ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก)


ชื่อเรื่อง        การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

               โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อผู้รายงาน     ประคิ่น   ศรีทวี

ปีที่ศึกษา         2561

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เรื่องการ            สร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 

         กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 37 คน ได้มาโดยใช้แผนการทดลองแบบทดลองกลุ่มเดียว  วัดผลก่อนและหลัง (One Group Pretest-Posstest design) เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา (เพิ่มเติม)  เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 16 แผน (แผนปฐมนิเทศ 1 . สรุป อภิปราย ทบทวน 1 . สอบ1 หลังเรียน) 19 ชั่วโมง ชุดการเรียนรู้วิชาสุข เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 16 เล่ม ดังนี้ เล่มที่  เล่มที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพ   เล่มที่ 2 สุขภาพพักพิงสิ่งแวดล้อม  เล่มที่ 3 พฤติกรรมทำลายสุขภาพ  เล่มที่    4 โรคไม่พึงปรารถนา  เล่มที่ 5 โรคส่วนตัว  เล่มที่ 6 ศูนย์ซ่อมบำรุงสุขภาพ  เล่มที่ 7 ตามใจปาก  เล่มที่    8 โภชนาการหรรษา  เล่มที่ 9 เสริมความงาม  เล่มที่ 10 รอบตัวสุขภาพและความงาม  เล่มที่ 11 สองความรู้สึก  เล่มที่ 12 ขจัดสองอารมณ์  เล่มที่ 13 รักษ์สุขภาพ  เล่มที่ 14 การพักผ่อน  เล่มที่ 15  นันทนาการ  เล่มที่ 16 สถานที่ส่งเสริมสุขภาพ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ประสิทธิภาพของเครื่องมือ ใช้ค่าร้อยละ (%) หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้ค่าเฉลี่ย (m)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (s) และการเปรียบเทียบประชากร (E1/E2

         ผลการศึกษา พบว่า

         1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า ระหว่างและหลังการพัฒนาชุดการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  (E1/E2= 80/80)  ทั้งในภาพรวม และรายเล่ม  ซึ่งสอดคล้องกับข้อสมมติฐานของการศึกษา ข้อที่ 1

          2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมาก มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) เท่ากับ 0.51 ถ้าพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อ 1 ขนาด รูปเล่ม ตัวอักษร เหมาะสมสะดวกต่อการนำไปใช้ และข้อ 4 เนื้อหาไม่ยาก ไม่ซับซ้อน อ่านเข้าใจง่าย ส่วนอื่นๆมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมากทุกข้อ ซึ่งสอดคล้องกับข้อสมมติฐานของการศึกษา ข้อที่ 3

หมายเลขบันทึก: 660441เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2019 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2019 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท