คำศัพท์และความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาที่ควรทราบ


Process (กระบวนการ):  กิจกรรม (activity) หรือชุดของกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน ที่ทำการเปลี่ยนปัจจัยนำเข้า (input) ให้เป็นผลผลิต (output) ที่มีมูลค่าเพิ่ม (value-added)

Mechanism (กลไก):  ส่วนย่อย (parts) ของระบบที่มีองค์ประกอบจำนวนหนึ่งทำหน้าที่ร่วมกัน องค์ประกอบเหล่านี้ หมายรวมถึง ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรทางกายภาพ วิธีปฏิบัติ (operation method) และ/หรือระเบียบปฏิบัติ (procedures)

Strategy (กลยุทธ์): ความหมายเดียวกันกับ ยุทธศาสตร์ แนวทางหรือวิธีทำงานที่ดีที่สุด เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ภารกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ตัวอย่าง เช่น “จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบเครือข่ายที่สมบูรณ์และทันสมัย” หรือ“พัฒนาวิธีการลดต้นทุนการบริหารจัดการ”

Quality Control (การควบคุมคุณภาพ):  การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ เพื่อกำกับการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ได้ผลตามรายการตรวจสอบและตัวบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด

Strategic  Management (การบริหารเชิงกลยุทธ์):  ศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินการในสามกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน คือ การวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning) การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ (strategic implementation) และการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ (strategic control and evaluation)

Quality Assurance (การประกันคุณภาพการศึกษา):   การมีระบบและกลไกในการควบคุมตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตาม   รายการตรวจสอบ (audit checklist) และตัวบ่งชี้คุณภาพ (quality indicators) ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้มั่นใจว่าสถานศึกษาแห่งนั้นสามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

Internal Quality Assurance (การประกันคุณภาพภายใน):  การติดตามตรวจสอบและการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

External Quality Assuranceก (ารประกันคุณภาพภายนอก):  การติดตามตรวจสอบและการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่ สมศ. รับรองเพื่อเป็น   การประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

Strategic Planning (การวางแผนเชิงกลยุทธ์):  การวางแผนที่ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และการกำหนดกลยุทธ์ การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ         วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์

SWOT Analysis (การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค):  การวิเคราะห์เพื่อค้นหาจุดแข็ง (strength) และจุดอ่อน (weakness) ซึ่งเป็นสภาพภายในขององค์กร และวิเคราะห์โอกาส (opportunities) และอุปสรรค (threat) ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม     ภายนอกองค์กร ซึ่งรวมถึงปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

ที่มา www.med.cmu.ac.th/secret/meded/.../cmu%20qa%20manual_49_QA-Glossary.doc

หมายเลขบันทึก: 658514เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2018 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2018 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท