มท.ตั้งกรรมการตรวจรับแก้ทุจริตอาหารกลางวัน


ปัจจัยหนึ่ง เป็นเพราะครูภายในโรงเรียน ขาดความรู้ด้านโภชนาการ ระบบจัดซื้อในโรงเรียนเน้นราคาถูก ขาดการกำหนดคุณภาพ ขาดการจัดการงบอาหารกลางวันในโรงเรียนขยายโอกาส งบอาหารจึงถูกแบ่งให้ทั้งเด็กประถมและมัธยม ซึ่งนักเรียนมัธยมกินมากกว่าประถม 1.5 เท่า จึงควรปรับให้เหมาะสม

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตั้งกรรมการตรวจรับ เมนูอาหารกลางวันให้ 3 ภาคส่วน พร้อมตั้งนักโภชนาการประจำโรงเรียน ร่วมคุมคุณภาพ หลังผลประเมิน สสส.พบโรงเรียนส่วนใหญ่อาหารกลางวันขาดโภชนาการ พร้อมจัดทดลองนำร่องโรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ 112 แห่ง ใน 50 จังหวัดทั่วประเทศ

ความคืบหน้าการบริหารงานด้านอาหารกลางวันหลังจากที่ผ่านมาพบการทุจริตงบประมาณจนส่งผลให้อาหารไม่มีคุณภาพโภชนาการ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย บอกว่า ได้สั่งการถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด กำชับมาตรการ 4 เรื่องหลัก คือ เมนูอาหารกลางวันต้องได้คุณภาพ โดยให้พิจารณาจากระบบ Thai School Lunch วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารกลางวันต้องมีความปลอดภัย เพื่อความโปร่งใส ป้องกันการทุจริตงบประมาณค่าอาหารกลางวัน ให้ทุกโรงเรียนปิดประกาศรายการอาหารและจำนวนหรือปริมาตรวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร รวมถึงสารอาหารเฉลี่ยให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับทราบ

นอกจากนี้ได้ตั้งคณะทำงานสุ่มตรวจคุณภาพและการบริหารจัดการอาหารกลางวันในโรงเรียน ในกรณีที่สถานศึกษามีการจ้างเหมา และควรมีกรรมการตรวจการจ้างและตรวจรับจาก 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย กรรมการจากผู้ปกครอง ตัวแทนจากท้องถิ่น และตัวแทนจากสถานศึกษา และการเฝ้าระวัง ติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน เพื่อช่วยป้องกันการขาดสารอาหารแก่เด็กที่ผอม และเด็กอ้วนที่มีน้ำมากเกินเกณฑ์

สำหรับท้องถิ่นหรือโรงเรียนใดที่มีความพร้อมให้กองการศึกษาของเทศบาล และ อบต.ที่ดูแลพื้นที่จัดให้มีนักโภชนาการท้องถิ่น หรือครูโภชนาการมาช่วยดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานอาหารและโภชนาการ // ซึ่งภายใน 2 เดือน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะทำความร่วมมือกับ สสส. และ หน่วยงานภาคี เพื่อวางแผนการขับเคลื่อนและการส่งเสริมติดตามอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป กำหนดเป้าหมายการพัฒนาทั่วประเทศให้เกิดความยั่งยืน โดยภายในปี 2563 ให้เกิดท้องถิ่นต้นแบบการจัดการอาหารโรงเรียนอย่างครบวงจร อย่างน้อยจังหวัดละ 5 องค์กรท้องถิ่น

ทั้งนี้ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จากการสุ่มประเมินคุณภาพอาหารกลางวันโรงเรียน โดยโครงการเด็กไทยแก้มใส พบว่า อาหารกลางวันในโรงเรียนส่วนใหญ่มีปริมาณสารอาหารไม่เพียงพอตามมาตรฐานที่เด็กไทยควรได้รับต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก วิตามินเอ ใยอาหาร และแคลเซียม ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมอง

ปัจจัยหนึ่ง เป็นเพราะครูภายในโรงเรียน ขาดความรู้ด้านโภชนาการ ระบบจัดซื้อในโรงเรียนเน้นราคาถูก ขาดการกำหนดคุณภาพ ขาดการจัดการงบอาหารกลางวันในโรงเรียนขยายโอกาส งบอาหารจึงถูกแบ่งให้ทั้งเด็กประถมและมัธยม ซึ่งนักเรียนมัธยมกินมากกว่าประถม 1.5 เท่า จึงควรปรับให้เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม สสส. ได้จัดงานต้นแบบการจัดการอาหารในโรงเรียน พร้อมกับพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ จำนวน 112 แห่ง โดยมีโรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการอาหารกลางวัน อาทิ โรงเรียนบ้านโคกเจริญ จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนบ้านลำทับ จังหวัดกระบี่  โรงเรียนแพรกษาวิเทศศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และโรงเรียนเทศบาล 2 วัดดอนมูลชัยจังหวัดตาก ต่างบอกว่า การให้เด็กในโรงเรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการผลิตวัตถุดิบ มีส่วนสำคัญมากให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าทางอาหาร เช่น การให้เด็กนักเรียน ทำการเกษตร ช่วยกันปลูกผักอินทรีย์ ตามวิถีพอเพียง ต่อยอดนำผลผลิตออกสู่ท้องตลาด นอกเหนือจากนำมาใช้ทำอาหารภายในโรงเรียน

นอกจากนี้ ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กให้รู้ถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีสุขภาพ ซึ่งทางโรงเรียนจะมีการเผยแพร่ข้อมูลอาหารกลางวัน วัตถุดิบให้กับผู้ปกครอง สามารถตรวจสอบได้ ว่า ในแต่ละวันเด็กๆรับประทานอาหารอะไรบ้าง รวมถึงได้นำองค์ความรู้ต่างๆด้านสุขภาพ อยู่ในบทเรียนสอนเด็กๆ และการทำกิจกรรมต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 660799เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2019 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2019 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท