผลงาน R2R เพื่อนำไปสู่การศึกษา อยู่  9 เรื่อง ได้แก่ (1) เรื่อง การพัฒนาระบบการทบทวน 12 กิจกรรมโดย Monitoring NICU TEAM (2) เรื่อง การบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบต่อการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์อันไม่พึงประสงค์ในการดูแลผู้ป่วย NICU (3) เรื่อง การพัฒนาระบบ IC for Newborn Care ต่อการเฝ้าระวังการติดเชื้อ 3 กลุ่มใน NICU (4) เรื่อง การเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างเป็นระบบต่อการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางการพยาบาล (5) เรื่อง การพัฒนาระบบการส่งต่อแบบ Seamless Network ต่อการเข้าถึงระบบบริการและปลอดภัยในผู้ป่วย Crisis Newborn (6) เรื่อง ผลการส่งเสริมพัฒนาการของทารกในระยะวิกฤต (7) เรื่อง ประสิทธิภาพการบริหารจัดการเครื่องมือทางการแพทย์ภายใต้แนวคิด LEAN (8) เรื่อง การเยี่ยมบ้านแบบสหสาขาวิชาชีพเชิงรุกต่อการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพัฒนาการล่าช้า ในทารกที่ผ่านภาวะวิกฤต และ (9) เรื่อง การพัฒนารูปแบบBio-Psycho-Social-Spiritual ต่อการดูแลแบบประคับประคองของทารกในระยะวิกฤต

ผลการศึกษาพบว่า 

จำนวนผู้ป่วยที่รับเข้า NICU เด็กเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.17 เป็นร้อยละ 30.54 ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากทีมสหสาขาวิชาชีพ จากร้อย 23.07 เป็นร้อยละ 37.5 เมื่อดูผลมิติความปลอดภัย พบว่า อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลงจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 อัตราการเกิด BPD หรือ CLD ลดลงจากร้อยละ 19.23 เป็น 18.75 อัตราการเกิด ROP ลดลงจากร้อยละ 7.69 เป็น 6.25 อัตราการเกิด IVH grad III-IV ลดลงจากร้อยละ 3.86 เป็น 0 อัตราการเกิด Hearing impairment (โดยวิธี ABR) คงที่ที่ระดับ 0 และอัตราการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนลดลงจากร้อยละ 22.75 เป็น 21.68 เมื่อวิเคราะห์ค่าความแตกต่างของสัดส่วนพบว่า มีเฉพาะจำนวนการติดตามเยี่ยมบ้าน อัตราการเกิด IVH grad III-IV และอัตราการเกิด Hearing impairment (โดยวิธี ABR) ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

ชื่นชมค่ะ


คำสำคัญ (Tags): #r2r#km
หมายเลขบันทึก: 661653เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2019 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2019 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท