Script VTR : เกษตรธรรมชาติ MOA Chiang Saen


เพราะเราอยากให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ดี ที่ปลอดภัย บริโภคแล้วสุขภาพดี ก็เลยจำเป็นต้องนำเรื่องของการตลาดเข้ามา แต่เราไม่ได้ทำเรื่องของการตลาดที่เน้นเรื่องของรายได้หรือตัวเงินเป็นหลัก แต่เราเน้นเรื่องของสุขภาวะเป็นหลัก และในความเป็นจริงเกษตรกรจะอยู่ได้ ก็มีต้องมีปัจจัย คือมีเงิน มีรายได้ ถึงอยู่ได้ด้วย ฉะนั้นมันก็จึงจะไปพร้อมๆ กัน

CG : อยู่ได้ด้วย “เกษตรธรรมชาติ”

ภาพ : สวนผัก แปลงผัก เกษตรกร

----- ปล่อยเสียง สุชาญ ศีลอำนวย // กรรมการกลางและเลขานุการ มูลนิธิ เอ็มโอเอไทย (MVI_0213) -- (TC : 01.55-03.08) เรื่องแรก คือสุขภาพของเกษตรกร ส่วนใหญ่เกษตรกรที่มา จะมีกลุ่มที่เจ็บป่วย ไม่สบาย และอยากปรับเปลี่ยนวิธีการ แต่ไม่รู้จะปรับเปลี่ยนอย่างไร การปรับปรุงดินโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง จะทำอย่างไร เขาไม่รู้วิธีการ กลุ่มนี้ก็จะเข้ามาเรียน อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ Smart farmer ส่วนใหญ่จะทำงานในกรุงเทพ บางคนเป็นสถาปนิก เป็นวิศวกร แล้วรู้สึกว่าชีวิตในกรุงเทพไม่ใช่ ก็จะกลับมาทำเกษตรตามที่ครอบครัวทำอยู่ แต่อยากให้เป็นเกษตรที่ไม่ใช่แบบเดิมคือเกษตรเคมี อยากเป็นเกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกันก็ไม่รู้ว่าวิธีการจะทำอย่างไร ได้แต่เรียนรู้จากอินเตอร์เน็ต หรือไปบางพื้นที่ก็ไปอบรมมาเหมือนกัน พอมาอบรมกับ MOA เราก็จะมีแนวคิดปรัชญา สอนเรื่องสุขภาพ เรื่องความสุข ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อสุขภาพดีก็จะมีความสุข ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือความเป็นอยู่ของเกษตรกร

---ปล่อยเสียง ณัฐพร เชื้อมหาวัน // ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.เชียงแสน (MVI_0143) --

(TC : 00.09-01.34) ตอนเริ่มแรกสุด เรามีความตระหนักในสุขภาพตัวเองก่อน มองหาพืชผักปลอดสารเคมีที่จะใช้บริโภคสำหรับตนเอง จากนั้นก็มองไปที่องค์กร กศน.เชียงแสน ว่าเราอยากให้สิ่งดีๆ กับครู กับชาวบ้าน เลยพาครูไปอบรมที่ศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน อ.เชียงแสน แล้วเมื่ออบรมมาแล้วอยากทำอย่างต่อเนื่อง ก็เลยขอใช้พื้นที่หลังวัดพระธาตุผาเงาทำแปลงสาธิต พื้นที่ 6 ไร่ ทำเกษตรธรรมชาติ MOA เต็มรูปแบบ คือปลูกพืชตามฤดูกาล บริหารจัดการพื้นที่ตามที่ตัวเองอบรมมา พบว่าสิ่งที่ได้เกินคุ้ม เพราะพืชผักเกษตรที่ทำตรงนี้ได้ถวายวัด ทางโรงครัว ทำให้พระ แม่ชี และบุคลากรของวัดได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย สะอาด ปราศจากสารพิษ อันที่สอง เป็นศูนย์ที่ครูของเราทั้ง 6 ตำบล ได้ฝึกการทำเกษตรธรรมชาติอย่างเต็มที่ เมื่อเขาเอาไปจัดการเรียนรู้ ไปสอนนักศึกษาในพื้นที่ตำบลตัวเอง ปัญหาต่างๆ ได้คุยกัน แล้วลงมือปฏิบัติ ความรู้ใหม่ๆ จากตรงนั้นด้วย

------- ปล่อยเสียง สุชาญ ศีลอำนวย // กรรมการกลางและเลขานุการ มูลนิธิ เอ็มโอเอไทย (MVI_0215) --(TC : 00.00-01.02) ง่ายๆ ก็คือเกษตรธรรมชาติเราจะอาศัยศักยภาพของดิน โดยไม่เพิ่มธาตุอาหารลงไป แต่จะเน้นการปรับโครงสร้างของดินให้รากสามารถชอนไชไปหาอาหารกินเองได้ แตกต่างจากเกษตรอินทรีย์ จะเน้นเรื่องอินทรียวัตถุ และธาตุอาหาร ที่ต้องใส่ลงไปในดิน สอนเขาหาปลา แต่ไม่ได้เอาปลาไปให้เขา ยังเอาอาหารไปให้เขาอยู่ แต่เกษตรธรรมชาติให้เขาหากินเอง แค่สร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อกับพืชชนิดนั้นๆ ก็จะทำให้ผลผลิตที่ออกมามีความแข็งแรงต่างกัน

---ปล่อยเสียง เรือตรีพิเนตร นาระต๊ะ // ประธานวิสาหกิจชุมชนพืชผักเกษตรธรรมชาติ อ.เชียงแสน (MVI_0217+ MVI_0218) ---

(TC : 01.13-01.29 /+ TC : 00.03-00.26) ถ้าจะให้คนอื่นมาคล้อยตาม เราก็ต้องสร้างภาพให้เขาเห็นตัวอย่างว่าสิ่งที่เราทำมีประโยชน์อย่างไรจริง อย่างน้อยสุขภาพเราแข็งแรง หรือเราสามารถแบ่งปันผลผลิต นำแนวคิดนี้ไปสู่ชุมชนได้ / แต่ถ้าที่เป็นรุ่นเรานะโอเค เราทำไม่สำเร็จไม่เป็นไร แต่รุ่นต่อไปนี่ มรดกที่เขาจะได้รับจากเรา ก็คือความร่มรื่น มีกระรอก มีนก มีแมลง มียุง และดินที่มันเริ่มดีขึ้นๆ แล้วมันจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นคือสิ่งที่เราส่งต่อ เราไม่ได้ส่งต่อเป็นที่เปล่าๆ พร้อมกับสารเคมีตกค้างไว้

-----ปล่อยเสียงอิทธิพล ไชยถา // ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงแสน (MVI_0145) -------

(TC : 00.15-01.26) เราได้คุยกันในคณะกรรมการบริหาร รพ.เชียงแสน ว่าอยากจะให้ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นโครงการที่ควรจะมีขึ้นในโรงพยาบาลเชียงแสน ประกอบกับทางกระทรวงสาธารณสุขตอนนี้ก็มีนโยบายเรื่องอาหารปลอดภัย ให้แต่ละโรงพยาบาลริเริ่มเป็นผู้เข้ามาพัฒนาโครงการนี้ในโรงพยาบาล จากนั้นเราก็พูดคุยกัน ก็มีการร่วมมือกันระหว่าง กศน. และกลุ่มผู้ปลูก ผู้ผลิตในพื้นที่ ซึ่งเขามีฐานเดิมอยู่แล้ว มีทรัพยากร มีองค์ความรู้เดิม ก็มารวมตัวกัน ประชุมแลกเปลี่ยน จึงมีการจัดตั้งขึ้น สิ่งแรกที่เราได้ทำก็คือตลาดรักสุขภาพ ซึ่งจัดทำมาประมาณ 3-4 เดือนแล้ว ในตลาดนี้ก็จะมีกลุ่มผู้ปลูกผู้ผลิต ซึ่งจะเน้นไม่ให้มีสารเคมีในการปลูกผักต่างๆ ผลไม้ ซึ่งเข้ามาจำหน่าย ซึ่งเราจะจำหน่ายในทุกวันพุธ

--- ปล่อยเสียง ณัฐพร เชื้อมหาวัน // ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.เชียงแสน (MVI_0143) -

(TC : 01.35-02.23) เรามีเกษตรกรที่เขาผลิตพืชผักตัวนี้ออกมาแล้ว เราก็มองไปที่เรื่องของตลาด ผนวกกับทางโรงพยาบาลก็มีโครงการจะทำเรื่องอาหารปลอดภัยเหมือนกัน เราก็มาร่วมกัน ผลักดันให้เกษตรกรให้มีตลาดสำหรับประชาชน เพราะอันที่ 1 โรงพยาบาลต้องการพืชผักเกษตรของเราเข้าสู่โรงพยาบาล โดยทำอาหารของโรงพยาบาลที่ให้คนไข้ ต่อไปนี้คือสั่งพืชผักปลอดสารเคมีให้กับโรงพยาบาล อันที่ 2 วันพุธ เป็นวันที่จะมีคนไข้ที่เรียกว่า NCD เยอะ ฉะนั้นก็มีการเปิดตลาดให้เราด้วย มาขายทุกวันพุธ

------- ปล่อยเสียง สุชาญ ศีลอำนวย // กรรมการกลางและเลขานุการ มูลนิธิ เอ็มโอเอไทย (MVI_0216) ----

(TC : 00.03 – 00.39) จริงๆ ก็อยู่บนพื้นฐานเรื่องของสุขภาพ เพราะเราอยากให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ดี ที่ปลอดภัย บริโภคแล้วสุขภาพดี ก็เลยจำเป็นต้องนำเรื่องของการตลาดเข้ามา แต่เราไม่ได้ทำเรื่องของการตลาดที่เน้นเรื่องของรายได้หรือตัวเงินเป็นหลัก แต่เราเน้นเรื่องของสุขภาวะเป็นหลัก และในความเป็นจริงเกษตรกรจะอยู่ได้ ก็มีต้องมีปัจจัย คือมีเงิน มีรายได้ ถึงอยู่ได้ด้วย ฉะนั้นมันก็จึงจะไปพร้อมๆ กัน แต่ว่าเราไม่เน้นเรื่องของ ถ้าพูดเรื่องสุขภาพนี่ สุขภาพมาก่อน

หมายเลขบันทึก: 660767เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2019 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2019 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท