วิกฤตการคือการเรียนรู้และปรับตัว (เงินทองคือมายา ข้าวปลาสิของจริง)


จากการเกิดวิกฤตที่เวนาซุเอลามันก็ทำให้คำว่า "เงินทองของมายา...ข้าวปลาสิของจริง" ประโยควรรคทอง ของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ผู้บุกเบิกตำนาน "แตงโมบางเบิด" และเกษตรกรรมสมัยใหม่ จนได้รับขนานนามว่า "บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่"

จะเป็นจริง เนื่องจากกรณีของชาวเวนาซุเอลา ที่ทำให้เห็นถึงความสำคัญของข้าวปลาอาหาร ที่แม้แต่เงินก็ซื้อไม่ได้เพราะถึง วิกฤตเงินเฟ้อ

ทำให้ผมมานึกถึงตัวเองและประเทศว่า ประเทศเรามีความอุดมสมบูรณ์ ทางด้านพื้นดิน และ การทำการเกษตร 


ถ้าเกิดว่าวันหนึ่งเราตกอยู่ในวิกฤตนั้น เราก็สามารถอยู่ได้  โดยที่ไม่ต้องใช้เงินทอง แค่เราต้องรู้จักปรับตัว

และใช้ประโยชน์ในที่ดินที่นา

เมื่อก่อนผมเคยบอกแม่กะพ่อว่าไม่อยากทำนาทำการเกษตร...เพราะทำแล้วมันเหนื่อยและร้อนๆ 

แต่กลับยากทำงานแต่ราชการทำงานงานโรงงาน เพราะได้เงินมาใช้จ่ายซื้อของในสิ่งที่ต้องการ..เเต่พอผมได้ไปทำงานกับพ่อช่วงปิดเทอมช่วงม.ปลาย ทุกๆการปิดเทอมผมก็ได้ไปทำงานช่วยพ่อและ ได้รู้จักว่าเหนื่อยยิ่งกว่าและลำบากยิ่งกว่า มันทำให้ผมเปลี่ยนความคิดว่า

การทำเกษตร การทำสวน มันคือสิ่งที่สำคัญมากที่สุด ที่เราหรือคนรุ่นใหม่ไม่ควรที่จะมองข้าม  นั้นแหละครับมันทำให้ผมเกิดรักในที่นาและที่ดินที่ครอบครัวเรามีอยู่ และยังมีกรณีของชาวเวนาวซุเอลา ที่ขาดแคลนอาหารน้ำดื่ม  ยิ่งทำให้เห็นถึงการที่ต้องส่งเสริมชาวนาให้ยังทำการเกษตร 

และสุดท้ายนี้ผมก็ยังหวังอยู่เสมอว่า ประเทศไทยจะไม่ตกอยู่ในวิกฤตแบบนี้ และหวังว่าอยากให้ว่าที่รัฐบาลที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศให้มองเห็นถึงความสำคัญของการทำการเกษตรและส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนและพัฒนาอุส่าหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบจริงจัง

บันทึกวันที่15/022562

จาก นายเอกรัฐ แก้วหาวงศ์



หมายเลขบันทึก: 660470เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2019 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2019 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท