ดันแนวคิดแลนด์แชรริ่ง เพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมกลางกรุง


“เรามีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพึ่งตนเองด้านอาหารและส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอผ่านรูปแบบกิจกรรม อย่างการ Workshop ปลูกผักบนดาดฟ้า สอนทำเมนูอาหารจากผักที่ปลูก การนัดแนะมาทานข้าวในสวน ซึ่งทั้งหมดถือเป็นการเชื่อมโยงให้คนเมืองที่สนใจร่วมกิจกรรมได้เข้าถึงอาหารที่ดี สด สะอาด ปลอดภัย ไปพร้อมๆ กัน”

ถ้าพูดถึงโครงการ  “สวนผักคนเมือง” หลายคนคงเคยได้ยิน เพราะโครงการที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน และสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินอยู่นี้ทำอย่างต่อเนื่องมานาน และเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันแนวคิดการเปลี่ยนพื้นที่เล็กๆในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นแหล่งมั่นคงทางอาหารของคนเมือง



วรางคนางค์ นิ้มหัตถา หั
วหน้าโครงการสวนผักคนเมือง บอกว่า เครือข่ายสวนผักคนเมืองทำอย่างต่อเนื่อง6-7 ปีแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดต้นแบบการพึ่งตนเองด้านอาหารของคนเมือง เกิดการลงมือปลูกพืช ปลูกผัก ทำเกษตรกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่ปลอดสารเคมี

 “เรามีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพึ่งตนเองด้านอาหารและส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอผ่านรูปแบบกิจกรรม อย่างการ Workshop ปลูกผักบนดาดฟ้า สอนทำเมนูอาหารจากผักที่ปลูก การนัดแนะมาทานข้าวในสวน ซึ่งทั้งหมดถือเป็นการเชื่อมโยงให้คนเมืองที่สนใจร่วมกิจกรรมได้เข้าถึงอาหารที่ดี สด สะอาด ปลอดภัย ไปพร้อมๆ กัน”

“สวนในปีนี้ (ก.ย.-60-31ธ.ค.61) โครงการมีชื่อตีมว่า ‘สวนผักคนเมืองเพื่อพัฒนาระบบอาหารและเกษตรที่ยั่งยืนของเมือง’ โดย มี 25 โครงการ และ 25 พื้นที่พื้นที่รูปธรรมที่เกิดจากแนวคิดนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่เน้นเรื่องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน ที่เห็นการเชื่อมโยงกับสำนักเขต การพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าในชุมชนเมือง ในจำนวน 16 โครงการ กับอีก 9โครงการที่ทำแลนด์แชร์ริ่ง (Land sharing) ซึ่งเน้นเรื่องการแบ่งปันอาหาร แบ่งปันชีวิต

สำหรับแนวคิดเรื่องการแบ่งปันที่ดินนั้น วรางคนางค์ บอกว่า เกิดจากการสำรวจพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งพบว่า  1. กรุงเทพฯ มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเยอะมาก ทั้งที่พื้นที่เหล่านั้นมีศักยภาพมาใช้สร้างอาหารปลอดภัยในเมืองได้ 2. หลังจากชื่อของสวนผักคนเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว เริ่มมีคนเมืองอยากจะเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของตัวเองให้เป็นพื้นที่สีเขียวบ้าง จึงอยากมอบพื้นที่ของตัวเองเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกัน 3.การทำเกษตรมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แรงงาน และใช้เครือข่ายเพื่อน คอยให้กำลังใจกัน ซึ่งการมีเครือข่ายเช่นนี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าต่างคนต่างทำ ทั้งนี้จึงใช้ปัจจัยจากทั้ง 3 ด้านมาร่วมผลักดันการพัมนาศักยภาพพื้นที่รกร้างในเขตเมืองเพื่อใช้เป็นที่ทำการเกษตร

ติรยศ พงษ์วิพันธุ์ เจ้าของพื้นที่สวนผักคนเมืองย่านพุทธมณฑลสาย 2 บอกว่า ตนเองมีที่ว่างเปล่าของครอบครัว ซึ่งก่อนหน้านี้ลงมือปลูกคนเดียวส่วนหนึ่ง แต่ยังมีอีกมากที่ถูกทิ้งไว้  ดังนั้นเมื่อได้ยินถึงการแบ่งปันที่ดินก็รู้สึกสนใจ จึงนำเสนอพื้นที่กับโครงการ และแชร์โลเคชั่นในเฟสบุ๊ค ในกรุ๊ปไลน์ จึงมีคนติดต่อเข้ามา

การแบ่งปันพื้นที่นั้นนอกจากจะช่วยให้พื้นที่ว่างเปล่าได้มีการใช้งานแล้ว ยังหมายถึงการสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยสำหรับตัวเองด้วยซึ่งทั้งหมดเชื่อมโยงกับการพัฒนาด้านสุขภาพ วิถีชีวิต ให้สังคมเห็นความ สำคัญและยอมรับเกษตรในเมืองเป็นประเด็นหนึ่งของการพัฒนาเมืองปัจจุบัน

“อย่างกิจกรรมกินข้าวในสวนครั้งที่ 2 ในวันนี้เราเริ่มจาก เข้าสวนเพื่อทำกับข้าว ร่วมรับประทานอาหารกลางวันเติมพลังก่อนจากนั้นพอกินข้าวเสร็จร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ลงมือปฏิบัติในการปลูกพืช หรือถ้าใครมีความถนัดก็จะผลัดกันมาสอน เพราะบางคนอาจจะถนัดเรื่องการปลูกผักสวนครัว บางคนถนัดไม้ดอก” 

สำหรับแนวคิดเรื่องแลนด์แชรริ่ง ในโครงการสวนผักคนเมืองปีนี้พบว่า มีพื้นที่เด่นต้นแบบซึ่งมีลักษณะเด่นเฉพาะแตกต่างกันไป อาทิ โครงการสวนผักคนเมืองพุทธมณฑลสาย 2ซึ่งโดดเด่นเรื่องการสร้างเครือข่ายจากหลายที่ ซึ่งใช้วันหยุดเป้นช่วงจัดกิจกรรมอย่างที่ต่อเนื่อง ที่สวนผักคนเมืองรังสิต คลอง 7 ที่โดดเด่นเรื่องจำนวนผลผลิต จากฝีมือของคนรุ่นใหม่ ซึ่งสร้างรายได้จากการทำเกษตร หรือที่พหลโยธิน 53 ซึ่งมีการใช้พื้นที่กลางเมืองออกแบบให้มีการปลูกผักได้ตลอด มีมิติการออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 660856เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2019 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2019 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท