ตัวอย่างการออกแบบสื่อการสอนตาม ADDIE Model วิชา ภาษาไทย เรื่อง คำพ้อง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


ตัวอย่างการออกแบบสื่อการสอนตาม ADDIE Model 

วิชา ภาษาไทย เรื่อง คำพ้อง  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้สอนวิชาภาษาไทยในชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้าน มีนักเรียน 12 คน ฐานะยากจน ให้ออกแบบการสอนโดยใช้ ADDIE Model

1. การวิเคราะห์ ( Analysis)

- เนื่องจากบริบทของโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ชนบท อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนต่างๆอาจจะไม่พร้อมมากนัก ผู้เรียนอาจไม่เข้าใจเรื่องที่สอนได้ช้ากว่า ควรจัดหาสื่อประกอบการสอนด้วยเท่าที่จะทำได้

- การสอนอาจจะเน้นได้ทุกคนเพราะจำนวนผู้เรียนมีน้อย ทำให้ดูแลได้ทั่วถึง

- ในเนื้อหาบทเรียนที่จะสอนเป็นเรื่องคำพ้อง ที่ประกอบด้วยคำพ้องรูป และคำพ้องเสียง ในแต่ละคาบเรียน มีใบกิจกรรม เกม ให้ผู้เรียนได้ทำเพื่อเข้าใจในเนื้อหาง่ายขึ้น

- ในการสอนได้วางแผนการสอน โดยจะเริ่มจากตัวเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่สุดก่อนแล้วค่อยเจาะลึกในเนื้อหา ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนตามลำดับความง่ายไปยาก

2. การออกแบบ ( Design)

    2.1 การศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์

- ในเนื้อหาที่จะสอน จะเริ่มจากสอนให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องคำพ้อง ว่าหมายถึงอะไร

- เมื่อผู้เรียนเข้าใจพื้นฐานของคำพ้อง ว่าหมายถึงอะไรแล้ว ก็สอนในเรื่อง คำพ้องรูป และคำพ้องเสียง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ  เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความแตกต่าง

2.2 การออกแบบการเรียนการสอน

- วางแผนการสอน เริ่มตั้งแต่ตัวเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานไปจนครบบท

- ในการสอนทุกคาบ ทุกเนื้อหาต้องยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

- ในคาบที่เรียนเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง อาจจะให้ผู้เรียนได้ดูรูปภาพเกี่ยวกับคำพ้องนั้นๆ และตัวอย่างการใช้คำพ้องในรูปประโยค เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน  และให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น

- อาจมีกิจกรรมเกมประกอบการเรียน เช่น เกมจับคู่ภาพ เป็นต้น- ในการประเมินผู้เรียนจะให้ผู้เรียนทำข้อสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อดูความเข้าใจของผู้เรียน และประเมินได้จากเกมที่ผู้เรียนได้ร่วมเล่นอย่างสนุกสนาน และเข้าใจหรือไม่

3. การพัฒนา ( Development)

- ในเนื้อหาที่จะสอนต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากผู้เรียนไม่เข้าใจ

- มีการทบทวนการสอนในแต่ละวันเสมอ ว่าผู้เรียนได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด และใช้คำได้ถูกต้องหรือไม่

- ดูความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีมากน้อยเพียงใด แล้วลองปรับหรือพัฒนารูปแบบการสอนตามความเหมาะสม

- กิจกรรมเกม ควรมีให้ผู้เรียนร่วมทำบ่อยๆ เพราะจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้มาก และสามารถประเมินความเข้าใจของผู้เรียนได้อีกด้วย

4. การนำไปใช้ ( Implement)

    4.1 การปฏิบัติภาคสนาม

- จากการวางแผนและรูปแบบการสอนต้องทำให้ผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ได้

4.2 การเผยแผ่ระบบ

- หากรูปแบบการสอนนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้มาก ระบบนี้ก็จะสามารถใช้ในสถานศึกษาได้ยาวนานและอาจจะถูกพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นไปกว่านี้ได้

5. การประเมิน ( Evaluation)

- มีแบบทดสอบให้ผู้เรียนทำทั้งก่อนและหลังเรียน เพื่อวัดความเข้าใจในการเรียนรู้

- รูปแบบการสอนหากใช้แล้วผู้เรียนมีพัฒนาการได้น้อยก็ควรนำรูปแบบมาปรับปรุงหรือจัดรูปแบบขึ้นมาใหม่ ต้องคำนึงตลอดเวลาว่าผู้เรียนเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ควรนำรูปแบบนั้นมาปรับปรุงให้เร็วที่สุด

หมายเลขบันทึก: 658640เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2018 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2018 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท