เที่ยวพิษณุโลกกับสุภัชชา.ตอนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล เนินมะปราง พิษณุโลก


เที่ยวพิษณุโลกกับสุภัชชา.ตอนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล เนินมะปราง พิษณุโลก

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ครอบคลุมเนื้อที่ 1,775 ไร่ ในท้องที่อำเภอเนินมะปราง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 85 กิโลเมตร การเดินทางเริ่มจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึงอำเภอวังทองระยะทาง 20 กิโลเมตร แยกขวาไปยังอำเภอสากเหล็กอีก 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 11 แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง 1115 อีก 17 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา (ก่อนถึงตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร) มีแยกขวาไปถ้ำผาท่าพลอีก 10 กิโลเมตร เส้นทางบางช่วงเป็นทางลูกรัง ในฤดูฝนควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อพื้นที่บริเวณนี้เป็นภูเขาหินปูน ยอดสูงสุด 236 เมตร มีหน้าผาสูงชันเว้าแหว่ง อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนนับหลายล้านปี เกิดเป็นถ้ำต่าง ๆ มากมายทั่วบริเวณ ได้แก่ ถ้ำนเรศวร ถ้ำเรือ ที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ถ้ำลอด ซึ่งสามารถเดินทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งของภูเขาได้
นอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของหอยและปะการัง เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อน แ
ละยังมีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์รูปมือคนบนเพิงผาหิน และอักษรญี่ปุ่นโบราณสลักบนก้อนหิน พรรณไม้และร่องรอยสัตว์ป่าต่าง ๆ ที่มักพบระหว่างทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ เหมาะแก่การทัศนศึกษาเชิงนิเวศคะ
ความเป็นมา
จากการสำรวจบริเว
ณถ้ำผาท่าพล ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย ในท้องที่อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า มีสัตว์ป่าจำนวน 61 ชนิด และมีชนิดที่หายากคือ เลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาธรรมชาติและสัตว์ป่า จึงได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์กำหนดให้ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลบ้านมุง ตำบลเนินมะปราง เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2526 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 124 วันที่ 26 กรกฎาคม 2526
ถ้ำต่างๆ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล มีดังนี้
-ถ้ำนเรศวร
สมัยก่อนชาวบ้านเรียกถ้ำโอ่ง เพราะมีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผา แต่ถูกเก็บไปราวปี พ.ศ.2518 เปลี่ยนชื่อมาเป็นถ้ำนเรศวรเมือปี พ.ศ.2532 เพราะมีหินซึ่งมีลักษณะคล้ายพระ
มาลาเบี่ยงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในถ้ำมีหินงอก-หินย้อย รูปร่างแปลกตา รวมทั้งก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายแรด
-ถ้ำเรือ 
เป็นถ้ำที่พบฟอสซิลหอยส
องฝา สาหร่ายทะเล ปลิงทะเลมากกว่าถ้ำอื่นปรากฏอยู่ตามผนังถ้ำ ที่ผนังถ้ำยังปรากฏ รูปรอยคล้ายลอนคลื่นสวยงาม ซึ่งเกิดจาก การกัดเซาะของน้ำในลำห้วยช่วงฤดูน้ำหลากมีรูปคล้ายเรือคว่ำเป็นเพดานถ้ำ จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำ
-ถ้ำดึกดำบรรพ์ 
ที่พบซากดึกดำบรรพ์ของหอยและปะการัง เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อน ซากดึกดำบรรพ์ ซากหอยและปะการังอายุ 360 ล้านปี
-ถ้ำอักษรญี่ปุ่น 
ถ้ำอักษรญี่ปุ่น ที่ถ้ำผาท่าพล มีตัวอักษรปริศนาบนหิน เชื่อว่าทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สลักไว้ รวมทั้งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ รูปมือคนบนเพิง ผาหิน และอัก
ษรญี่ปุ่นโบราณสลักบนก้อนหิน พรรณไม้และร่องรอยสัตว์ป่าต่าง ๆ 
-ถ้ำเต่า
ที่ได้ชื่อนี่ เพราะว่าเมื่อก่อนมีเต่าอาศัยอยู่มาก เป็นถ้ำที่สวยที่สุด มีหินงอกหินย้อยสวยงาม และลวดลายหินที่สวยงาม 
-ถ้ำลอด
มีลักษณะคล้ายห้องโถง
มีลำห้วยไหลผ่านถ้ำลอดเข้าไปถึงถ้ำเรือ ภายในถ้ำเดินลัดเลาะตามโขดหินทะลุไปอีกฟากของเขาผาท่าพลได้ 
-ถ้ำผาแดง
ที่หน้าผามีสีแดง ซึ่งเกิดจากเวลาฝนตกน้ำเซาะเอาดินไหลมาที่หน้าผาเกิดเป็นสีแดงขึ้น ถ้ำผาแดงมีทางเข้า 2 ทาง ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีกองหินซึ่งเป็นหินแม่น้ำ เพราะบริเวณนี้เคยเป็นทางน้ำเก่ายังพบเศษภาชนะดินเผาและสะเก็ดหิน ซึ่งกรมศิลปากร เข้ามาสำรวจ พบว่าที่นี่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
-ถ้ำค้างคาว

เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว และมีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีทั้งค้างคาวปากย่น และค้างคาวปีกถุงเคราดำ การเข้าชม ถ้ำค้างคาว ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางไปเท่านั้น 
 ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพิงผาฝ่ามือแดงจะมีภาพสียางไม้ผสมเฮมาไทต์ 35 ภาพ วาดเป็นศิลปะต่าง ๆและประทับเป็นรอยฝ่ามือกระทับไว้ด้วยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 4 พันปีมาแล้วคะ

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/plngp...

ในภาพอาจจะมี 2 คน, รวมถึง Ganesh Noi Ganesh, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังนั่ง, ต้นไม้, รองเท้า, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ
ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ต้นพืช, ต้นไม้, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ
ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังยืน, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ
ในภาพอาจจะมี ต้นพืช, พื้นหญ้า และสถานที่กลางแจ้ง

หมายเลขบันทึก: 660916เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2019 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2019 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท