สื่อธรรมชาติกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์


                  เมื่อกล่าวถึงอุปกรณ์การสอน ส่วนมากมักจะนึกถึงสิ่งที่ต้องสร้างขึ้น หรือต้องจัดทำขึ้น  แท้จริงแล้วบางอย่างมีอยู่ในธรรมชาตินั่นเอง  เช่น ต้นไม้  ใบหญ้า  สัตว์  เศษวัสดุ  สิ่งของต่าง ๆ ฯลฯ  เพียงแต่ว่าต้องเป็นผู้ที่รู้จักคิดและดัดแปลงให้เข้ากับบทเรียน ก็จะเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่างมาก
                  ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จากสื่อธรรมชาติที่มีอยู่ใกล้ตัวเรา สิ่งสำคัญอีกประการก็คือ เทคนิคการตั้งคำถามที่ก่อให้เกิดความคิดคือการใช้คำถามที่กระตุ้นความคิดของผู้เรียน เช่น
                  1.  สิ่งที่กำหนดให้  สามารถให้ประโยชน์อะไร  อย่างอื่นอีก
                  2.  สิ่งที่กำหนดให้  สามารถใช้ประโยชน์ แทนอะไรหรือเหมือนกับอะไรได้อีก
                  3.  สิ่งที่กำหนดให้  สามารถดัดแปลงได้อย่างไร  หรือดัดแปลงเพื่อใช้         ประโยชน์ได้ใหม่อย่างไร
                  4.  สิ่งที่กำหนดให้  อาจจะให้จัดใหม่  ให้เป็นอย่างไร
                                                  ฯลฯ
                  ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวเด็กทุกคน และสามารถส่งเสริมให้พัฒนาได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมค่ะ

หมายเลขบันทึก: 65819เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เห็นด้วยกับคุณครูชวนพิศ  ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าคุณครูจะให้เวลาการส่งเสริมเด็กในเรื่องนี้มากแค่ไหน
        ขอบคุณค่ะ จากประสบการณ์ส่วนมากแล้วสามารถสอดแทรกได้ทุกเวลา และทุกบทเรียนบางครั้งก็ใช้แทรกเพื่อเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน หรือหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนก็ได้ เพียงแต่ให้คุณครูมีอารมณ์ขันมีลูกเล่นลูกฮา และสนุกสนานร่วมกับผู้เรียนสักนิด เช่น คุณครูเห็นใบไม้ ก้อนหิน ฯลฯ ที่มีลักษณะแปลก ๆ ก็เก็บมาให้นักเรียนดู พร้อมกับตั้งคำให้เกิดการคิด สักวันละข้อ  ก็จะได้คำตอบอย่างที่ไม่คาดคิดว่าเด็กเล็กๆ ก็มีเหตุผลเหมือนกันค่ะ

คุณครูชวนพิศคะ

        ดิฉันเป็นผู้ที่สนใจการพัฒนาความคิดให้กับ       ผู้เรียน  และเคยไปเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์  นานมาแล้วค่ะ  แต่ยังพอจำถึงการใช้คำถามเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด  ที่คิดโดยกระทรวงศึกษาธิการ  รัฐวิคตอเรีย  ประเทศออสเตรเลีย  ซึ่งมีคำถามอยู่ 7 ประเภทคือ

        1. คำถามปริมาณ  เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดถึงปริมาณของคน สัตว์ และสิ่งของที่ปรากฏในบทเรียนนั้น ๆ

        2. คำถามการเปลี่ยนแปลง  เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น  หากข้อมูลหรือข้อเท็จจริงในบทเรียนมีการเปลี่ยนแปลง

        3. คำถามการทำนาย  เป็นการตั้งคำถามที่มีการสมมุติว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้  แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง  เพื่อให้นักเรียนได้คิดและทำนายในสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น  และเป็นไปได้

        4. คำถามความคิดเห็น  เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดและแสดงความคิดเห็นโดยอาศัย่ข้อมูล  ความจริงที่มีหลักการและเหตุผล

        5. คำถามเกี่ยวกับส่วนตัว  เป็นคำถามความรู้สึกส่วนตัวของผู้เรียน  ถ้าผู้เรียนเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของบทเรียนนั้น  นักเรียนจะรู้สึกอย่างไร

       6. คำถามความสัมพันธ์เปรียบเทียบ  เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดเปรียบเทียบระหว่างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในบทเรียน

        7. คำถามเกี่ยวกับค่านิยม  เป็นการตั้งถามถามเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล  คิดในทางที่ถูกต้อง  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  และสามารถตัดสินใจ วิเคราะห์  วิจารณ์ได้ว่า  ค่านิยมใดดี  หรือไม่ดี  ค่านิยมใดควรปฏิบัติตามหรือไม่ควรปฏิบัติตาม

       ไม่ทราบว่าเอามะพร้าวมาขายสวนหรือไม่  

       โอกาสหน้าคงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการคิดกันอีก  และที่อยากเห็นมากก็คือประสบการณ์การพัฒนาการคิดของคุณครูชวนพิศ

ศรีนวล มีศรีสวัสดิ์

ความคิดและมุมมองของอาจารย์น่าสนใจนะคะ สื่อที่ดีที่สุดก็คือสิ่งที่ผู้เรียนคุ้นเคยและมีประสบการณ์พบเจอนั่นแหละคะ เพราะผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานกับสิ่งที่เรานำมาเป็นสื่ออยู่แล้ว โดยเฉพาะสื่อธรรมชาติ ที่อาจารย์นำเสนอ แต่เราควรหาแนวทางเอาสื่อที่หลากหลายมาสอนเด็ก เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะมีความรู้ในวงจำกัด คือ เด็กเมืองก็เข้าใจสังคมแบบเมือง เด็กต่างจังหวัดก็คุ้นเคยกับธรรมชาติ หน้าที่เราจึงควรจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้สื่อทั้งสองแบบ เพื่อเปิดโลกทัศน์ที่ดีแก่นักเรียนของเรา ต้องขอบคุณที่อาจารย์นำสิ่งดีๆสู่ห้องเรียนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท