ความทับซ้อนของระบบการทำงานระหว่าง CUP คปสอ. DHS และ พชอ.


ความทับซ้อนของระบบการทำงานระหว่าง CUP คปสอ. DHS และ พชอ.

เวลาที่ลงไปพื้นที่จะได้ยินคำต่างๆ เหล่านี้ แรกเริ่มเดิมทีก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะทำความเข้าใจ จนช่วงเวลาหนึ่งพบว่าตนเองมี Knowledge gap ในเรื่องนี้จึงทำเริ่มเข้าไปสู่การเรียนรู้ แต่ก็พบว่ายังมีสิ่งต่างๆมากมายที่ไม่รู้ แต่การทำความรู้ความเข้าใจไว้ เวลาที่ทำ Dialogues และ Reflective Learning จะทำให้เข้าใจสภาพปัญหาของคนหน้างานในพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะคนทำงานระดับปฐมภูมิ

หากจะว่าไปแล้ว CUP คปสอ. DHS และ พชอ. คือ กลไกของการบริหารจัดการของพื้นที่

เพียงแต่ว่าในการทำงานดังกล่าว สปสช.จะจ่ายเงินงบประมาณตาม CUP คือตามการลงทะเบียนสิทธิและเลือกพื้นที่บริการของประชาชน ก็ตรงไปตรงมาดูเหมือนจะไม่มีปัญหา

แต่ในความเป็นจริงของการได้ไปสัมผัสเรื่องราว

และเริ่มเก็บข้อมูลเพื่อการเรียนรู้สำหรับตนเองแล้วพบว่า

บางพื้นที่เมื่อได้เงินงบประมาณมาในส่วนของผู้ป่วยสิทธิ UC ที่ สปสช.จ่ายตาม CUP แต่พื้นที่นำมาบริหารจัดการตามรูปแบบของอำเภอ จะเรียกว่า คปสอ. DHS และ พชอ. ก็ได้ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำในการทำงาน

ดังนั้นภาระจึงตกที่คนในพื้นที่ทำให้เกิดข้อจำกัดของการทำงานบริการภายใต้ความขาดแคลนงบประมาณบางส่วนสำหรับการดูแลให้บริการผู้ป่วยสิทธิ UC

ครุ่นคิดต่อค่ะ

ว่าลักษณะปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นเยอะไหมในประเทศไทย

มีพื้นที่ไหนบ้าง และรูปแบบการแก้ไขปัญหาหรือช่องว่างดังกล่าวควรจะทำอย่างไร

ในเมื่อหลักการและความเป็นจริงไม่สอดคล้องกัน

ปัญหาที่พบเรื่องของการจัดสรรงบ PP ที่ สปสช.จ่ายเป็นภาพ CUP ซึ่งการทำงานพื้นที่ปฐมภูมิต้องทำงาน PP กันไม่ว่าในเชิงบริหารจัดการจะเป็น คปสอ. DHS หรือ พชอก็ตาม แต่บางจังหวัดจัดสรรงบ PP ไม่แบ่งตามภาพ CUP ที่ควรจะเป็น แต่กลับไปแบ่งตามอำเภอ เช่น อำเภอแห่งหนึ่งมี 10 ตำบล 6 ตำบลขึ้นทะเบียนสิทธิตาม รพช.อำเภอของตน อีก 4 อำเภอ ไปขึ้นทะเบียนสิทธิ รพ.จังหวัด ดังนั้นเงินที่ รพ.จังหวัดควรจะได้จากการทำงาน PP 4 ตำบลนั้นกลับไม่ได้ เพราะการแบ่งเงินไปเหมารวมจ่ายเป็นอำเภอค่ะ (ตัวอย่างเบื้องต้น)

GAP ที่เห็นคือ ในระบบบริหารแม้มีกลไกบางอย่างก็จริงแต่การกำกับติดตามเพื่อแก้ไขปัญหาจริงๆจังๆในลักษณะนี้ไม่มี จากการตามข้อมูลนี้มา 1-2 ปีแล้ว ในบางเขตที่พื้นที่สะท้อนข้อมูลให้ฟัง  เคยถาม สปสช เขาบอกว่าเขามีหน้าที่จ่ายเงินและโอนไป ขึ้นกับจังหวัดจะจัดการ แต่ผู้บริหารในจังหวัดไม่แก้ไขยังผูกขาดการจัดการเช่นนี้ ช่องว่างก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่มีผู้รับผิดชอบชัดเจนที่จะมาแก้ไขปัญหานี้ เพราะคนในพื้นที่ไม่มีศักยภาพมากพอที่จะเสนอปัญหาต่อผู้บริหารระดับสูง”



#Noteความคิด

Note: Ref.

[1] Contracting Unit for Primary Care (CUP) หมายถึง สถานบริการที่เป็นจุดทำสัญญา

เพื่อจัดบริการปฐมภูมิ (Primary Care) หรือเรียกว่า Main Contractor ก็ได้ในการดําเนินงาน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งจะต้องมีผู้ซื้อบริการ(Purchaser) มาทำสัญญาซื้อบริการกับผู้ให้บริการ(Provider)ซึ่งผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นต้องจัดบริการเป็นการ บริการปฐมภูมิ(PrimaryCare)]

[2] คปสอ. คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ซึ่ง คปสอ.เน้นการประสานงานเฉพาะภายในระบบบริการสาธารณสุข ระหว่างโรงพยาบาลกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ(และเครือข่ายรพ.สต.หรือสถานีอนามัยเดิม)เป็น ลดช่องว่างระหว่างสองสายงานนี้ [ที่มา https://www.facebook.com/notes/surakiat-achananuparp/คิดใหม่-ทำใหม่-ในการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ/688181384531535/]

[3] DHS (District health system) อาจารย์สุรเกียรติ อาชานุภาพ เขียนไว้ค่อนข้างเข้าใจง่ายว่าเป็นการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในระดับอำเภอ– ตำบล – หมู่บ้าน หลักๆได้แก่โรงพยาบาล(โรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ )สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.)   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.  ได้แก่ อบจ. อบต.  เทศบาล)  ชุมชน(ผู้นำ อสม. จิตอาสา   กลุ่ม/ชมรม  โรงเรียน วัด  สถานประกอบการ  ประชาชน ผู้ป่วยและครอบครัว ) และภาคส่วนอื่นๆ (เช่น ฝ่ายปกครอง  ตำรวจ  การศึกษาเกษตร พัฒนากร  องค์กรเอกชน เป็นต้น).ทั้งนี้อาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

       DHS =   คปสอ.(โรงพยาบาล  +  สสอ. +  รพสต.) +  อปท.  + ชุมชน  +  ภาคส่วนต่างๆ

[4] พชอ. คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต(พชอ) (District Health Board:DHB) โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการทางานอย่างมีส่วนร่วม ตามแนวทาง “ประชารัฐ” มีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำ โดยการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

[5] บริการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค (PP ; Prevention & Promotion)


22-03-62





คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#uc
หมายเลขบันทึก: 660634เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2019 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2019 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท