การส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย


ความเป็นมา

      “เด็ก คือ อนาคตของชาติ” หรือ “เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า” เป็นคำพูดที่คนทั่วไปมักจะใช้อยู่เป็นประจำ สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตของประเทศจะพัฒนาไปในทิศทางใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ เพราะเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวที่รอให้ผู้ใหญ่มาแต่งแต้ม ประกอบกับการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

          สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย (Health and Safety for Early Childhood   Children) มีความสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ครูและผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพอนามัย รวมถึงเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก เพื่อขจัดเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและพัฒนาเด็กตั้งแต่ต้น เพราะเด็กปฐมวัย หรือช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบบริบูรณ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตช่วงหนึ่งของเด็ก เนื่องจากในระยะนี้ เด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเด็กมิได้มีพัฒนาการที่เด่นชัดทางด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาที่สูงขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยในชีวิตประจำวันที่อาจขัดขวางพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก

          ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่า เด็กกว่า 200 ล้านคนไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มสมรรถภาพ อันเนื่องมา จากความต้องการของเด็กเหล่านี้ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก อันจะเป็นรากฐานไปสู่การมีชีวิตที่มั่นคง และห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงอันตรายรูปแบบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้

          อาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง “ทั้งชีวิตของเด็ก” ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัย ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวนอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้านอีกด้วย

          สร้างเสริมเด็กในเด็กเล็กจึงได้บูรนาการงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้ได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดถึงได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมเพราะการดูแลเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต        สร้างเสริมให้เด็กเล็กจึงได้บูรณาการงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้ได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดถึงได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมสามารถอยู่ร่วมกันได้ (ปัณณ์พัฒน์ จันทร์สว่าง, 2561)

สถานการณ์ปัจจุบัน

          ประธานกรรมการบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญ #EatPlayLove กินให้เป็น เล่นให้สุด ไม่หยุดรัก เชิญชวนผู้ใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยอย่างถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจาก อานันท์ ปันยารชุน ทูตสันถวไมตรี องค์การยูนิเซฟ จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสมองของเด็กในช่วงปฐมวัย วิธีการเลี้ยงลูกและการกระตุ้นพัฒนาการง่าย ๆ โดยเน้นปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ได้แก่ โภชนาการที่ดี การเล่นและความรักความอบอุ่นจากครอบครัว ซึ่งเป็น 3 ปัจจัยหลักที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาเต็มศักยภาพ และวางรากฐานสำคัญสำหรับอนาคตต่อไป (ไทยรัฐ, 2561)

          การเล่นสามารถช่วยให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ทั้งแขนและขา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาร่างกายให้เคลื่อนไหว ทรงตัว ให้แขนขาทำงานสัมพันธ์กัน เป็นเสมือนประตูบานแรกที่นำไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้อื่น ๆ ที่สนุกและช่วยเสริมให้สมองทำงานได้ดีขึ้น นอกจากการเล่นจะเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสายใยรักภายในครอบครัว และสามารถพัฒนาทักษะทางสังคมได้อีกด้วย (ไทยรัฐ, 2561)

          การประชุมคณะกรรมการกองทุน สสส. ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Physical Activity Promotion Plan) โดยตั้งเป้าหมายให้คนไทยมีกิจกรรมการทางกายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ในปี 2563 จากปัจจุบันในปี 2557 คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงร้อยละ 67.6 และตั้งเป้าลดอัตราการชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลงร้อยละ 10 สำหรับการทำงานในปี 2558 เน้นการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย การเพิ่มพื้นที่สุขภาวะในโรงเรียน สถานประกอบการ ชุมชน สาธารณะ ทางสัญจร และลดเวลาของพฤติกรรมเนือยนิ่งจากการนั่ง การอยู่หน้าจอ และการเดินทาง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 6 - 14 ปี ซึ่งปัจจุบันถูกคุกคามจากภาวะอ้วนลงพุง และยังมีกิจกรรมทางกายลดลงต่อเนื่อง ขณะที่มีเด็กถึงร้อยละ 41 ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง คือ ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์ถึง 6 ชั่วโมงต่อวันนอกจากนั้นมีพฤติกรรมเนือยนิ่งอื่น ๆ อาทิ นั่งเรียนทั้งในเวลาและเรียนเสริมนอกเวลา เล่นเกมส์ เล่นโทรศัพท์มือถือ รวม 13.5 ชั่วโมงต่อวัน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ, 2558)

บรรณานุกรม

ข่าวไทยรัฐ/(2561)./ กลุ่มเซนทรัลรวมพลัง ยูนิเซฟ พัฒนาเด็กปฐมวัยถูกวิธี/[เว็บบล็อก]./สืบค้น

     จาก www.Tharath.co.th

ข่าวไทยรัฐ/(2559)./ ยูนิเซฟชวนคุณพ่อคุณแม่ เสริมพัฒนาการเด็กด้วยการเล่นและออกกำลังกาย/

[เว็บบล็อก]./สืบค้นจาก www.Tharath.co.th

     ข่าวปฐมวัย/(2561)./ ผลึกพลังพัฒนาเด็กปฐมวัยชูความเป็นเลิศก้าวกระโดด./[เว็บบล็อก]./สืบค้น

          จาก www.ryt9.com

     ศาสตราจารย์ ดร. พิทยากรณ์ มานะจุติ.(2561).สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย.สืบค้น

          จาก www.Taamkru.com

     การสร้างเสริมสุขภาพ/.(2561)./ [เว็บบล็อก]./สืบค้นจาก www.mwthhealthy.weebly.com

     SCIENCE./(2561)./ พัฒนาเด็กไทยสู่ความสำเร็จในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยทักษะการคิดแบบ EF./

[เว็บบล็อก]./สืบค้นจาก www.scienceillastraetdthailand.com

     HISO สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ./(2535)./ รายงานสุขภาพ./[เว็บบล็อก]./สืบค้น

จาก www.hiso.or.th

     สสส สำนักงานกลองทุนสนับสนุน./(2558)./ห่วงสุภาพเด็กไทยเคลื่อนไหวร่างกายน้อย./[เว็บบล็อก]./                     สืบค้นจาก www.thahealth.or.th

     สปสช. สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ./(2561)./ประโยชน์และระบบประกันสุขภาพ./[เว็บบล็อก]./

          สืบค้นจาก www.nsho.go.th

หมายเลขบันทึก: 658164เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2018 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2018 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท