เวชกรรมไทย๖: รูปสมุฏฐาน


รูปสมุฏฐาน: ต้นเหตุการเกิดรูปปรมัตถ์หรือรูปขันธ์ 
การเรียนร่างกายมนุษย์ในทางการแพทย์แผนไทย มีความละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง เชื่อมโยงและเป็นเหตุเป็นผลไม่ด้อยกว่าองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ในตำราแพทย์ส่วนใหญ่เวลาพูดถึงรูปขันธ์หรือร่างกายมนุษย์ มักจะพูดเฉพาะรูปที่ตั้งมั่นอยู่ด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ซึ่งเป็น “มหาภูตรูป๔” แต่ไม่ค่อยกล่าวถึงรูปที่อาศัยมหาภูตรูปอยู่ที่เรียกว่า “อุปาทายรูป๒๔” ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นรูปขันธ์ที่สมบูรณ์ เรียกว่า “รูปปรมัตถ์๒๘” ประกอบด้วย
๑)นิปผันนรูป๑๘
คือ รูปที่มีสภาวะลักษณะประจาตัวเฉพาะ ของตนแน่นอน ประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ (รูปที่เป็นใหญ่ รูปที่เป็นประธาน คือ ธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุลม ธาตุไฟ) และ อุปาทายรูป ๑๔ ชนิด (อุปาทายรูป ๒๔ คือ รูปที่ต้องอาศัย มหาภูตรูปเกิดขึ้นเพราะไม่สามารถที่จะเกิดได้ด้วยตัวเอง) ได้แก่ ปสาทรูป ๕ วิสยรูป๔ ภาวรูป๒ หทยรูป๑ ชีวิตรูป๑ อาหารรูป๑
๒)อนิปผันนรูป๑๐
คือ รูปที่ไม่มีสภาวะประจำตน เป็นแต่ เพียงรูปพิเศษที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงอาการเคลื่อนไหวของนิปผันนรูปเท่านั้น ประกอบด้วย อุปาทายรูป ๑๐ ชนิด ได้แก่
ปริเฉทรูป๑ วิญญัติรูป๒ วิการรูป๓ ลักขณรูป๔ 
***รายละเอียดของอุปาทายรูป ๒๔ ชนิด (นิปผันนรูป๑๔ และอนิปผันนรูป๑๐) มีดังนี้ 
-ปสาทรูป๕ คือ รูปประสาทสัมผัสทั้ง๕ได้จักขุปสาท(ประสาทตา) โสตปสาท (ประสาทหู) ฆานปสาท (ประสาทจมูก) ชิวหาปสาท (ประสาทลิ้น) กายปสาท (ประสาทกาย)
- วิสยรูป ๔ คือ รูปที่เป็นอารมณ์ ได้แก่ วัณณะ(สี) สัททะ (เสียง) คันธะ(กลิ่น) รสะ (รส)
- ภาวรูป ๒ คือ รูปที่แสดงความเป็นเพศ ได้แก่ อิตถีภาวรูป (รูป ที่แสดงเพศหญิง) ปุริสภาวรูป (รูปที่แสดงเพศชาย)
- หทยรูป ๑ คือ รูปที่ตั้งที่อาศัยของจิต ได้แก่ วัตถุหทยรูป (จุดกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ หรือ Sinoatrial node)
- ชีวิตรูป ๑ คือ รูปที่รักษาที่เกิดจากกรรม
- อาหารรูป ๑ คือ รูปที่นำให้อาหารชรูปเกิด
ปริเฉทรูป ๑ คือ ช่องว่างระหว่างปรมาณู (เซล)
- วิญญัติรูป ๒ คือ พฤติกรรมที่แสดงออกมา ได้แก่ กายวิญญัติรูป(พฤติกรรมที่แสดงออกทางกาย) วจีวิญญัติรูป (พฤติกรรมที่แสดงออก
ทางวาจา)
- วิการรูป ๓ คือ ลหุตารูป (ตัวการทำให้รูปเป็นไปคอื เบา) มุทุตารูป
(ตัวการทำให้รูปเป็นไปคืออ่อน) กัมมัญญตารูป (ตัวการทำให้เป็นไปคือความเหมาะสม)
- ลักขณรูป ๔ คือ รูปที่มีกาล (เวลา)เป็น กำหนดในการชี้ขาด ได้แก่อุปจยรูป (รูปที่แรกเกิด) สันนติรูป (รูปที่สืบต่อ) ชรตารูป (รูปที่เสื่อม) อนิจจารูป (รูปที่ดับ)

เหตุที่ทำให้รูปปรมัตถ์เกิดขึ้นมาได้จากเหตุ ๔ ประการ คือ เกิดขึ้นมาจากกรรม จิตใจ อุตุ (ความพอดีของความเย็นร้อน)และเกิดขึ้นมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เรียกว่า เกิดขึ้นมาจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ทำให้คนดำรงชีวิตอยู่ได้ภพหนึ่งชาติหนึ่ง
- กรรม การกระทำบุญบาป ทางกาย วาจา และใจ ได้แก่เจตนา ๒๕ ที่เกิดในอกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ และรูปาวจรกุศลจิต ๕
- จิต เป็นตัวบงการหรือชักใยทำให้รูป ๒๘ เคลื่อนไหวไปทำกรรม ที่เป็นบาปบ้าง บุญบ้าง ทั้งทางกาย วาจา และใจ ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง
- อุตุ หมายถึง อุณหภูมิ หรือความร้อน ความเย็น ที่มีอยู่ในร่างกาย
- อาหาร หมายถึง อาหารที่เรากินอยู่เป็นประจำเมื่อไฟธาตุย่อยเป็นโอชะ แล้วก็จะนำไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าขาดอาหารแล้วชีวิตก็คงอยู่ไม่ได้
การศึกษาเวชกรรมไทย ให้เข้าใจความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้งจึงจำเป็นต้องศึกษาพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกประกอบด้วย จะเป็นฐานที่สำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นองค์รวม
พิเชฐ บัญญัติ, พ.บ., พท.บ., ส.บ.
เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย

หมายเลขบันทึก: 659754เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท