เรียนสมาธิแล้วดีจัง...ให้อะไรกับชีวิตมากมายคะ/เตือนใจ เจริญพงษ์
รู้สึกปลื้มปิติและยินดีที่มีเรื่องดีงามเกิดขึ้นในชีวิต สืบเนื่องเพราะได้ไปสมัครเรียน“ หลักสูตรครูสมาธิรุ่น 43 “ ของพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์สิรินธโร เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ที่วัดสิริกมลาวาสสาขา4รวมระยะเวลา 6 เดือนเต็มๆ
คือ เลือกลงเรียนรอบวันจันทร์ถึง วันศุกร์ ช่วงตอนเย็นเรียนไปเรียนมาแล้วรู้สึกชอบมาก เพราะเรียนแล้วมีความสุข จึงเรียนเพิ่มเติมอีกในวันเสาร์และอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับตนเอง จนสัมผัสได้ว่ามีประโยชน์มากมายสมควรแก่การถ่ายทอดกันในทุกกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างให้มากขึ้นเนื่องจากเป็นหลักสูตรและมีบทเรียนที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนและผู้สนใจเรื่องสมาธิเป็นอย่างยิ่ง
เรื่องนี้ผู้เขียนขอน้อมคารวะยกย่องพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ผู้สร้างหลักสูตรนี้ขึ้น ซึ่งมีความเรียบง่ายสำหรับคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเคยบำเพ็ญสมาธิมาก่อนหรือไม่ก็ตามก็จะสามารถเข้าใจบทเรียนซึ่งมีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติอย่างถ่องแท้ เรื่องราวของพระพุทธศาสนามักมีอะไรดีๆมากมายที่ชาวพุทธรู้แล้วว่ามีของดีแต่ยังไม่ลงมือปฎิบัติ เช่นเรื่องของสมาธิก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ทรงคุณค่าแก่มวลมนุษย์
“ อาตมาตั้งความหวังไว้ว่าเมื่อนักศึกษาครูสมาธิเรียนจบหลักสูตรแล้วก็จะสามารถสอนสมาธิให้แก่ผู้อื่นได้เพราะจะรู้และเข้าใจเรื่องของสมาธิทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนได้เน้นการวางพื้นฐานของการทำสมาธิแบบง่ายๆเห็นผลสัมฤทธิ์ด้วยตนเองคือ เกิดความสุขกายสบายใจ ทำให้จิตใจอ่อนโยนบรรเทาความเครียด คลายกังวลระงับความร้ายกาจ ทำให้สมองเกิดปัญญา เจริญวาสนาบารมีเป็นกุศลและเวลาสิ้นลมพบทางดี “ พระธรรมมงคลญาณ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคลกล่าวไว้ตอนหนึ่งในหลักสูตรครูสมาธิ เล่มที่ 1
มาบัดนี้เรื่องการทำสมาธิได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับทั้งในเมืองใหญ่ๆและชนบทของบ้านเราและนานาประเทศทั่วโลกทั้งนี้เพราะคนส่วนใหญ่ใช้พลังจิตกับกิจการงานมากเกินไปทำให้เกิดความเครียดความทุกข์ใจมากมาย จึงได้แสวงหาหนทางแห่งความสงบทางใจนั่นก็คือการทำสมาธินั้นเอง
สถาบันพลังจิตตานุภาพจึงได้ดำเนินการสร้างหลักสูตรครูสมาธิขึ้นแบ่งเป็น 3ภาค คือ สมาธิ ฌานและญาณเพื่อจะได้แนะนำหนทางที่ถูกต้อง เพื่อสอนให้ประชาชนรู้จักการทำสมาธิเมื่อมีครูสมาธิที่มีความรู้เรื่องสมาธิเป็นอย่างดีมากขึ้นก็จะสามารถขยายเป็นวงกว้างต่อไปอย่างทึ่วถึงเนื่องจากการทำสมาธิจำเป็นต้องมีครูสอนที่มีความรู้จริงจึงจะสามารถแนะนำทางที่ถูกต้อง และได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
“ ด้วยใจ เชื่อมั่นและศรัทธา
ด้วยวาจาถามหาใครคือผู้รู้
ด้วยกายา ยังคงปฏิบัติสมาธิอยู่
ด้วยพลังจิตมีมากพอจึงพบผู้รู้
ด้วยผู้รู้จึงพบจุดพลังอำนาจ”
โดย พระธรรมมงคลญาณเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล
เรื่องราวต่างๆที่นำมาเล่าสู่กันฟังนี้ผู้เขียนได้ร่ำเรียนมาในหลักสูตรครูสมาธิ รุ่น 43 และยังศึกษาที่มาของเรื่องนี้จากหนังสือเรียนที่พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์เขียนขึ้นจากที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการอยู่ปรนนิบัติใกล้ชิดกับหลวงปู่กงและ
หลวงปู่มั้นมาช้านาน จนนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาประมวลไว้ในหนังสือหลักสูตรครูสมาธิเล่ม 1,เล่ม2และเล่ม3 ชนิดที่ใครได้อ่านและศึกษาต้องบอกว่า“คุณภาพคับแก้วจริงๆ“หรือยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจและทราบซึ้งแม้เวลาจะผ่านพ้นไปสักเท่าไรก็ตาม
การฝึกสมาธิเป็นการเอาจิตปราศจากอารมณ์เครื่องยึดเหนี่ยวมิใช่ตลอดไปแต่เป็นชั่วขณะ ตามแต่จะแก้ไขได้ทั้งนี้เพื่อมิให้จิตของบุคคลนั้นๆที่ไม่เคยพบกับสมาธิเลยมีสมาธิเพิ่มมากขึ้นก็จะสามารถยับยั้งจิตที่ฟุ้งซ่านเป็นอันตรายที่เกิดจากความเครียดของมนุษย์แต่สมาธิแก้ความเครียดได้ แม้จะเป็นการแก้ชั่วคราวถ้าทำไปอย่างต่อเนื่องความเครียดต่างๆ ก็จะลดลงตามลำดับและเกิดความสุขขึ้นในชีวิตได้เป็นอย่างดี
ลักษณะของอากัปกิริยาของสมาธินั้นมีทั้งที่เป็นสมาธิธรรมชาติ ทั้งที่เป็นการนอนหลับหรือการทำงานอย่างใจจดใจจ่อส่วนสมาธิสร้างขึ้นนับแต่วินาทีแรกของการบริกรรมด้วยความตั้งใจที่เริ่มต้นขึ้นว่าจะทำสมาธิถือได้ว่าเป็นสมาธิสร้างขึ้นคือการก่อตัวของจิตที่นอกเหนือจากธรรมชาติการทำสมาธิขั้นต้นต้องปูรากฐานด้วยความระมัดระวังสำคัญตอนเริ่มต้นควรจะต้องมีผู้รู้คอยแนะนำให้สมาธิจะมี 3 ขั้นตอนได้แก่ ขณิกะสมาธิ ,อุปจาระสมาธิ และอัปปนาสมาธิ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เรื่องของสมาธิตื้นและสมาธิลึกอีกด้วย ตลอดจนเรื่องราวของฌาน เรื่องของญาณ และเรื่องของวิปัสนา ตามมาเป็นลำดับ
สำหรับบรรยากาศการจัดการเรียนการสอนสมาธินั้น เริ่มด้วยการฟังคำสอนจากครูสมาธิรุ่นกูรู ใช้เวลา 15 นาทีต่อด้วยฟังคำสอนด้วยเสียงของพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์อีก 15 นาทีต่อด้วยการย้ายไปเรียนการเดินจงกรมที่ห้องเดินจงกรมราว 30 นาทีและการนั่งสมาธิที่ห้องนั่งสมาธิอีก30 นาที
รูปแบบเรียนปฎิบัติยึดแนวนี้และกำหนดให้ผู้เรียนต้องเรียนจนครบ 100 ชั่วโมงมีการคุมเวลาเรียน เพื่อจะได้เข้าใจคำสอนอย่างถ่องแท้ กำหนดให้มีการสอบภาคทฤษฎีและสอบปฏิบัติต่อด้วยการไปธุดงค์ที่ดอยอินทนนท์และต้องกลับมาเป็นพี่เลี้ยงดูแลรุ่นน้องอีก 6เดือนเป็นอันจบหลักสูตร
หลายท่านคงแปลกใจว่าการนั่งสมาธิที่เป็นการนั่งเฉยๆแล้วกำหนดลมหายใจนั้นจะได้อะไร หากท่านลงมือปฏิบัติจริงๆ ก็จะพบว่าทำให้จิตเรานิ่งถือเป็นการกรองอารมณ์และมีสติมากขึ้น ใหม่ๆความคิดอาจฟุ้งซ่านถือเป็นเรื่องปกติเมื่อได้ทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะพบกับความสุขอันพิเศษเพราะเป็นการทำจิตให้ว่างไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆทั้งสิ้น และเป็นการตัดกิเลสให้สิ้นในชั่วครู่หากทำอย่างต่อเนื่องจนได้ผล ก็จะสัมผัสกับ…ฌาน, ญาณและวิปัสสนา ในที่สุด
นอกจากนี้ขอกล่าวถึงเรื่องการทำบุญและสร้างกุศลกันสักหน่อย
บุญ หมายถึงการกระทำสิ่งดีๆให้กับผู้อื่น เช่น ตักบาตร การบริจาคสิ่งของ เป็นต้น
ส่วน กุศล หมายถึง การกระทำสิ่งดีๆนั้นให้กับตนเองเช่น การนั่งสมาธิ เดินจงกรมเจริญสติการเวียนเทียน การฟังธรรมจนเข้าใจ เป็นต้นดังนั้นผู้ทำกุศล แค่เพียง นั่งสมาธิเจริญสติก็จะได้กุศล
ดังนั้นกุศลอันยิ่งใหญ่สุดก็คือ “ผู้ที่เห็นความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ไม่เที่ยง ล้วนมาจากการปรุงแต่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
ประเด็นดังกล่าวนี้เราจึงควรพยายามใช้สติกำหนดความคิดคำพูด การกระทำและอาชีพให้ถุกต้องตามสัมมาทิฐิเมื่อทำได้อย่างนั้นจะมีผลสะสมตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิและทำสมาธิเพื่อ ลด ละล้างกิเลส ซึ่งเป็นต้นเหตุของทุกข์ทั้งปวง จึงน่าเชื่อได้ว่า การทำสมาธิได้บุญมาก
เมื่อพิจารณาเรื่องของสมาธิ ผู้รู้บอกว่าสมาธิจะก่อให้เกิดบุญคือสมาธิที่เกิดขึ้นควบคู่กับปัญญาเพราะสมาธิทั่วๆไปใครๆก็ทำได้เช่น การจดจ่ออยู่กับการงาน การนอนหลับ ก็เกิดสมาธิเช่นกัน
ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงสัมมาสมาธิไว้หลายแห่งโดยได้อธิบายความหมายตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิ ดังเช่น จาก สติปัฏฐานสูตร พระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร เล่ม 17 หน้า 628-9ดังนี้
“ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ถึงปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ “ ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนมาฝึกสมาธิกันเถอะ ก่อนจะเดินจงกรม และนั่งสมาธิ จะต้องหาฐานที่ตั้งของจิตก่อน - ฐานจิต คือที่อยู่ของจิต เช่น สมมุติว่าเราควรนำความรู้สึกมาไว้ที่ หน้าผาก จิต (ตัวรู้) จะอยู่ที่หน้าผาก คือบานที่ตั้งของจิต ถ้านำความรู้สึกมาอยู่ที่สะดือ จิตก็จะอยู่ที่สะดือ - เวลาฝึกสมาธิ เราจะพยายามให้จิตอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ไม่แกว่่งไปมา - ดังนั้นจึงต้องหาฐานจิตที่กำหนดง่ายที่สุดสำหรับแต่ละคน - พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ แนะนำฐานที่ตั้งของจิตไว้ 3 ที่ คือ 1.หน้าผาก 2.หัวอกด้านซ้าย 3.สะดือ ฐานจิตเวลาฝึกสมาธิและเดินจงกรม วิธีหาฐานจิต 1.หลับตา 2.ทดสอบกำหนดจิตไปไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง ใน 3 จุดแล้ว ## การกำหนดจิต คือการนึก หรือเอาความรู้สึกของเราไว้ที่ตรงนั้น 3.เลือกฐานจิตที่ดีที่สุดไว้ 1 ฐาน สำหรับเวลาทำสมาธิ 4.เวลาเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิ ควรจะกำหนดจิตไปไว้ที่ฐานจิต พยายามไม่ให้จิตส่ายไปมา วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น วิธีเดินจงกรม และนั่งสมาธิ จิตเป็นหนึ่ง คือกุญแจของการทำสมาธิ การบริกรรมจะทำให้จิตเป็นหนึ่ง ยิ่งจิตเป็นหนึ่งได้มากเท่าไร ก็จะเป็นสมาธิได้มากเท่านั้น ยิ่งเป็นสมาธิมากจิตจะผลิตพลังจิต หลายคนชอบคิดว่าการฝึกสมาธิจิตจะต้องนิ่งสงบ พอเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิแล้ว จิตไม่สงบเป็นเรื่องปกติของทุกคน แค่นึก พุทโธ ได้ ก็เริ่มเป็นสมาธิแล้ว ดังนั้นระหว่างเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิ ถ้าจิตไม่สงบก็นึกพุทโธต่อไปจนกว่าจะถึงเวลาที่จิตสงบ ## การเดินจงกรม เป็นการฝึกสมาธิตื้น ส่วนการนั่งสมาธิ เป็นการฝึกสมาธิลึก ทั้ง 2 อย่าง จะต้องทำควบคู่กันการฝึกสมาธิถึงจะสมบูรณ์ ## ## ท่านใดสนใจ รีบสมัครได้ที่สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา4 วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา ) สอบถามข้อมูล ที่ 096 762 7990 ด่วน กรอกข้อมูลผู้สนใจสมัครตามลิกค์ https://goo.gl/KLdH3X
คณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารงาน รุ่น 43 จันทร์-ศุกร์“ ประกอบด้วย นางเตือนใจ เจริญพงษ์ ประธานรุ่น นางสาวรังษิต ภู่ศิริภิญโญ รองประธานรุ่น นายสุพัฒน์พงศ์ พงษ์ชมพร ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร นายวิรัฐวิศว์ เจตน์มงคลรัตน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร นายธนภัทร จันทร์เชิดผล ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร นางสดศรี ใจน้อย ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร นางประไพรัตน์ มูลมณี ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร นางชนิกา หวังกิจ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร นางสาวขนิฐา ขำประเสริฐ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร นางสาวทิพานัน ไวทยวานิช กรรมการรุ่นและประชาสัมพันธ์ นายสุวิทย์ ไวทยวานิช กรรมการรุ่นและสาราณียากร นางสาวภัสสิรีย์ พงศ์ศิระพัตร์ กรรมการรุ่นและปฎิคม นางสาวสรัญญา ผาลีบุตร กรรมการรุ่นและผู้ช่วยปฎิคม นางแก้วตา ไชยูปถัมภ์ กรรมการรุ่นและเหรัญญิก นางสาววิลาศิณี แช๋โต๋ว กรรมการรุ่นและเลขานุการ .................................................................................................... |
ไม่มีความเห็น