เที่ยวเชียงใหม่กับสุภัชชา.ตอนที่1.วัดศรีสุพรรณ อุโบสถเงินหลังแรกของโลก



วัดศรีสุพรรณ อุโบสถเงินหลังแรกของโลก



วัดศรีสุพรรณเป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างมาตั้งแต่ครั้งอดีตกว่า 500 ปีตามหลักศิลาจารึกบนหินทรายแดง กล่าวถึงประวัติวัดศรีสุพรรณไว้อย่างชัดเจนว่า ราว พ.ศ. 2043 พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช ร่วมกับพระราชมารดาเจ้า โปรดเกล้า ให้ขุนหลวงจ่าคำ นำเอาพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาประดิษฐานแล้วสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น เดิมเรียกชื่อว่า “ศรีสุพรรณ อาราม” ต่อมาได้สร้างมหาวิหาร พระบรมธาตุเจดีย์ พระอุโบสถหลังเดิม ผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2052 พร้อมทั้งสร้างศาสนสถานอื่น ๆ แล้วมอบพื้นที่รอบกำแพงทั้ง 4 ด้าน ๆ ละ 20 วา ให้แก่วัด และมอบข้าทาสไว้ดูแลวัดอีก20ครอบครัวคะวัดศรีสุพรรณ ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนหัตถกรรมช่างหล่อ เครื่องเงิน เครื่องเขิน 


ถนนวัวลาย นับเป็นทุนทางสังคมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมา 200 ปีกว่าปี แต่ปัจจุบัน ทุนทางสังคมอันเป็นมรดกชิ้นนี้ นับวันจะสูญหายไปจากชุมชนย่านช่างหล่อ ดังนั้น พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ คณะกรรมการวัด ภูมิปัญญาชาวบ้าน ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดถึงศรัทธาประชาชนผู้ที่เห็นคุณค่าของมรดกชิ้นนี้ จึงได้พยายามสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ โดยการรวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้าน จัดตั้งเป็น กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณ สล่าสิบหมู่ล้านนาวัดศรีสุพรรณ ขึ้นภายในวัด เพื่อถ่ายทอดและสืบสานงานศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น และร่วมสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนขึ้น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รับผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนคะสำหรับอุโบสถเงิน 


วัดศรีสุพรรณผู้หญิงเข้าไปด้านในตัวอุโบสถไม่ได้เข้าไปได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นคะตามคติความเชื่อชาวล้านนาปัจจุบัน“ศรีสุพรรณอาราม” กลายเป็นศูนย์กลางแหล่งศิลปวัฒนธรรม การศึกษาภูมิปัญญาล้านนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน ช่างหล่อ หัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องเขินวัวลาย มาตั้งแต่อดีต ที่ปัจจุบันยังเหลือร่องรอยของความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรม ศาสนวัตถุ ศาสนสถาน รูปแบบการดำรงชีวิตแบบวิถีชาวพุทธ ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมและการหล่อพระพุทธรูป 
อุโบสถเงินถือได้ว่าเป็นศาสนสถานหลังแรกของโลกคะ ที่สร้างศิลป์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙ โดยอาศัยมิติทางพระพุทธศาสนาบูรณา การและมิติด้านการอนุรักษ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น หัตถกรรมเครื่องเงิน ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมากกว่า ๒๐๐ ปี ซึ่งปัจจุบันนับวันสิ่งเหล่สนี้กำลังสูญหายไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ และด้วยประกอบกับอุโบสถหลังเดิมของวัดศรีสุพรรณ ชำรุดทรุดโทรมไม่สะดวกในการประกอบศาสนกิจ จึงเป็นเหตุผลและแนวคิดของการนำภูมิปัญญาล้านนาสู่สากลมาสร้างเป็นอุโบสถเงินบนฐานเดิม พัทธสีมาเดิม และที่สำคัญพระประธานองค์เดิม (พระเจ้าเจ็ดตื้อ) อายุ 500กว่าปีคะวัดศรีสุพรรณช่างภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานสลักลวดลายลงบนแผ่นเงิน บริสุทธิ์ เงินผสม อลูมิเนียม และวัสดุแทนเงิน ประดับตกแต่งทั้งภายนอกและภายในตลอดทั้งหลัง ซึ่งเป็นหลังแรก ที่ภูมิปัญญาชาวบ้านได้จัดสร้างขึ้น ตั้งแต่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ โดยมีปณิธานร่วมกันเพื่อ “ฝากศิลป์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ ๙”คะ


สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดศรีสุพรรณ
พระอุโบสถเงิน


เป็นพระอุโบสถหลังใหม่ที่ปฏิสังขรณ์จากฐานและเขตพัทธสีมาของอุโบสถหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างขึ้นเพื่อทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก มีลักษณะเป็นพระอุโบสถเงินทรงล้านนา สร้างด้วยโลหะเงินและดีบุก โดยฝีมือและภูมิปัญญาช่างท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงด้านเครื่องเงิน ทั้งภายนอกและภายในพระอุโบสถ ประดับตกแต่งด้วยหัตถกรรมเครื่องเงินอย่างวิจิตรอลังการ และมีลวดลายอ่อนช้อย ภายในประดิษฐานองค์พระประธาน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระเจ้าเจ็ดตื้อ เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก ปางมารวิชัย เนื้อทองสัมฤทธิ์ มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับ พระพุทธปาฏิหาริย์ฯ(พระเจ้าเจ็ดตื้อ) 


ตลอดเวลาที่ประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถวัดศรีสุพรรณมา กว่า ๕๐๐ ปี ได้แสดงปาฏิหาริย์ลงสรงน้ำในสระข้างโบสถ์ ได้โปรดเมตตาให้ผู้มีจิตอันบริสุทธิ์ด้วยศีลธรรมที่มาขอพรให้สมปรารถนา โดยเฉพาะผู้หญิงและยังมีนักพลังจิตหรือผู้มีญาณพิเศษทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้สัมผัสถึงพลัง ๓ คู่ คือ พลังหยิน – หยาง พลังร้อน – เย็น พลังเงิน-ทอง ในองค์หลวงพ่อพระเจ้าเจ็ดตื้อ ยิ่งมีผู้มีจิตศรัทธา เคารพสักการะ มานมัสการขอพรมากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ: ใต้ฐานอุโบสถ เขตพัทธสีมา (ภายในกำแพงแก้ว)ฝั่งสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ ของมีค่า คาถาอาคมและเครื่องรางของคลังไว้กว่า ๕๐๐ ปีอาจก่อให้เกิดความเสื่อมแก่สถานที่หรือตัวสุภาพสตรีเองตามจารีตล้านนา จึงห้ามสุภาพสตรีขึ้นอุโบสถหลังนี้




ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน และสถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน, ตาราง และสถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี 2 คน, รวมถึง Ganesh Noi Ganesh, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และสถานที่กลางแจ้ง


หมายเลขบันทึก: 660088เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2019 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2019 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท