คำกริยาราชาศัพท์


                     สวัสดีค่ะ  วันนี้ครูสรจะสอนเรื่องคำกริยาราชาศัพท์ค่ะ   ทุกคนคงรู้จักคำกริยาในภาษาไทยกันแล้วนะค่ะ   คำกริยาเป็นคำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม ในรูปแบบต่าง ๆ  กัน   ส่วนคำกริยาราชาศัพท์ก็มีความหมายเช่นเดียวกันกับคำกริยา  แต่เป็นคำที่แสดงอาการของคำที่เป็นราชาศัพท์นั่นเอง  ซึ่งหลายคนเคยประสบปัญหาในการเขียนคำกริยาราชาศัพท์กันมาแล้ว   และกังวลว่าคำกริยาราชาศัพท์ที่ถูกต้องควรจะเขียนอย่างไร  จะต้องมีคำขึ้นต้น หรือคำลงท้าย อย่างไร  หรือไม่ต้องมีคำใด ๆ เลย   แต่เลือกใช้ไม่ถูกต้อง   เพราะถ้าเขียนผิดไปก็ไม่เหมาะสมใช่ไหมค่ะ

                  ครูสรให้ข้อสังเกตว่า  คำกริยาราชาศัพท์เป็นได้ทั้งคำที่กำหนดเป็นคำกริยาราชาศัพท์ที่กำหนดเป็นการเฉพาะไว้แล้วหรือเป็นคำที่มีคำว่า “ทรง” นำหน้าคำกริยาทั่วไป  เช่น ทรงยืน   หรือ ใช้ “ทรง”  นำหน้าคำนามทั่วไป   เช่น ทรงกราบ  ทรงดนตรี   ทรงเจิม    ส่วนคำนามที่เป็นคำราชาศัพท์   เมื่อนำ  “ทรง”  นำหน้า   คำนั้นจะเป็นคำกริยาราชาศัพท์ทันที  เช่น ทรงพระสรวล  ทรงพระกรรแสง  แต่ข้อควรระวังก็มีค่ะ  เราจะไม่นำ “ทรง” มาใช้นำหน้าคำที่เป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้ว   แต่สามารถนำมาใช้ได้กรณีมีคำว่า “พระ” มาเชื่อมต่อ  เช่น ทรงพระประชวร  ทรงพระราชนิพนธ์   เป็นต้น   มาดูตัวอย่างคำกริยาราชาศัพท์คำอื่น ๆ ตามนี้เลยค่ะ

คำกริยาราชาศัพท์
รับประทาน                   ใช้ว่า                 เสวย
นั่ง                                ใช้ว่า                 ประทับ
ยืน                                ใช้ว่า                 ทรงยืน
เดิน หรือ  ไป                 ใช้ว่า                 เสด็จ
เดินทางไกล                   ใช้ว่า                 เสด็จพระราชดำเนิน
ไปเที่ยว                         ใช้ว่า                 เสด็จประพาส
พูด                               ใช้ว่า                 ตรัส
หัวเราะ                         ใช้ว่า                 ทรงพระสรวล
ร้องไห้                          ใช้ว่า                 ทรงพระกรรแสง
โกรธ                            ใช้ว่า                 กริ้ว , ทรงพระพิโรธ
ชอบ                             ใช้ว่า                 โปรด
คิด                                ใช้ว่า                 พระราชดำริ
ดู                                  ใช้ว่า                 ทอดพระเนตร
ถาม                              ใช้ว่า                 พระราชปุจฉา
ให้                                ใช้ว่า                 พระราชทาน
ให้                                ใช้ว่า                 ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย (สิ่งของขนาดเล็ก), น้อมเกล้าน้อม     

                                                                    กระหม่อมถวาย  (สิ่งของขนาดใหญ่) บุคคลทั่วไปใช้กับ

                                                                    พระมหากษัตริย์
ทักทาย                          ใช้ว่า                 มีพระราชปฏิสันถาร
ไหว้                              ใช้ว่า                 ถวายบังคม
ลา                                ใช้ว่า                 ถวายบังคมลา
ป่วย                              ใช้ว่า                 ประชวร 
นอน                             ใช้ว่า                 บรรทม 
ฝัน                               ใช้ว่า                 สุบิน หรือทรงพระสุบิน
ตั้งครรภ์                        ใช้ว่า                 ทรงพระครรภ์
อาบน้ำ                          ใช้ว่า                 สรงน้ำ
ล้างมือ                          ใช้ว่า                 ชำระพระหัตถ์
ล้างหน้า                        ใช้ว่า                 ชำระพระพักตร์
แต่งตัว                          ใช้ว่า                 ทรงเครื่อง
สบาย                            ใช้ว่า                 ทรงพระเกษมสำราญ
เล่นกีฬา                        ใช้ว่า                 ทรงกีฬา
ขี่ม้า                              ใช้ว่า                 ทรงม้า
ขี่ช้าง                             ใช้ว่า                 ทรงช้าง
นั่งเรือ                           ใช้ว่า                 ทรงเรือ
นั่งเครื่องบิน                  ใช้ว่า                 ประทับเครื่องบิน
เล่นดนตรี                      ใช้ว่า                 ทรงดนตรี
ถือศีล  รับศีล                 ใช้ว่า                 ทรงศีล
ใส่บาตร                        ใช้ว่า                 ทรงบาตร
ฟังธรรม                        ใช้ว่า                 ทรงธรรม
กราบ                            ใช้ว่า                 ทรงกราบ
เจิม                               ใช้ว่า                 ทรงเจิม
ประพรมน้ำพระพุทธมนต์  ใช้ว่า              ทรงพระสุหร่าย
ถ่ายปัสสาวะ                  ใช้ว่า                 ลงพระบังคนเบา
ถ่ายอุจจาระ                   ใช้ว่า                 ลงพระบังคนหนัก
เสียชีวิต                         ใช้ว่า                 สิ้นพระชนม์   สวรรคต  ทิวงคต  สิ้นชีพตักษัย
                                                            (ใช้ตามฐานันดรศักดิ์)
เขียน-อ่านหนังสือ          ใช้ว่า                 ทรงพระอักษร
กล่าวรายงาน                  ใช้ว่า                 กราบบังคมทูลถวายรายงาน
ขอบใจ                          ใช้ว่า                 ขอบพระทัย
สนใจ                            ใช้ว่า                 สนพระทัย
ยิ้ม                                ใช้ว่า                 แย้มพระโอษฐ์
เอาใจใส่                        ใช้ว่า                 เอาพระทัยใส่
ลงชื่อ                            ใช้ว่า                 ลงพระปรมาภิไธย



หมายเลขบันทึก: 657851เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2018 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2018 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท