โรคอ้วนในเด็ก


บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมา

โรคอ้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ นอกจากนี้ยังพบว่าโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับความดัน

เลือดสูงเส้นเลือดหัวใจขาดเลือดและยังพบว่ามีปัญหาทางสังคมและจิตใจมากกว่าผู้ที่ไม่อ้วน ผู้ใหญ่ที่อ้วนนั้นมักจะเป็นเด็กที่อ้วนมาก่อนจากการติดตามศึกษาในระยะยาวพบว่าเด็กอ้วนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่อ้วนโดยพบว่ากว่าร้อยละ 20 ของเด็กก่อนวัยเรียน (0-3 ปี) ที่อ้วนจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนในขณะที่กว่า

ร้อยละ 50 ของเด็กวัยเรียนที่อ้วนและร้อยละ 80 ของวัยรุ่นที่อ้วนจะกลายเป็นโรคอ้วนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนที่ตามมาจากการเป็นโรคอ้วนในเด็กคล้ายกับที่เกิดในผู้ใหญ่อ้วนด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไขมันในเลือดสูงเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันเลือดสูงโรคระบบทางเดินหายใจและปัญหาทางจิตใจในประเทศไทยเองก็มีการศึกษาที่พบว่าอุบัติการณ์ของโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นไม่แต่เฉพาะในเขตเมืองเท่านั้นในชนบทก็พบว่ามีเพิ่มขึ้นด้วยจากการศึกษาโดยกรมอนามัยเกี่ยวกับสถานการณ์ภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครโดยศึกษาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 3 ปี (2535- 2537) พบว่าเด็กนักเรียนจำนวน 2,885 คน มีภาวะโภชนาการเกินเพิ่มขึ้นหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนมีอัตราการเพิ่มสูงสุด ดังนั้นการมีภาวะโภชนาการเกินเป็นภาวะที่ร่างกายเก็บสะสมอาหารที่เหลือจากการนำไปใช้ประโยชน์ในแต่ละวันอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการแสดงซึ่งโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคนิ่วใน ถุงน้ำดี และโรคเบาหวาน (กองโภชนาการ, 2532) ในปัจจุบันพบว่า

โรคเหล่านี้ ต้องใช้ยารักษาเพื่อควบคุมอาการตลอดชีวิต การรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอจำเป็นต้องรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย นอกจากนี้จากการสำรวจของกรมอนามัย ปีพ.ศ. 2544, 2545 และ 2546 พบว่าเด็กอนุบาลถึงเด็กประถมมีภาวะโภชนาการเกินร้อยละ 12.3, 12.8 และ 13.4 ตามลำดับและจากสรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ปี 2552 ของสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค รายงานผลการศึกษาของสำนักระบาดวิทยาระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2552 จากนักเรียนทั้งหมด 234,483 คน จาก 24 จังหวัด ทั่วประเทศ พบว่า อายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16 – 17 ปี นักเรียนชายและ

หญิงมีดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ยใกล้เคียงกัน ระหว่าง 18.8 - 18.9 เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มระหว่างปี

พ.ศ.2548 –2552 มีภาวะน้ำหนักเกินค่อนข้างคงที่ โดยนักเรียนมีภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 5.3, 6.2, 6.0, 6.7, และ 6.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามภาวะอ้วนมีแนวโน้มสูงขึ้นนักเรียนชายมีภาวะอ้วน ร้อยละ 5.9 นักเรียนหญิงร้อยละ 1.9 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่าสัดส่วนนักเรียนอ้วนในภาคกลางสูงสุด ร้อยละ 3.2 รองลงมาคือภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนน้อยสุด ร้อยละ 1.2 แต่มีแนวโน้มนักเรียนอ้วนสูงขึ้นทุกภาค สำหรับภาคเหนือตอนบนนั้นมีจังหวัดที่ได้รับการสุ่มคัดเลือก 3 จังหวัด พบว่า

ร้อยละของภาวะอ้วนในเด็กนักเรียนของจังหวัดลำพูนและแพร่ อยู่ระหว่าง 1.61 – 2.30 และร้อยละของภาวะอ้วนในเด็กนักเรียนในจังหวัดเชียงราย อยู่ระหว่าง 0.90 – 41.60 ภาวะอ้วนในนักเรียนทั้งหมด ปี พ.ศ. 2548 – 2552นอกจากนี้ผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชนไทยพบว่ามีแนวโน้มภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนมากขึ้น พฤติกรรมการบริโภค วิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสมชี้ว่าแนวโน้มปัญหาสุขภาพและโรคไม่ติดต่อในกลุ่มนักเรียนจะเร็วขึ้น (อรัฐา รังผึ้ง, 2553)

สถานการณ์ปัจจุบัน

  นวัตกรรมการสื่อสารในประเทศไทยนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินในปัจจุบัน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ทางด้านสุขภาพ สื่ออิเล็กโทรนิกส์ และสื่อที่เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หอกระจายข่าว เสียงตามสายในโรงเรียน เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า สื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มประชาชนได้มากที่สุด คือ สื่อโทรทัศน์ สำหรับสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนที่รักการอ่าน ส่วนใหญ่จะผลิตเป็นหนังสือเล่มเล็ก หรือหนังสือการ์ตูน สำหรับเรื่องการป้องกันควบคุมภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วนสำหรับเด็กยังมีไม่มากนัก ซึ่งเนื้อหาจะเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนวิธีการกิน การควบคุมอาหาร การตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนักอย่างแน่วแน่ การรับประทานอาหารเฉพาะในมื้ออาหารวันละ 3 มื้อ เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ รับประมานผักผลไม้ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้จานเล็กๆ หลีกเลี่ยงการเติมอาหารครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยการใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหารประจำวัน แบบบันทึกการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ การกำหนดรายการอาหารประจำวัน พร้อมทั้งกำหนดจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายจะได้รับจากการกินอาหารในแต่ละมื้อ การกำหนดจำนวนแคลอรี่ในธงโภชนาการสำหรับการแลกเปลี่ยนชนิดของอาหาร(http://hpe4.anamai.moph.go.th) ทั้งนี้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพสู่ประชาชน (รสส.)ได้ให้การสนับสนุนระบบกลไกสนับสนุนการสื่อสารสุขภาพ ได้แก่การวิจัยการรับรู้และการเข้าถึงสื่อสาธารณสุขในประเทศไทยการวิจัยการศึกษาการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตการวิจัยการศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสุขภาพนอกจากนี้ยังได้มีการศึกษานวัตกรรมสื่อสารสุขภาพที่เหมาะสมกับชุมชนท้องถิ่นซึ่งพบว่า การสื่อสารสุขภาพในชุมชนแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกันดังนั้นคนในพื้นที่น่าจะเป็นผู้ดำเนินการเองจึงจะสื่อสารได้ตรงกับสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมายนอกจากนี้แนวโน้มนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในโลกการสื่อสารแห่งอนาคตในยุคที่ผู้บริโภคพร้อมจะก้าวไปกับการใช้สื่อแบบผสมผสานร่วมไปกับการสัมผัสประสบการณ์ใหม่ในชีวิต การใช้สื่อสร้างภาพเสมือนจริงสามมิติ (3D Visualization)ที่ก่อให้เกิดการเข้าถึงสื่อที่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน(http://www.ksmecare.com/Article/65/26597/10-แทรนด์นวัตกรรมการสื่อสาร, 2555) จึงเป็นนวัตกรรมการสื่อสารที่จะช่วยให้เด็กได้เกิดความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนต่อไป


คำสำคัญ (Tags): #โรคอ้วนในเด็ก
หมายเลขบันทึก: 658586เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2018 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2018 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท