จะใช้แบบเรียน หรือไม่ใช่แบบเรียน? นี่เป็นปัญหาทางไวยากรณ์


จริงๆแล้ว บ่อยครั้งที่ฉันอธิบายกับนักเรียนว่าวิธีการหนึ่งในการสอนภาษาคือไวยากรณ์และคำศัพท์: ซึ่งหมายถึง การใช้รู้กฎในการสร้างความหมาย และรู้ว่าคำนี้จะแสดงความหมายอย่างไร การรู้คำศัพท์มากมายจะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย หากไม่รู้จะนำคำเหล่านั้นมาสร้างความหมายได้อย่างไร ดังที่ Ellis ได้กล่าวว่า “ไวยากรณ์ยังคงมีความจำเป็น และจุดศูนย์กลางในการสอนภาษาอังกฤษ” แล้วเราจะสอนเรื่องนี้ในชั้นเรียนเราได้อย่างไรล่ะ?

การเรียนรู้ไวยากรณ์แบบนิรนัย กับ การเรียนรู้ไวยากรณ์แบบอุปนัย

วิธีการสอนไวยากรณ์ได้รับการถกเถียงสำหรับนักวิชาการมามากมาย Hird ได้เขียนว่าไวยากรณ์ควรสอนแบบนิรนัย (deductive) หรือ อุปนัย (inductive) มากกว่ากัน? งานของเขาเกี่ยวข้องกับการอภิปรายของเรา หากเราสำรวจถึงแบบเรียนที่ใช้หลักสูตรไวยากรณ์ที่เป็นแบบใดแบบหนึ่ง หรือจะใช้การสอนทั้งสองวิธีด้วยกัน การตอบคำถามนี้ เราจำเป็นต้องกล่าวถึงวิธีการสอนทั้งสองวิธีร่วมกัน

การเรียนรู้ไวยากรณ์แบบนิรนัยเป็นสิ่งที่เห็นชัดแล้วในสมัยนี้ ก็คือการเน้นที่โครงสร้าง และความถูกต้อง ในขณะที่การสอนแบบอุปนัยจะเน้นไปที่ตัวผู้เรียนมากกว่าในการที่ผู้เรียนจะสรุปกฎออกมาเอง ในฐานะครู เธออาจได้รับนโยบายจากผู้บริหาร หรือเราเองเป็นผู้เลือกว่าวิธีการใดจะเหมาะสมกับเรา และผู้เรียนมากกว่ากัน อย่างไรก็ตาม ต้องมีการระบุถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี เพื่อกำหนดงานที่ดีที่สุดในบริบทเฉพาะของเราเอง

วิธีการสอนไวยากรณ์แบบจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ?

ในขณะที่หนังสือแบบเรียนจำนวนมาก อาจรวมกิจกรรมที่ใช้วิธีการแบบนิรนัย และอุปนัยร่วมกัน แต่โดยส่วนใหญ่ในหนังสือแบบเรียนจะนำเสนอกฎ ให้ตัวอย่าง และนำเสนอกิจกรรม แน่นอนว่าใช้วิธีการแบบนิรนัย วิธีการแบบนิรนัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าจะเน้นไปที่โครงสร้างที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผู้เรียนที่กำลังเริ่มเรียน และใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับนักเรียนในการกลับมาทบทวนเรื่องโครงสร้างที่เรียนไปแล้วสิ่งนี้คือข้อได้เปรียบ แต่ปัญหาคือวิธีการนี้จะจำกัด ในประสบการณ์ของฉัน บางครั้งการนำเสนอกฎผ่านหนังสือเรียนจะไม่ประสบผลสำเร็จเสมอไป โครงสร้างบางอย่างก็ไม่มีในภาษาที่ 1 ของนักเรียน หากใช้วิธีการนี้ต่อไป ก็ไม่สมควรที่จะใช้แบบเรียน เว้นไว้ก็แต่ให้เวลานักเรียนในการสำรวจแบบเรียน แล้วค่อยเรียนกฎในภายหลัง และบางครั้งก็อาจเกิดความเข้าในผิด และสุดท้ายคือความสับสน สิ่งที่ฉันจะทำเมื่อเจอไวยากรณ์ที่ยากๆก็คือการใช้วิธีแบบอุปนัย และนำเสนอไวยากรณ์ในชีวิตจริง และบริบทที่จับต้องได้  ในแง่นี้ พวกเราได้ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบหลักการและนำไปสู่ชีวิตจริง ปัญหาที่ปรากฏก็คือ พวกเราไม่อาจเน้นไปที่วิธีการสอนแบบอุปนัย เพราะหนังสือแบบเรียนไม่ยกตัวอย่างเพียงพอให้เราได้ใช้ และข้อทดสอบเราจะเป็นแบบโครงสร้างและความถูกต้อง

การออกไปนอกแบบเรียน

มีความรู้เชิงไวยากรณ์จำนวนมากที่สามารถเรียนแบบอุปนัยได้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งความรู้ทางอินเตอร์เน็ทที่ครูสามารถแสดงไวยากรณ์ในเชิงกระทำได้เลย หากฉันจะสอนเรื่อง Present Continuous และแบบเรียนไม่ตรงตามที่ฉันจะย่อยให้นักเรียน ฉันอาจดูยูทูป เช่นสนามบินที่พลุกพล่าน โน้มน้าวนักเรียนในเรื่องการเดินทาง (สมมติว่าพวกเขาได้เดินทางจริงๆ) ต่อจากนั้นฉันอภิปรายถึงสิ่งที่ผู้คนได้ทำ  จากขั้นตอนนี้ เราจะดึงกฎไวยากรณ์เรื่อง Present Continuous และกลับมาที่แบบเรียนเพื่อทบทวนโครงสร้างของกาลเวลานี้ ดังนั้นแบบเรียนก็ไม่ถูกละทิ้ง แต่กระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบอุปนัย

คำตัดสินสุดท้าย: แบบเรียน และโครงสร้างของไวยากรณ์เป็นจุดสิ้นสุดหรือไม่? ครูควรจะไม่ใช้แบบเรียนไวยากรณ์หรือไม่? ครูควรทำตามแบบเรียนหรือทำตามตนเองดี? แต่ไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไปหรอก อันดับแรก หลักสูตรไวยากรณ์อาจถูกร่างโดยคณะกรรมการบริหาร ซึ่งเข้มงวดเกินไป ดังนั้นครูควรจะทำตามแบบเรียน ในขณะเดียวกันก็หาของใหม่มาเพิ่ม (supplement) หรือ ปรับปรุงเปลี่ยนแปร (adapt) เนื่อง หลังจากที่ครูพยายามเพิ่มความยืดหยุ่น ต่อจากนั้นจึงให้ครูมาประเมินว่าแบบเรียนตรงกับความต้องการนักเรียนหรือไม่ อย่างไร ในกรณีที่แบบเรียนไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียน และเสนอไวยากรณ์ที่ถ่ายทอดยาก ฉันจะนำเสนอไวยากรณ์แบบอุปนัยมาแทนที่เอง

แบบเรียนจะขาดความยืดหยุ่นและเตรียมมาเป็นอย่างดี แต่ภาษาไม่เป็นแบบนั้น ในขณะที่มีกฎที่แน่นอนจำนวนมาก ภาษาจะมีความยืดหยุ่น และค่อยๆเปลี่ยนไป ตามการใช้ภาษา และรวมถึงเทคโนโลยี พวกเราควรมีความยืดหยุ่น เพื่อที่ว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงได้ทันการ

แปลและเรียบเรียงจาก

Salaiman Jenkins. To textbook or not to textbook? This is grammar question

http://www.teachingenglish.org.uk/blogs/sulaiman-jenkins/textbook-or-not-textbook-grammar-question-0?utm_source=TE_Facebook&utm_medium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish

หมายเลขบันทึก: 656498เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2018 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2018 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะอาจารย์

ภาษา เป็นสื่อ ที่มนุษย์ ใช้เพื่อ ความเข้าใจ ซึ่งกัน และกัน..ภาษา..จึงเปลี่ยนไป..ตามสภาพ คนและสถานที่ที่มนุษย์ไป..เป็นวัฒนธรรม..ตามพื้นที่และ ท้องถิ่น นั้น ๆ..โดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่กำหนด…

ขอบคุณกับความเห็นของคุณ tuknarak กับคุณยายธีมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท