รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M


 บทที่ 2

เอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    การศึกษาข้อมูลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดเรียนรู้แบบ 4M เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาและนำเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

     1.เอกสารที่เกี่ยวข้อง

         1.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M

         1.2 ความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M

         1.3 ผลการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M

    2.งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผล

        2.1 งานวิจัยในต่างประเทศ

        2.2 งานวิจัยในประเทศ

     3. แนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

          3.1 ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

          3.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

 เพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลให้เด็กปฐมวัย จำนวน 4 ทักษะ ได้แก่

             1. การจำแนก (classifying)

             2. การเปรียบเทียบ (comparing)

             3. การเรียงลำดับ (sequencing)

             4. การสรุป (summarizing)

ความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล 4 ทักษะ ได้แก่ การจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการสรุปซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบโดยมีหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาด้านการคิดของมนุษย์ทฤษฎีการเรียนรู้และแนวคิดทางการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นพื้นฐานในการพัฒนา รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้เด็กมีบทบาทในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการลงปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและมีการใช่สื่อประสมเข้ามาประกอบให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีการตอบคำถามของครูและคำถามจากสื่อประสม (multimedia) มีการลงมือปฏิบัติกิจกรรมในการเรียนรู้เพื่อค้นหาคำตอบ พร้อมทั้งรับรู้ข้อมูลจากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่นำมาสู่การตัดสินใจหาทางเลือกในการตอบคำถาม และสามารถอธิบายการกระทำหรือความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล ครูมีบทบาทในการกระตุ้นเร้าความสนใจ อำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

ผลการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M

ผลการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นเครื่องมือของการคิดโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตรับรู้สิ่งของหรือปรากฏการณ์ต่างๆ รับรู้หรือบอกได้ถึงคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งของหรือปรากฏการณ์นั้นโดยแสดงออกหรือไม่แสดงออกทางพฤติกรรม ในทักษะจำนวน 4 ด้าน ได้แก่

1. การจำแนกประเภท (classifying) หมายถึง การนำสิ่งของต่างๆมาแยกจัดกลุ่มจากการใช้ประสาทสัมผัสการดูการฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรสและการสัมผัสตามลักษณะของรูปร่างโครงสร้างหน้าที่สีขนาด ของสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยการค้นหาจากคุณสมบัติร่วมและคุณสมบัติต่างกันที่กำหนดได้ด้วยตัวเองโดยอาศัยความรู้เดิมและประสบการณ์ใหม่

2. การเปรียบเทียบ (comparing) หมายถึง การแยกแยะสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆในด้านความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การมองเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัสภายนอก รับรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่างของรูปร่าง โครงสร้าง หน้าที่ความยาว-สั้น จำนวน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

3. การเรียงลำดับ (sequencing) หมายถึง การนำสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆมาจัดเรียงลำดับ ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกันของสิ่งของหรือเหตุการณ์จากสถานการณ์ต่างๆที่กำหนดให้โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของสิ่งของ  เช่น จำนวนน้อยไปหามาก ขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่หรือความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและหลัง

4. การสรุป (summarizing) หมายถึง การหาความสมพันธ์ระหว่างสิ่งของหรือความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ระบุหรือรับรู้ได้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหลังและตัดสินได้ว่าเป็นผลมาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ระบุความสัมพันธ์ความเกี่ยวข้องระหว่างสิ่งต่างๆกับปรากฏการณ์ที่เกิด โดยสรุปจากประสบการณ์เดิมประกอบกับประสบการณ์ใหม่

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผล

      งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู์ที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผลที่พบใน ปัจจุบันมีทั้งงานวิจัยในประเทศและงานวิจัยต่างประเทศ ดังนี้

งานวิจัยในต่างประเทศ

                      ซิงห์และวอกเกอร์ไดน์ (จํานง วิบูลยศร์ . 2536: 44-45;  อ้างอิงจาก Sinha; & Walkerdine. 1975) ได้ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบอิทธิพลของภาษาที่มีต่อการคิดเชิงเหตุผลของเด็กเกี่ยวกับปริมาณคงที่ของของเหลว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปี 6 เดือน ถึง 7 ปีในการทดลองครั้งนี้ได้ใช้แบบทดสอบเกี่ยวกับคำตรงกันข้าม คือ คำว่า “มาก/น้อย” (Lot/Little) กระบวนการทดสอบชุดนี้ก็คือผู้วิจัยได้นำตุ๊กตาม้าขนาดใหญ่กับตุ๊กตาขนาดเล็กมาวางไว้ตรงหน้าเด็ก พร้อมทั้งกล่าวว่า “นี่คือม้าตัวใหญ่ ม้าตัวนี้ชอบดื่มน้ำจำนวนมากๆ นี่คือสุนัขตัวเล็ก สุนัขตัวนี้ชอบดื่มน้ำจำนวนน้อยๆ” หลังจากนั้น ก็นำบีคเกอร์ขนาดมาตรฐานสำหรับใส่น้ำส้มคั้นมาวางไว้ ข้างหน้าตุ๊กตาทั้งสอง โดยให้บีคเกอร์สำหรับตุ๊กตาม้าบรรจุน้ำส้มคั้นมากกว่าบีคเกอร์สำหรับตุ๊กตาสุนัขต่อมาผู้ทำการทดลองจะเทน้ำส้มคั้นจากบีคเกอร์สำหรับตุ๊กตาสุนัขลงในหลอดทดลองซึ่ง ขนาดแคบและสูงกว่าได้ทำนองเดียวกันก็จะเทบีคเกอร์สำหรับตุ๊กตาม้าลงในบีคเกอร์ขนาดมาตรฐาน อีกใบหนึ่ง ผลการทดลองปรากฏว่า ภาษาที่ใช้ในการทดลองช่วยให้เด็กเข้าใจสภาพของข้อเท็จจริงมากกว่าสภาพตามที่เด็กเห็นในขณะนั้น ผู้วิจัยสรุปวาภาษาโดยทั่วไปมีส่วนช่วยให้เด็กเข้าใจหลักการเกี่ยวกับความคงที่ของสสารได้ง่ายยิ่งขึ้น

                      บูลลอค์กและเกลแมน (เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. 2536: 42; อ้างอิงจาก Bullock; & Gelman. 1979) ได้แสดงให้เห็นว่าเด็กเล็กๆ สามารถเข้าใจว่าสิ่งที่เป็นเหตุจะเกิดก่อนสิ่งที่เป็นผลกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 3 – 5 ปี ซึ่งเห็นหุ่นมือตัวหนึ่งทิ้งลูกบอลลงไปบนทางวิ่งอีกด้านหนึ่งและลูกบอลนั้นก็กลิ่งลงสู่หลุมอีกหลุมหนึ่งเช่นเดียวกัน หลุมทั้งสองอยู่ห่างจากตุ๊กตาสปริงเท่ากัน ผู้วิจัยพบว่าเด็กอายุ 5 ปีเกือบทุกคนและเด็กอายุ 3 ปีบางคนสามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์ไหนที่ ทำให้ตุ๊กตาสปริงกระเด้งขึ้นมาและเมื่อให้เด็กทําเองก็สามารถเลือกทางวิ่งที่ถูกต้องได้

                    แพรท มิเชล และคนอื่นๆ (Pratt, Michael W.; et al. 1993: CD-ROM) ไดืทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการคิดเชิงเหตุผลของเด็กในช่วงระหว่างการข้ามขั้นไปสู่การคิดอย่างมีเหตุผลในเด็ก โดยใช้วิธีการศึกษา 3 วิธีคือ สำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ต่อการพัฒนา เด็ก สังเกตพ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก และสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ใน 3 กลุ่มอายุที่เป็นผู้ปกครองในกลุ่มที่ศึกษา ผลจากการศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ต่อการคิดเชิงเหตุผลของเด็ก

งานวิจัยในประเทศ

           เสาวนีย์  อุ่นประเสริฐ (2546: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดินเรื่อง ในระดับอายุ 5-6 ปีเพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบเดินเรื่องก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบวัดการคิดเชิงเหตุผล ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนแบบเดิมเรื่องมีการคิดเชิงเหตุผลทั้งในภาพรวมและจำแนกตามแบบการคิด คือ การคิดแบบนิรนัยและการคิดแบบอุปนัยหลัง หารทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

           ปิยวรรณ สันชุมศรี (2547: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดอโบโน ในเด็กระดับอายุ 5-6 ปีผล การศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดอโบโนมี ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติมีความสามารถในการคิดเชิง เหตุผลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเด็กปฐมวัยท ี่ ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดอโบโนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดอโบโนมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการ คิดเชิงเหตุผลสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

พรทิพย์  ศิริภัทราชัย(2549: บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมี จุดประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสาเหตุกับทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ 2.ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3.ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสาเหตุ(รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบ ประชาธิปไตย คูณภาพการสอนวิทยาศาสตร์สมรรถภาพพื้นฐานทางสมอง ผลการเรียนรู้) กับ ทักษะการคิดเชิงเหตุผลมีนัยสําคัญทางสถิติทุกค่าที่ระดับ .01 และโมเดลสมมติฐานไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลังจากการปรับแก้แล้วทำให้โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์รวม ทั้งตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงแบบบวกต่อทักษะการคิดเชิงผลทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ รูปแบบการ เลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย สมรรถภาพพื้นฐานทางสมอง ผลการเรียนรู้เดิมวิชาวิทยาศาสตร์และตัว แปรทั้ง 9 ตัวแปรสามารถอธิบายความแปรปรวนของทักษะการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ได้ ร้อยละ 70.97

 บุษยา อินทร์งาม (2552: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงต่อการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยใช่เด็กปฐมวัยชาย–หญิงที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจ พอเพียงมีความคิดเชิงเหตุผลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

 จากงานวิจัยในต่างประเทศและในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผล สรุปได้ว่า การส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะการคิดเชิงเหตุผลเป็นเรื่องสําคัญ เพราะเป็นพื้นฐานที่ดีในการคิดระดับ ที่สูงขึ้นและใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลนั้นทำได้โดยเด็กสามารถเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆและรูปแบบต่างกันซึ่งแต่ละกิจกรรมนั้นได้ฝึกให้เด็กไ้มีทักษะในการคิดโดยใช้วิธีการสังเกต เปรียบเทียบและการให้เหตุผลในการสรุปความคิดต่างๆ โดยใช้ภาษาเป็นสื่อในการเชื่อมโยงประสบการณ์

แนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

5.1 ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

     ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน ที่นำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M ประกอบไปด้วย

          5.1.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ทางสติปัญญา เกิดการเรียนรู้จากกระบวนการซึมซับหรือดูดซึม (assimilation) ข้อมูลและประสบการณ์ต่างๆ ไปเชื่อมโยงกับโครงสร้างทางสติปัญญาเดิม เป็นเหตุให้โครงสร้างเดิมเปลี่ยนไปแต่หากไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่กับประสบการณ์เดิมเขากันได้ก็จะเกิดภาวะไม่สมดุล(disequilibrium)ซึ่งจะต้องใช้กระบวนการปรับสภาวะ(accommodation) เข้าช่วย ดังนั้นการคิดของเด็กเป็นกระบวนการทางปัญญาที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม สื่อ บุคคล เพื่อพัฒนากระบวนการปรับตัวและจัดระบบ โครงสร้างทางการคิดของเด็กเกิดจากการที่เด็กซึมซับประสบการณ์ข้อมูลเข้าไปและปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ผลของกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา (เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. 2536:40-45, สิริมณีบรรจง. 2549: 9-10) ซึ่งหลักการในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดของเพียเจต์ก็คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กและจัดประสบการณ์ให้อย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการเริ่มสอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์มาก่อน แล้วจึงเสนอสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเก่าจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และเปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมทั้งสื่อและเทคโนโลยีเพื่อให้เด็กเกิดการซึมซับรับข้อมูลต่างๆเข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญาของตน

5.1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบบรูเนอร์แนวคิดนี้กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง(discovery learning) เชื่อว่า เด็กอายุประมาณ 4-7 ปีมีความสามารถที่จะเข้าใจความคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมศาสตรบ้างอย่างได้ ขั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา แบ่งเป็น 3 ขั้น คือ การเรียนรู้ด้วยการกระทำ(Enactive representation) การเรียนรู้ด้วยการลองดูและจินตนาการ (Iconic Representation) และการเรียนรู้โดยการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Representation) แนวคิดของบรูเนอร์กล่าวไว้ว่า หลักการกระตุ้นความสนใจของเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะพัฒนาให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ได้นั้นคือ การกระตุ้นให้เด็กสนใจและเห็นคุณค่าของสิ่งที่จะเรียนรู้ซึ่งความสนใจนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กต้องการเรียนรู้ (Bruner. 1960: 14, 31)ซึ่งหลักการในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดของบรูเนอร์ คือ การจัดสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้เด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดคิดอย่างอิสระกระตุ้นความสนใจและสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดกับเด็กเพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้

5.1.3 ทฤษฏีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวก็อตสกีกล่าวถึง พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กแต่ละวัยจะเพิ่มขึ้นสูงสุดตามศักยภาพได้ก็ต่อเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากครูและเพื่อนที่มีความสามารถมากกว่า (Vygotsky. 2010: Online) และเชื่อว่า การจัดการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงระดับพัฒนาการ 2 ระดับ คือ ระดับพัฒนาการที่เป็นจริง (Actual Development Level) และระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ (Potential Development Level) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงและระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้เรียกว่า พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ(Zone of Proximal Development) เด็กจะเข้าใจในบางอย่างได้จากการได้รับคำแนะนำ ถูกกระตุ้นหรือชักจูงโดยใครบางคนที่มีสติปัญญาที่ดีกว่า บุคคลเหล่านี้อาจเป็นเพื่อนที่มีความสามารถนักเรียนคนอื่นๆ พ่อแม่ ครูหรือใครก็ได้ที่มีความเชี่ยวชาญ (Vygotsky. 1978: 86) พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กจะเพิ่มขึ้นถึงขั้นสูงสุดได้ต่อเมื่อได้รับการช่วยเหลอจากผู้ใหญ่หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด(เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ. 2542: 25) ดังนั้น การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยภายใต้แนวคิดของไวก็อตสกีนี้จึงมีหลักการคือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก เด็กกับเพื่อนที่ให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้โดยเป็นการจัดเตรียมสิ่งที่เอื้ออำนวย การให้การช่วยเหลือ แนะนำ สนับสนุน รวมถึงสนับสนุนการใช้ภาษาถ่ายทอดการคิดเชิงเหตุผล

5.1.4 แนวคิดทางการศึกษาของดิวอี้กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้แบบ Learning by doing ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ซึ่งประสบการณ์ตามความคิดของดิวอี้มีทั้งประสบการณ์ปฐมภูมิเป็นประสบการณ์ที่ยังไม่เป็นความรู้และประสบการณ์ทุติยภูมิที่เป็นประสบการณ์ประเภทที่เป็นความรู้ดังนั้นหลักการในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดของดิวอี้ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริงได้ลงมือกระทำกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ ฝึกคิด ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ให้ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาเป็นอย่างมีเหตุผล

5.1.5 รูปแบบการสอนตามแนวคิดของกานเย แนวคิดกล่าวถึงผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์คือ พฤติกรรมที่เป็นความสามารถ หรือคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้นอันเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และจดจำของผู้เรียนอันเป็นผลจากการจัดกระทำข้อมูลในสมอง คือสิ่งเร้ากระตุ้นเซลล์ประสาทรับข้อมูลให้เกิดการสร้างสัญญาณบันทึกข้อมูลไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น การได้ยิน การเห็น เป็นต้น เมื่อรวมกับผลจากเหตุการณ์ภายนอกนั้นจะช่วยสร้างการเรียนรู้ได้มาก เป็นแนวทางการเรียนรู้ที่นำเรื่องของสิ่งเร้าและการตอบสนองรวมกับทฤษฎีความรู้มาเป็นแนวคิด เชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการต่อเนื่องการเรียนรู้ต่างๆ เป็นลูกโซ่ (Association and Chaining) หลักในการจัดการเรียนรู้คือ ผู้เรียนจะมีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้สิ่งเร้าเกิดการเรียนรู้และการตอบสนอง ร่วมถึงการกระตุ้นความจำของผู้เรียน

5.1.6 รูปแบบการสอนแบบปฏิบัติการ (active learning) เป็นรูปแบบการสอนที่เด็กได้มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งครูและเพื่อนๆมีการร่วมมือกันทั้งภายในภายนอกห้องเรียน เด็กได้ลงมือกิจกรรมต่างๆโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้การคิดจากสิ่งที่ตนได้กระทำในระหว่างการเรียนรู้จากการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนและการสะท้อนคิด หลักสำคัญใน การจัดการเรียนรู้คือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยตรงในกิจกรรมการเรียนรู้สร้างความรู้ด้วยตนเองแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M

 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M หมายถึง หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้เด็กมีบทบาทในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการใช้สื่อประสมประกอบ เกิดการปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการตอบคำถามของครูและคำถามจากสื่อประสม (animation) มีการลงมือปฏิบัติกิจกรรมในการเรียนรู้เพื่อค้นหาคำตอบ พร้อมทั้งรับรู้ข้อมูลจากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่นำมาสู่การตัดสินใจหาทางเลือกในการตอบคำถาม และสามารถอธิบายการกระทำหรือความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดและทฤษฎีเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาด้านการคิดของมนุษย์ทฤษฎีการเรียนรู้และแนวคิดทางการศึกษา โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นนี้มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1. การกระตุนความสนใจ(Motivation M1) 2.การลงมือทําด้วยตนเอง (Manipulation M2) 3. การขยายผลกิจกรรมการเรียนรู (Multiplication of learning activities M3) 4. การใช้สื่อประสม (Multimedia M4) องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M ประกอบไปด้วยหลักการสำคัญในการจัดการเรียนรู้ดังนี้

    องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M ประกอบไปด้วยหลักการสำคัญในการจัดการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

 1. การกระตุ้นความสนใจ (Motivation M1) หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมและสื่อประสมที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง ที่มีทั้งภาพวาดและภาพเหตุการณ์จริง เสียง กล้องดิจิตอล รวมถึงวัสดุอุปกรณ์นำมาใช้ร่วมกัน เป็นการสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้เด็กกระทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อให้เกิดความพร้อมในการเรียนรู้ตามแนวคิดที่ว่าการคิดของเด็กเกิดขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมสื่อ ปรับความรู้เดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เด็กจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ต้องมีความพร้อมและความสนใจ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติเป็นการเรียนรู้จากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ากับสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม

 2. การลงมือทำด้วยตนเอง (Manipulation M2) หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองจากสื่อวัสดุสื่อของจริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำของเด็กปฐมวัย ด้วยการทดลองลงมือปฏิบัติด้วยความกระตือรือร้นและการบันทึกสิ่งที่เรียนรู้จนกระทั่งเด็กเกิดการเรียนรู้สามารถหาคำตอบจากสิ่งที่ตนสนใจพร้อมทั้งถ่ายทอดออกมาด้วยการอธิบายหรือออกมาเป็นผลงานได้อย่างมีเหตุผล เป็นการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย โดยมีที่มาและแนวคิดที่ว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีจากการค้นพบด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยการกระทำจากการใช้ประสาทสัมผัสเกิดจินตนาการตามความสามารถทางสมองของมนุษย์ที่ประกอบด้วยมิติด้านเนื้อหา ด้านการปฏิบัติการคิดและด้านผลผลิต จนสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์และรับรู้เข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ผสมผสานกับแนวคิดเรื่องการกระตุ้นให้เด็กระลึกความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้ใหม่เป็นการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาและกระตือรือร้น เป็นการพัฒนากระบวนการปรับตัวของเด็กกับสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยการซึมซับประสบการณ์และการปรับระบบโครงสร้างการคิดเพื่อให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กตามระดับขั้นพัฒนาการ

 3. การขยายผลกิจกรรมการเรียนรู้ (Multiplication of learning activities M3) หมายถึง การถ่ายทอดการคิดเชิงเหตุผลของเด็กที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นการให้เด็กได้ต่อยอดทางการคิดและสะท้อนกลับสิ่งที่เด็กค้นพบด้วยการการนำเสนอในรูปแบบของการนำเสนอผลงาน ช่วยให้เด็กเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เกิดการร่วมมือร่วมแรงรวมคิดในการเสนอผลงานการเรียนรู้โดยมีครูเป็นผู้ช่วยในการจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ให้เด็กใช้แสดงผลงาน ตามแนวคิดเกี่ยวกับ ธรรมชาติของเด็กมีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือกนและกันและต้องการพึ่งพาตนเอง เป็นความสามารถทางสมองที่เกิดจากการผสมผสานด้านเนื้อหาข้อมูลและด้านปฏิบัติการคิดหรือกระบวนการคิดที่สามารถนำเสนอผลผลิตของการคิดจากการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อแสดงถึงความรู้ความเข้าใจในการใช้สมองคิดหาเหตุผลโดยใช้ขอมูล ประสบการณ์ความรู้จากสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ให้ กับผู้อื่นรับรู้

4. การใช้สื่อประสม (Multimedia M4) หมายถึง การนำสื่อการเรียนรู้หลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ(software) เครื่องมืออุปกรณ์(hardware)และวิธีการ (Technique) เช่น นำสื่อแผ่นซีดีเพลงใช้ร่วมกับภาพถ่าย ภาพวาด หรือวัสดุของจริง การใช้แผ่นวีดิทัศน์ (video compact disc)ภาพเคลื่อนไหว(Animation) ที่เป็นทั้งภาพการ์ตูนและภาพจริง ประกอบด้วย ข้อความ(text) ภาพนิ่ง(Image) เสียง (Sound) นำเสนอเรื่องราวเนื้อหา สื่อบางเรื่องจะมีคำถามและเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้กับเด็กได้รับรู้ทันทีหรือเป็นภาพปริศนาให้เด็กได้คิดและตอบคำถาม เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างเด็กกับสื่อ เด็กกับเพื่อนและเด็กกับครูเพื่อให้เกิดผลสูงสุดในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้เด็กอยากเรียน เรียนรู้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เด็กสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆตามลักษณะของวัตถุสิ่งของ หรือภาพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันกระตุ้นให้ระลึกถึงประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมเชื่อมโยงให้เกิดความรู้ใหม่นำเสนอความรู้ใหม่จากง่ายไปหายยากโดยใช้สื่อต่างๆที่เหมาะสมมาประกอบการจัดการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนที่เหมาะสม

จากหลักการสำคัญในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยดังกล่าวใน 4 องค์ประกอบ(4M) นั้น ผู้วิจัยได้กำหนดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยครอบคลุม 4 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 M ไว้ด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

 1. ขั้นเริ่มต้นเรียนรู้หมายถึง ขั้นกระตุ้นความสนใจเด็กให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสื่อประสมที่เป็นของจริง สิ่งจำลองและสื่อเสียง สื่อภาพเคลื่อนไหวจากวีดิทัศน์ที่เป็นทั้งภาพวาดการ์ตูน ภาพเหตุการณ์จริง กระตุ้นให้เด็กกระทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวและจังหวะ การดูสื่อวีดิทัศน์การฟังเสียง ในสถานการณ์เรื่องราวต่างๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้เด็กได้เรียนรู้จากการที่เด็กได้ร่วมใช้ภาษาพูดคุยแสดงความคิดเห็นต่อจากการนำเสนอสถานการณ์ของสื่อประสม มีการทบทวนประสบการณ์เดิม เกิดความสนใจอยากรู้ ขั้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและสติปัญญาให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสื่อและกล้าตอบคำถามต่างๆจากเรื่องราวที่สื่อกระตุ้น สร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุกสนาน เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะนำเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นต่อไป

 2. ขั้นปฏิบัติการ หมายถึง ขั้นที่เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ด้วยการลงมือดำเนินปฏิบัติกิจกรรมและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ได้แก่ การลงมือปฏิบัติการทดลอง การปฏิบัติกิจกรรมจากสื่อ การสำรวจ การออกนอกสถานที่การดูหนังสือหรือภาพต่างๆจากสื่อ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น การฟังวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ การบันทึกสิ่งที่พบเห็นด้วยการเขียนภาพการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล เป็นต้น เป็นการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านจากผลงานการทำกิจกรรม เด็กและครูร่วมกันสรุปความรู้ความเข้าใจใหม่เพื่อขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะด้านการจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการสรุป3. ขั้นนำเสนอผลงาน หมายถึง ขั้นตอนของการขยายผลของกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการแสดงผลงานพร้อมกับการแสดงความคิดเห็นเป็นการสะท้อนกลับสิ่งที่เด็กค้นพบจากการสืบค้นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองรวมถึงการทางานร่วมกันของเด็กในขั้นนี้เด็กได้ร่วมกันจัดแสดงผลงานที่ทำเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นเป็นการทบทวนการเรียนรู้และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับในแต่ละครั้ง ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการขยายผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนสิ่งที่เด็กเรียนรู้กับผู้อื่น เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มส่งเสริมให้กล้าแสดงออก

 กระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 3 ขั้นตอน มีการใช้สื่อประสม (Multimedia: M4) ที่เป็นทั้งสื่อเสียง สื่อภาพ วัตถุของจริง ของจำลอง และ สื่อภาพเคลื่อนไหวที่ผลิตเป็นภาพการ์ตูน ภาพเหตุการณ์จริงประสมกับสื่อเสียงเป็นสื่อวิดีทัศน์นำเสนอเรื่องราวเนื้อหาและคำถา และเฉลยคำตอบที่ถูกตองให้ เด็กได้รับรู้ทันทีเด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องที่สนใจจากการพูดคุย การทดลอง การค้นคว้า การสำรวจและการนำเสนองานร่วมกัน โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลในด้านการจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับและการสรุป เป็นการนำเสนอในลักษณะของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อประสมที่สร้างขึ้นประกอบการจัดการเรียนรู้

 โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลในด้านการจำแนก เปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการสรุปอ้างอิง ซึ่งนำเสนอในลักษณะของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อประสมที่สร้างขึ้นใหม่ประกอบการจัดการเรียนรู้

 จากการนำแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรวมถึงรูปแบบการสอนข้างต้น มาวิเคราะห์และบูรณาการเป็นที่มาของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย ได้เป็น 4 องค์ประกอบ

สรุปความคิดรวมยอด

การจัดการเรียนรู้แบบ 4 m เป็นการจัดการเรียนรู้ที่จะเน้นการใช้ความคิดมากกว่าการลงมือปฏิบัติเพราะ 4M มาจาก 1. การกระตุนความสนใจ(Motivation M1) 2.การลงมือทำด้วยตนเอง (Manipulation M2) 3. การขยายผลกิจกรรมการเรียนรู (Multiplication of learning activities M3) 4. การใช้สื่อประสม (Multimedia M4) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลในด้านการจำแนก เปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการสรุปและยังนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาต่างๆในการเรียนได้อีกด้วย

อ้างอิง

  ทัศนีย์ แอน นิลดับแก้ว (2008).ความหมาย. “รูปแบบการเรียนรู้แบบ 4M”.จากเว็บไซต์https://www.gotoknow.org/posts/205047#0.สื่บค้นเมื่อ26/11/2561

นิฤมล สุวรรณศรี (2556).งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย”.จากเว็บไซต์ https://tcithaijo.org/index.php/JSSRA/article/download.สืบค้นเมื่อ 26/11/2561

นิฤมล สุวรรณศรี (2556).แนวคิดและทฤษฏี “การจัดการเรียนรู้แบบ 4M เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย”.จากเว็บไซต์ https://www.doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/281902/    .สื่บค้นเมื่อ26/11/2561

หมายเลขบันทึก: 658593เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2018 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2018 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท