เที่ยวเชียงใหม่กับสุภัชชาตอนวัดที่ปรากฎในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ตอนวัดป่าตาลมหาวิหาร(วัดตโปทาราม)หรือวัดร่ำเปิง


เที่ยวเชียงใหม่กับสุภัชชาตอนวัดที่ปรากฎในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ตอนวัดป่าตาลมหาวิหาร(วัดตโปทาราม)หรือวัดร่ำเปิงคะ โดย อาจารย์ สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง


วัดป่าตาลมหาวิหาร(วัดตโปทาราม)หรือวัดร่ำเปิงตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑ หมู่ ๕ ถนนคันคลองชลประทาน ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีความสำคัญและคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีมาก ปูชนียวัตถุมีพระบรมธาตุเจดีย์ ในพงศาวดารโยนกและชิกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า พระยอดเชียงรายโปรดให้สร้างวัดตโปทาราม ในปีพ.ศ. ๒
๐๓๕ (ในชินกาลมาลีปกรณ์ว่า วัดตโปทารามคือวัดป่าตาลมหาวิหาร) 
ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงวัดป่าตาลมหาวิหารไว้ว่า
“ต่อจากนั้นมาปีเถาะ จุลศักราช ๗๔๕ (พ.ศ. ๒๐๒๗) วันพุธขึ้น ๓ ค่ำ เดือน๗ จันทร์เสวยสตภิสฤกษ์ พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิลกราชาธิราช ทรงมอบภาระให้สีหโคตรเสนาบดีและอาณากิจจาธิบดี มหาอำมาตย์หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ทองหนักประมาณสามสิบแสน ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ หล่อที่วัดป่าตาลมห
าวิหาร” และได้อธิบายในเชิงอรรถว่าวัดป่าตาลมหาวิหารคือวัดตโปทาราม

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และสถานที่กลางแจ้ง


นอกจากนี้พระรัตนปัญญาได้กล่าวถึงชื่อวัดตโปทาราม ไว้ว่า“พระเจ้ายอดเชียงรายนั้น พร้อมด้วยพลนิกายเสนาอำมาตย์เอาหีบทองคำไปอัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าพิลก พระราชอัยกาของพระองค์ ไปถวาย

พระเพลิงที่วัดมหาโพธาราม ครั้นถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ทรงสร้างสถูปใหญ่ ในวัดนั้นแล้วบรรจุพระอัฐิในสถูปนั้นบูชาตลอดมา พระเจ้ายอดเชียงรายโปรดให้สร้างวัดตโปทารามเมื่อปีชวด จุลศักราช ๘๕๔ (พ.ศ. ๒๐๓๖)”

ในภาพอาจจะมี ต้นพืช, ต้นไม้, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ
ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, ต้นไม้ และสถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และสถานที่กลางแจ้ง
หมายเลขบันทึก: 660279เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2019 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2019 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท