ตัวอย่างการออกแบบสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จาก addie model


ตัวอย่างการออกแบบสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จาก addie model

  1. การวิเคราะห์ ( Analysis)- เนื่องจากการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์ของหลักสูตร  เรื่อง บทประยุกต์ เนื้อหาค่อนข้างซับซ้อน เรียนแล้วเกิดความสับสน ไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหา ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และไม่สนใจการสอนของครูในการเรียนปกติ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำ- .ต้องแบ่งเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ - ในการสอนก็วางแผนในการสอนโดยจะเริ่มจากตัวเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่สุดก่อนแล้วค่อยเจาะลึกในเนื้อหาต้องให้เด็กเข้าใจบทเรียนตามลำดับความยากง่าย
  2. การออกแบบ ( Design) 2.1 การศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ - ในเนื้อหาที่จะสอนจะเริ่มจากสอนให้เด็กเข้าใจเรื่องบทประยุกต์ พร้อมยกตัวอย่าง 2.2 การออกแบบการเรียนการสอน - วางแผนการสอนเริ่มตั้งแต่เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานไปจนครบบท - ในการสอนทุกภาพทุกเนื้อหาต้องยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น - ในคาบเรียน ครูให้นักเรียนดูบัตรปริศนาคำทาย จากนั้นช่วยกันตอบปริศนาคำทาย แล้วครูเฉลยคำตอบให้นักเรียนฟัง ครูถามนักเรียนว่า เพราะเหตุใด นักเรียนจึงสามารถตอบปริศนาคำทายได้ถูกต้อง โดยให้พิจารณาคำจากบัตรปริศนาคำทาย จากนั้นจึงอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การเล่นปริศนาคำทายจะต้องอาศัยการสังเกต และการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบปริศนาคำทายได้ถูกต้อง

  3. การพัฒนา (Developent)
    • ในเนื้อหาที่จะสอนต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้หากเด็กไม่เข้าใจ
    • มีการทบทวนการสอนในแต่ละวันเสมอว่าเด็กได้รับมากน้อยเพียงใด
    • ความเข้าใจของเด็กแต่ละคนว่ามีมากน้อยเพียงใดแล้วลองปรับหรือพัฒนารูปแบบการสอนตามความเหมาะสม
    • กิจกรรมควรให้เด็กมีส่วนร่วม เพราะจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้มากและสามารถประเมินความเข้าใจของเด็กได้อีกด้วย
  4. การนำไปใช้ (Impelment) 4.1 การปฏิบัติภาคสนาม - จากการวางแผนและรูปแบบการสอนต้องทำให้ผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ได้ 4.2 การเผยแพร่ระบบ - หากรูปแบบการสอนนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้มาก ระบบนี้ก็จะสามารถใช้ในสถานศึกษาได้ยาวนานและอาจถูกพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นไปกว่านี้ได้
  5. การประเมิน ( Evaluation)
    • มีแบบทดสอบให้ผู้เรียนทำทั้งก่อนและหลังเพื่อวัดความเข้าใจในการเรียนรู้
    • รูปแบบการสอนหากใช้แล้วผู้เรียนมีพัฒนาการได้น้อยก็ควรนำรูปแบบมาปรับปรุงหรือจัดรูปแบบขึ้นมาใหม่ต้องคำนึงตลอดเวลาว่าผู้เรียนเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าไม่ควรนำรูปแบบนั้นมาปรับปรุงให้เร็วที่สุด
    • หากรูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้มาก ระบบนี้ก็จะสามารถใช้ในสถานศึกษาได้ยาวนานและอาจถูกพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นไปกว่านี้ก็ได้**สมุดเล่มนี้สร้างขึ้นเพื่อประกอบการศึกษาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน
หมายเลขบันทึก: 658432เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2018 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2018 04:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท