ข้อจำกัดของการถ่ายภาพรังสีทั่วไป


เมื่อรังสีเอกซ์ ทะลุผ่านเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน ภาพที่ปรากฏออกมา อวัยวะต่างๆจะมี สีที่แตกต่างกัน

การถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ 


เมื่อเราไปหาหมอ ให้ตรวจร่างกายหาความผิดปกติในร่างกาย

แพทย์ ไม่สามารถมองเห็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายได้

จึงมีความจำเป็นต้อง ใช้เครื่องมือมาถ่ายภาพอวัยวะตามส่วนต่างๆของร่างกาย 

เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติของอวัยวะนั้นๆ 

มีวิธีการหนึ่งที่นิยม คือ การเอกซเรย์ (X-ray) 

หรือ การถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ หรือ การถ่ายภาพรังสีทั่วไป (general x-ray) 



ซึ่งจะเป็นการฉายรังสีจากหลอดเอกซเรย์ให้รังสีทะลุผ่านตัวผู้ป่วย หรือ ผู้รับบริการ 

แล้วรังสีเอกซ์จะตกกระทบบน แผ่นรับภาพ (cassette) หรือ อุปกรณ์รับภาพ (x-ray detector) เกิดเป็นภาพแฝงในอุปกรณ์รับภาพ 

เมื่อนำอุปกรณ์รับภาพดังกล่าว ไปผ่านขบวนการล้างฟิล์ม หรือ การแปลงข้อมูลภาพแฝง หรือ การแปลงข้อมูลแอนะลอก (analog) ให้เป็นดิจิทัล (digital) หรือ ขบวนการสร้าง 

เพื่อทำให้เกิดภาพ (image processing) ซึ่งภาพที่ได้นั้นจะมีลักษณะเป็นภาพสองมิติ (two dimension) ที่นำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค 



ภาพเปรียบเทียบ 

อวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย (A) และ ภาพถ่ายเอกซเรย์ (B)







โดยปกติ ภาพถ่ายด้วยรังสีเอกซ์ 

เมื่อรังสีเอกซ์ ทะลุผ่านเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน 

ภาพที่ปรากฏออกมา อวัยวะต่างๆจะมี สีที่แตกต่างกัน 

ในทางรังสีวิทยา จะเรียกว่า ความเปรียบต่าง หรือ คอนทราส (contrast) ที่แตกต่างกัน

เนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นมาก เช่น โลหะ กระดูก ภาพที่ปรากฏ จะมีลักษณะเป็น สีขาว 

เนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นปานกลาง เช่น กล้ามเนื้อ ภาพที่ปรากฏ จะมีลักษณะเป็น สีเทา 

เนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นน้อย เช่น อากาศ ไขมัน เนื้อเยื่อปอด ภาพที่ปรากฏ จะมีลักษณะเป็น สีดำ



ข้อจำกัดของภาพถ่ายเอกซเรย์ทั่วไป 

เมื่อภาพมีลักษณะสองมิติ อวัยวะในร่างกายจะมีอวัยวะบางส่วนมาซ้อนทับกัน 

เมื่อภาพถ่ายด้วยรังสีเอกซ์ เกิดเงาของอวัยวะมาปรากฏซ้อนทับกันบนภาพ 

ในบางครั้งจะสร้างความยุ่งยากต่อการวินิจฉัยภาพ


                                      ตัวอย่าง


(A) จำลองอวัยวะซ้อนทับในร่างกาย เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ไต ท่อไต ที่อยู่ภายในบริเวณช่องท้อง

(B) ภาพถ่ายรังสีช่องท้อง เห็นเงาของอวัยวะส่วนต่างๆที่ซ้อนทับกันในภาพ 

กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน เห็นเป็น สีขาว 

กล้ามเนื้อ เห็นเป็น สีเทา 

อากาศที่อยู่ในลำไส้ เห็นเป็น สีดำ





    จากภาพ 

    สมมุติว่า... 

    อวัยวะในช่องท้อง 2 อวัยวะ คือ วงรี และ สี่เหลี่ยมพื้นผ้า

    ส่วนรูปทรงหยัก สมมุติให้เป็น ก้อนเนื้องอก (tumor)

    เมื่อการถ่ายภาพรังสีทั่วไป บริเวณช่องท้อง (Abdomen AP view) 

    ภาพของอวัยวะ และ ก้อนเนื้องอก มีการซ้อนทับกัน ทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ที่จะระบุให้ชัดเจนว่า... ก้อนเนื้องอกที่เห็น เกิดอยู่ในอวัยวะส่วนใด




    จากภาพ 

    สมมุติว่า... 

    มีก้อนเนื้องอก (tumor) 2 ก้อน ซึ่งเป็นเนื้องอกที่มีความหนาแน่นใกล้เคียงกัน 

    เกิดในช่องท้อง อยู่ใกล้ชิด เกือบจะติดกัน และ เกิดในตำแหน่งที่เหลื่อมกันเล็กน้อย


    ก้อนเนื้องอก 1 (tumor 1) เป็นก้อนเนื้องอก มีขนาดเล็ก

    ก้อนเนื้องอก 2 (tumor 2) เป็นก้อนเนื้องอก มีขนาดใหญ่

    เมื่อการถ่ายภาพรังสีทั่วไป บริเวณช่องท้อง (Abdomen AP view)

    ภาพก้อนเนื้องอก 1 จะซ้อนทับ ก้อนเนื้องอก 2 

    ตำแหน่งที่เหลื่อมซ้อนกันบางส่วนจะทำให้มองเห็นเสมือนเป็นก้อนเนื้องอกขนาดที่ใหญ่กว่าความเป็นจริง 

    ซึ่งจะยากต่อการวินิจฉัย ที่จะระบุให้ชัดเจนว่า... มีก้อนเนื้องอก เกิดอยู่ในอวัยวะจำนวนและขนาดประมาณเท่าไร




    จากภาพ 

    สมมุติว่า... มีก้อนเนื้องอก (tumor) 2 ก้อน 

    แต่ละก้อน มีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน  เกิดอยู่ในช่องท้อง

    ก้อนเนื้องอก 1 (tumor 1) สีเข้ม

    เป็นก้อนเนื้องอก ที่เนื้อเยื่อมีความหนแน่นมาก และมีขนาดใหญ่

    ก้อนเนื้องอก 2 (tumor 2) สีอ่อน

    เป็นก้อนเนื้องอก ที่เนื้อเยื่อมีความหนแน่นน้อย และ มีขนาดเล็กกว่าก้อนเนื้องอก 1  

    เมื่อการถ่ายภาพรังสีทั่วไป บริเวณช่องท้อง (Abdomen AP view)

    เงาของก้อนเนื้องอก 1 ที่เนื้อเยื่อมีความหนาแน่นมากและมีขนาดใหญ่ จะมาบดบังก้อนเนื้องอก 2 

    ทำให้ยากต่อการมองเห็น ก้อนเนื้องอก 2  

    ทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ที่จะระบุให้ชัดเจนว่า... มีก้อนเนื้องอก เกิดอยู่ในอวัยวะจำนวนเท่าไร 


    จากข้อจำกัดที่กล่าวมา... 

    จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือสร้างภาพการตรวจวินิจฉัยชนิดพิเศษ เช่น 

    เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT) 

    เครื่องเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Image; MRI) 

    เพื่อสร้างภาพในลักษณะสามมิติ ทำให้สามารถสร้างภาพอวัยวะในระนาบต่างๆ ทำให้เห็นอวัยวะต่างๆในร่างกายได้ชัดเจนมากขึ้น




    การสร้างภาพในระนาบต่างๆ

    Transvers (Horizontal) plane 
    คือ ระนาบที่แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนบนและส่วนล่าง

    Coronal (frontal) plane 
    คือ 
    ระนาบที่แบ่งร่างกายออกเป็นซีกส่วนหน้า (anterior) กับส่วนหลัง (posterior)

    Sagittal plane 
    คือ ระนาบที่่แบ่งร่างกายออกเป็น ซีกขวา และ ซีกซ้าย



    โรค เปลี่ยน 

    โลก เปลี่ยน

    เทคนิคการตรวจวินิจฉัย เปลี่ยน



    หมายเลขบันทึก: 658949เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2018 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2019 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท