วลี...“ฟังอ.วิจารณ์พูดแล้วคิดถึงอ.กะปุ๋ม”


ฟังอ.วิจารณ์พูดแล้วคิดถึงอ.กะปุ๋ม

Learning Key for Sustainability 

“อ.พูดถึงการเรียนรู้ต้องเป็นแบบgrowth mindset จึงจะยั่งยืน

การเรียนรู้จากการปฏิบัติเป็นวิธีการของ growth mindset

ชึ่งต้องการสะท้อนคิด reflection เป็นสิ่งสำคัญต้องมีในการสร้างgrowth mindset”

เลยคิดถึงอ.กะปุ๋ม

กระบวนการถอดบทเรียนของอ.เป็นการสร้างให้คนเกิดgrowth mindset"

เป็นถ้อยความที่ อ.ดร.ตู่ หัวหน้าห้องคลอด รพ.สิงห์บุรี จากเครือข่าย R2R MCH4 (Mather and Child Health : เครือข่ายงานแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 4 ครอบคลุม 8 จังหวัดได้แก่ สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อยุธยา และนครนายก) เขียนบอกเล่าเรื่องราวมาถึง ความรู้สึกที่ได้อ่านข้อความดังกล่าวก็มีความสุขและอิ่มในใจ ที่มีคนเข้าใจในสิ่งที่กะปุ๋มทำ และเป็นการทำที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ทำให้นึกถึงตอนที่เดินทางไปร่วมเป็นวิทยากรกับท่านอาจารย์ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ให้กับสถาบันพระบรมราชนก (สบช.) ได้มีโอกาสแชร์กับท่านถึงเรื่องการทำ Reflection ซึ่งการทำนี้จะช่วยทำให้ผู้คนเกิดการ Transform อย่างรวดเร็ว ย่นระยะเวลาให้สั้นลงเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้

ท่านถามว่า “การจัดกระบวนการเรียนรู้กะปุ๋มไปใช้ตอนไหน”

จึงได้เล่าให้ท่านฟังคร่าวๆ ถึง “การออกแบบการเรียนรู้เวลาที่ทำกระบวนการ R2R โดยใช้ R2R หรือเนื้อหาวิจัยเป็น Content (เนื้อหาสาระการเรียนรู้) จากนั้นตัวกิจกรรมก็จะออกแบบให้เป็นธรรมชาติที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความถูก teach และ threaten โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่ความเป็นเจ้าของของการเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านการทำวิจัย”

เป็นการปลดปล่อยผู้เรียนไปสู่อิสระภาพแห่งการเรียนรู้ โดยมี R2R Facilitator คอยเป็นเพื่อนและเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ทุกคนจึงรู้สึกถึงความเป็นผู้สร้างผลงานนั้นด้วยตนเอง หน้าที่หลักของกะปุ๋ม คือ ฟัง และสะท้อนคิด ซึ่งการสะท้อนคิดดังกล่าวมีมาหลากหลายรูปแบบ เช่น วาจา เนื้อความที่เขียน และที่ถนัดที่สุดคือ เขียนเป็นภาพ

ความคิดความเชื่อส่วนตัว

การทำ Reflection เปรียบเสมือน “วิมังสา” ในบทธรรมอิทธิบาท4 “ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา” ... การคิดใคร่ครวญสะท้อนคิด ซึ่งจะมีระดับของความลึกซึ้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยความเชื่อนี้เกิดขึ้นตอนที่ฝังตัวปฏิบัติธรรมตามสายวัดป่า รักษาศีล8 อยู่ 7 ปี การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติแต่ละวันจะจบลงด้วยการทำสะท้อนคิด (วิมังสา) ว่าสิ่งที่เกิดดังกล่าวนั้นนำไปสู่การเรียนรู้ และความจริงอะไรของชีวิต 

การเขียนเพื่อการสะท้อนออกมาเป็นการกลั่นกลองในอีกระดับหนึ่ง LEAN ความคิด และเนื้อหาที่ปรากฏขึ้นอย่างอัตโนมัติได้ดีทีเดียว อุปนิสัยจึงชอบเขียนบันทึก เพราะเป็นอีกระดับที่ลึกซึ้งของการได้กลั่นกรองภายในตนเอง

วันนี้ก็เช่นเดียวกันที่ อ.ดร.ตู่ สะท้อนมาถึง

ก็นำมาสู่ปฏิกิริยาของการสะท้อนซ้ำของตนเองอีกครั้ง ก็ทำให้ได้ใคร่ครวญและเขียนเป็นบันทึกนี้ขึ้นมา

การปฏิบัติการเรียนรู้ของตนเองเช่นนี้ ทำให้สภาวะจิตได้ลิ้มรสถึงความเป็นอิสระภาพจากความเป็นวิชาการของตำราที่เคร่งครัดและเคร่งขรึม เปิดประตูสู่การสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มเปี่ยม จึงมองตนเองว่า ในแต่ละวันจึงเป็นวันที่มีพลังความสุขจากการได้เจอเรื่องราว ผู้คน ประสบการณ์ต่างๆ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เปรียบเสมือน Authentic Learning การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง ปฏิบัติจริง และเพิ่มการทำ Reflection เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างงดงามในวิถีและชีวิตของความเป็นมนุษย์ที่เรามีที่เราเป็น

#SelfReflection

#KaPoomLife

18-03-62

คำสำคัญ (Tags): #km&r2r#reflection#transformation
หมายเลขบันทึก: 660558เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2019 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2019 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this insightful blog.

I see from …ฟังอ.วิจารณ์พูดแล้วคิดถึงอ.กะปุ๋ม…การเรียนรู้จากการปฏิบัติเป็นวิธีการของ growth mindset (= belief that we can be better if we keep improving what we do)–> “การออกแบบการเรียนรู้เวลาที่ทำกระบวนการ R2R โดยใช้ R2R หรือเนื้อหาวิจัยเป็น Content (เนื้อหาสาระการเรียนรู้) จากนั้นตัวกิจกรรมก็จะออกแบบให้เป็นธรรมชาติที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความถูก teach และ threaten โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่ความเป็นเจ้าของของการเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านการทำวิจัย” that we need to take many journeys many times to really learn the way we are going.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท