สร้างชุมชนชวน “เด็กกินผัก” ปลูกฝังการกินเริ่มที่พ่อแม่


“พยายามอยากจะทำงานร่วมกับชุมชน เราไปเจอบางโรงเรียน ชุมชนรอบๆ ก็ปลูกผักนะ แต่เป็นผักเคมี เราก็เลยมีโจทย์เหมือนกันว่าทำอย่างไรให้แปลงผักเหล่านี้ปลอดภัย ส่งเข้าโรงเรียนให้น้องได้ไหม แต่ก็ยังเป็นโจทย์สำหรับเรา”

สนุกสนานทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครู เมื่อ 30 โรงเรียนทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเด็กกินผักหรือชุมชนโรงเรียนเด็กกินผัก 2018 Organic to school community 2018 โดยพืชผักที่ถูกนำมาจัดบูท ขายภายในงานล้วนเป็นฝีมือของเด็กนักเรียนที่ช่วยกันปลูก และเหลือจากเมนูอาหารกลางงวัน นำมาแลกเปลี่ยน แจกจ่าย ขายภายในงาน

            “พฤติกรรมเด็กๆ ปัจจุบันน้อยมากที่จะรับประทานผัก เพราะพ่อแม่ บางท่านก็มีนิสัยไม่ทานผักทำให้ ส่วนใหญ่ที่สำรวจไม่ชอบผัก” นฤมล กลิ่นด้วง ผู้ประสานงานของโครงการโรงเรียน เด็กกินผัก บอกว่านั่นจึงเป็นที่มาของโครงการโรงเรียนเด็กกินผัก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

                “โครงการของเรามีจุดประสงค์หลักๆ คือทำอย่างไรให้เด็กได้กินผักผลไม้ที่ดีและปลอดภัยในโรงเรียน ซึ่งเริ่มจากสอนให้เขาได้รู้จักผักชนิดแต่ละชนิด ให้เขาได้ปลูก แล้วสุดท้ายเชิญชวนให้เขามากินผักที่เขาปลูกเอง” นฤมล บอก

                ในปี 2561 โครงการโรงเรียนเด็กกินผัก มีโรงเรียนเข้าร่วมทั้งหมด 30 โรงเรียน ครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยเป้าหมายในการเข้าร่วมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมการรับประทานผัก

                การสร้างเสริมถูกออกแบบเอาไว้ 3 แนวทาง คือ การเข้าไปผลักดันการปลูกผักในโรงเรียน การสร้างเมนูอาหารกลางวัน โดยให้เด็กนักเรียนมีสวนร่วมในการทำเมนูทั้ง นำผักมาเป็นปั่น หรือทำเมนูอื่นๆเพื่อ ให้รับประทานผักได้มากขึ้น

                “ส่วนใหญ่เราเจอโรงเรียนที่เขาปลูกผักเองอยู่แล้ว เช่น โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนศาสตร์พระราชา แต่ว่าปลูกเพื่อเป็นกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กๆ เราจึงเข้าไปเสริมส่วนที่ปลูกผักให้ปลอดภัย แต่ในบางโรงเรียนไม่มีพื้นที่มากพอในการปลูกผักเพื่อบริโภค เช่น โรงเรียนในกรุงเทพฯ ก็ต้องคิดว่าเราควรทำกิจกรรมอะไรเสริม สามารถบูรณาการกับแต่ละรายวิชาได้ไหม ซึ่งเรามีโมเดลกิจกรรมหลายรูปแบบมาก”

                โรงเรียนที่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักจะพัฒนาหลักสูตรการปลูกผัก และการรู้จักผักที่หลากหลายชนิดผ่านบทเรียนในวิชาต่างๆ ขณะที่บางโรงเรียนนำไปพัฒนาแปลงผักสู่จานข้าวของน้องๆ บางโรงเรียนนำไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นองค์ความรู้เสริมของเด็กๆ เช่นการพาเด็กๆ ไปดูสวนผักอื่นๆ หรือว่าพาวิทยากรมาสอนทำอาหารให้กับน้องๆ

                ผลการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักและการปลูกผักในโรงเรียน ในระยะเวลาเพียงไม่นาน ก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ โรงเรียนที่เริ่มโครงการ กลุ่มโรงเรียนในฉะเชิงเทราที่นอกจากปลูกผักในโรงเรียนเองแล้วยังนำมาประกอบอาหารด้วยเลย หรือในบางโรงเรียนมีการพูดคุยกับผู้ปกครองว่าผู้ปกครองคนไหนปลูกผักอยู่ก็สามารถนำมาส่งที่โรงเรียนได้ เพราะเขาก็จะไว้ใจว่าผักที่ทำมาให้เด็กๆ นั้น พ่อแม่เด็กๆ ทำเองเขาก็จะไม่ใส่สารเคมีหรือใส่ยามาให้ลูกกินอยู่แล้ว บางโรงเรียนการนำงบไปสนับสนุนต่อยอดให้กับน้องๆ อย่างการให้น้องเก็บผักมาขายที่โรงครัวของโรงเรียน แทนที่จะต้องซื้อวัตถุดิบในตลาด

                การเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างจะไม่ได้หยุดอยู่แค่ 30 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปีนี้เท่านั้น ทางโครงการโรงเรียนกินผักยังต้องการต่อยอดขยาย โดยปีหน้าคาดว่าจะมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการมากขึ้น

                “อยากทำให้มันยั่งยืน จึงมีแนวคิดกันต่อไปว่าใน 30 โรงเรียนนี้ โรงเรียนไหนที่เข้าร่วมกับเราแล้วทำได้ดี น่าชื่นชมเราก็จะให้เขาเป็นโรงเรียนต้นแบบในปีถัดๆ ไป แล้วเราจะขยายไปรอบๆ ให้เขาเป็นพี่เลี้ยงขยายไปโซนใกล้ๆ กับโรงเรียนเขา เพราะแต่ละโรงเรียนโดดเด่นไม่เหมือนกัน บางโรงเรียนก็เด่นเรื่องการบูรณาการรายวิชา บางโรงเรียนเด่นเรื่องการทำอาหาร เราก็จะให้เขาเป็นพี่เลี้ยงในแต่ละเรื่อง”

                นฤมล บอกว่า นอกจากเข้าไปเสริมเรื่องการปลูกผักให้ปลอดภัย เรายังต้องการให้เขาตระหนักถึงคุณค่าของอาหาร ส่งเสริมให้เด็กๆ ได้กินผักเพิ่มมากขึ้น ทั้งมื้อเช้า กลางวัน แล้วก็เย็น โดยได้ทำงานกับโรงเรียนด้วย

                หลังจากนั้นให้โรงเรียนทำงานต่อผู้ปกครองอีกทีหนึ่ง เพราะผู้ปกครองบางคนไม่กินผัก ลูกๆ ก็ไม่ได้กินผักไปด้วย จึงต้องให้เขาเปลี่ยนทัศนคติเรื่องอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำให้ประกอบอาหารที่มีผักสำหรับลูกด้วยด้วยในแต่ละมื้อ หรือให้ข้อมูลเรื่องสารตกค้างของอาหารทั่วไป

                “พยายามอยากจะทำงานร่วมกับชุมชน เราไปเจอบางโรงเรียน ชุมชนรอบๆ ก็ปลูกผักนะ แต่เป็นผักเคมี เราก็เลยมีโจทย์เหมือนกันว่าทำอย่างไรให้แปลงผักเหล่านี้ปลอดภัย ส่งเข้าโรงเรียนให้น้องได้ไหม แต่ก็ยังเป็นโจทย์สำหรับเรา”

หมายเลขบันทึก: 660751เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2019 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2019 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท