จับทุจริตให้ถูกจุด


จุดที่ต้องสอบสวนจริงจังคือผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองในขณะนี้ การเตะถ่วงเรื่องนาฬิกาหรู สร้างความไม่น่าเชื่อถือให้แก่กลไกป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่น

ช่วงเดือนพฤศจิกายน ก่อนเส้นตาย ๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ มีข่าวร้อนเรื่อง ปปช. ออก  ประกาศ ปปช. เรื่องกำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา ๑๐๒  พ.ศ. ๒๕๖๑  ()   ที่กำหนดให้นายกสภา และกรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องแจ้งทรัพย์สินด้วย   โดยต้องแจ้ง ๓ ครั้ง   และหากแจ้งตกหล่นมีคนไปร้องและพบว่าเป็นความจริงมีสิทธิ์ติดคุก   

เพราะสมบัติไม่มาก  ผมไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไร   แต่พอมีคนบอกเล่าความซับซ้อนของพิธีกรรมแจ้งทรัพย์สิน  และโอกาสถูกศัตรูแทงข้างหลัง ก็เตรียมทางหนีทีไล่ว่า     หากไม่มีการแก้ไขปัญหาผมก็จะลาออก    โดยระบุเหตุผลว่า ไม่เห็นด้วยกับวิธีทำงานนี้ของ ปปช.

ทีนาฬิกาหรู ไม่ทำอะไร   ทั้งๆ ที่คนที่ถูกกล่าวหามีส่วนสร้างสังคมขี้โกงได้มาก 

บ่ายวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑  ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือ (แม้จะอายุน้อยกว่าผมมาก) เล่าการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจออกแบบก่อสร้าง   ที่เดิมค่าออกแบบงานราชการกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ ๑.๗๕ ของค่าก่อสร้าง    สมาคมสถาปนิกสยามเสนอให้แก้เป็นร้อยละ ๕ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซีย    เกิดการแข่งขัน และได้ผลงานคุณภาพสูง

แต่ผลออกมาตรงกันข้าม   เป็นการเชื้อเชิญทุจริตเข้าสู่วงการออกแบบก่อสร้าง  ร่วมมือกับข้าราชการของหน่วยราชการ    และคุณภาพผลงานกับแย่ลงไป    

เป็นทุจริตเชิงระบบ ร่วมมือกันหลายฝ่าย    ปปช. ได้กลิ่นไหม   

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ ปปช. ทำท่าทีขึงขัง    ทำงานปูพรม    แต่ปล่อยช่องว่างไว้ที่ผู้มีอำนาจ    ดังที่โดนกระทุ้งเรื่องนาฬิกาหรูก็ทำหูทวนลม    ทำให้ผู้คน (รวมทั้งผม) ไม่ศรัทธา    ท่านที่สนใจลองเข้าไปอ่านเว็บไซต์เกี่ยวกับอุทยานราชภักดิ์ () จะตาสว่าง    

ปปช. และกลไกทางกฎหมายหลายกลไก กำลังขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมไม่ไว้วางใจกัน หรือเปล่า ปปช. และ สตง. เคยเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ เล่นงานศัตรูทางการเมืองหรือเปล่า     ลองกลับไปค้นข่าวเรื่อง สปสช. จะตาสว่าง    นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่าที่ผมพอจะรู้นะครับ

ประเทศไทย ๔.๐ บรรลุไม่ได้   หากสังคมไทยเป็นสังคมของคนขี้โกง   และเป็นสังคมแห่งความไม่ไว้วางใจ   และกลไกตรวจสอบความถูกต้อง ทำไม่ถูกต้องเสียเอง

กล่าวใหม่ในเชิงบวกว่า เราจะบรรลุประเทศไทย ๔.๐ ได้   ต้องไม่ใช่แค่มีรายได้ (เฉลี่ย) สูง    ต้องเป็นสังคมที่มีความเท่าเทียมกันมากกว่านี้    มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากกว่านี้   และมีกลไกสร้างความโปร่งใสที่ได้ผลกว่านี้ 

ควรมีการตั้งโจทย์วิจัย  ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมสะอาด    

วิจารณ์ พานิช

๑๑ พ.ย. ๖๑ 

หมายเลขบันทึก: 657816เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2018 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2018 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thailand 4.0 is attacked from within, open-finance systems outside, open markets where Thailand operates and open ‘digitization’ that Thailand has lagged behind.

We need to turn our innovative thinking from easy ‘how to corrupt’ to harder ‘how to build the future’.

-สังคมใดที่ คนดีที่มีสถานะทางสังคมมีคุณวุฒิ วัยวุฒิ ขาดซึ่ง ความกล้าหาญและความเสียสละ..ย่อมไม่อาจหวังได้ว่าจะเกิดความสุขสันติขึ้นได้..-ผู้มีคุณธรรม ย่อมมีสติปัญญาพอที่จะไม่พูดว่า ทำดีทำไมให้เปลืองตัว..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท