เร่งเสริมทักษะเอาตัวรอดให้เด็กไทย หลังพบปิดเทอมจมน้ำตายเกือบพัน


เด็กไทยต้องเปี่ยมเอาตัวรอดด้วยทักษะ 10 ด้าน

นักวิชาการเผยปิดเทอมเสี่ยงตาย หลังพบเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงสุดถึง 740 รายในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ขณะที่อุบัติเหตุเด็กตายบนท้องถนนอีกปีละ 700 ราย เร่งถ่ายทอดองค์ความรู้สู่อปท. หวังกระจายสู่ท้องถิ่น ชี้เด็กไทยต้องเปี่ยมเอาตัวรอดด้วยทักษะ 10 ด้าน

            รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยภายหลังการจัดกิจรรมค่าย 10 ทักษะความปลอดภัยเพื่อฝึกทักษะการอยู่รอดปลอดภัยจากอุบัติเหตุของเด็กชั้นป.1-ป.3 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่าในแต่ละปีเด็กไทยอายุ 1-14 ปี จะเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจำนวนกว่า 2,500 รายต่อปี หรือเฉลี่ย 200 รายต่อเดือน และในแต่ละปีพบว่าเดือนที่มีเด็กตายจากอุบัติเหตุสูงสุดคือเดือนเมษายน หรือเฉลี่ย 350 รายต่อเดือน และการจมน้ำมีสถิติการตายถึงร้อยละ 33 หรือ 740 ราย ร้อยละ 31 ตายจากภัยทางถนน หรือ 700 ราย ที่เหลือร้อยละ 36 ตายจากสาเหตุอื่น และช่วงปิดเทอม4 เดือนยังเป็นช่วงอันตรายสูงสุด ส่วนการตายของเด็กวัย 4-12 ปีส่วนใหญ่ตายในละแวกบ้าน ในบริเวณชุมชนในขณะเล่นกับเพื่อน



    รศ.อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาสถาบันฯได้ถ่ายทอดความรู้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ฝึกอบรมการเอาตัวรอดทางน้ำใช้เวลาฝึกอบรม 1 สัปดาห์ ซึ่งอปท.บางแห่งใช้งบประมาณในการสร้างสระน้ำเพื่ออบรมเด็ก โดยทำได้ในอายุ 6-7 ปี เรียนรู้ทักษะเพื่อป้องกันการจมน้ำ 5 ประการ ได้แก่ รู้จุดเสี่ยง ลอยตัวได้ 3 นาที เพราะจะโผล่ขึ้นมาหายใจได้และจะมีจังหวะที่มีคนมาช่วย หรือเพื่อนที่มาด้วยกันช่วยได้ เพราะเด็กจะเล่นน้ำในระดับริมตลิ่ง และเคลื่อนตัวในน้ำได้ 15 เมตร ช่วยผู้อื่นโดยการตะโกน โยน ยื่น และใช้ชูชีพเมื่อต้องเดินทางทางน้ำ ที่อยู่ในอายุ 7 ปีหรือ ป.1 ซึ่งในอนาคตจะปรับหลักสูตรเร่งรัดใช้เวลาอบรม 1 ชั่วโมง เพื่อเอาตัวรอดในน้ำให้ได้

            นอกจากนี้พบว่าอุบัติเหตุจราจรเป็นการตายอันดับ 2 ของเด็ก ทั้งการเดินทางไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ซ้อนมอเตอร์ไซด์ ถูกรถชนในละแวกบ้าน เพราะพื้นที่เล่นของเด็กไม่แยกออกจากถนน รวมทั้งการซ้อนมอเตอร์ไซด์เด็กไม่ได้สวมหมวกกันน็อค โดยมีคำแนะว่าในเด็กก่อนวัย 6 ขวบไม่ควรซ้อนรถจักรยานยนต์ เพราะยังอยู่ในวัยที่ดูแลตัวเองไม่ได้ ยังไม่เข้าใจความเสี่ยง แม้จะสวมใส่หมวกกันน็อค แต่เด็กต่ำกว่า 6 ขวบยังไม่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายควรใช้รถจักรยานยนต์ได้เมื่อขาวางถึงที่วางเท้า เพราะตามกฎหมายมอเตอร์ไซด์จะโดยสารได้แค่ 2 คนคือคนขับและคนซ้อนเท่านั้น

            ทั้งนี้ทักษะความปลอดภัย 10 อย่าง ประกอบด้วย 1.ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ 2.ทักษะการเดิน ขี่จักรยาน และการโดยสารยานยนต์ 3.ทักษะการเล่นของเล่น 4.ทักษะการพูดคุยกับคนแปลกหน้า 5.ทักษะความปลอดภัยในบ้าน 6.ทักษะการใช้ไอทีอย่างปลอดภัย 7.ทักษะการปฐมพยาบาล 8.ทักษะการกู้ชีพเบื้องต้น 9.ทักษะการข้ามถนน และ 10. ทักษะ Home alone

หมายเลขบันทึก: 659155เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2019 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2019 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เชิญชมวิดีโอ การตายของเด็กจากอุบัติเหตุในช่วงปิดเทอม และ 10 ทักษะความปลอดภัยที่เด็ก ป.1-ป.3 ต้องมี https://iptv.mahidol.ac.th/topic/75544

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท