(3) AAR การติดตามประเมิน PNC งาน MCH ปทุมธานี วันแรก


(3) AAR การติดตามประเมิน PNC วันแรก

ผ่านไปแล้ววันแรก

การประเมิน PNC : Provincial Network Certification ของเครือข่ายงาน MCH ของปทุมธานี จาก สรพ.

แค่ทุกคน Inspiration ความสุขเกิดในใจและเป็นแรงบันดาลใจอยากพัฒนาสิ่งต่างๆ ต่อแม้ผลการประเมินจะเป็นอย่างไรเราก็มีความสุข

ขอบพระคุณอาจารย์ Surveyors จาก สรพ.ทุกท่าน ที่มีกระบวนการที่งดงามในวันนี้ค่ะ ในฐานะผู้มาทำหน้าที่ Capture เพื่อนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ยังรู้สึกมีความสุขไปพร้อมกับทีมด้วยค่ะ 

ขอบพระคุณอาจารย์ ปริญญา สันติชาติงาม ที่รับฟังกะปุ๋มทั้งวันเลยค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ ดร.สุพัตรา (.พี่กี) และทีมศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรีที่มาร่วมเคียงข้างเครือข่าย

วันนี้ทำให้ได้เกิดความเข้าใจในเรื่อง PNC เพิ่มมากขึ้นเลยลองสรุปกับตนเองว่า PNC คืออะไร นอกจากจะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพที่เป็นดั่งสายธารตั้งแต่ต้นจนจบเป็นเชิงระบบทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล เลยลองใช้ภาพของ Pre Hos -> Inter Facilities -> In Hos -> Post Host จะทำให้สะท้อนเห็นกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเป็นสายธารเชิงระบบ รวมถึงเรื่องการส่งต่อผู้ป่วย+ข้อมูลมากขึ้น

สิ่งที่ทางอาจารย์จาก สรพ.เน้นและสะท้อนอยู่ตลอดคือ 

  • ข้อมูล / Data
  • ความเสี่ยง / Risk Management 
  • ตัวชี้วัด / KPI
  • กิจกรรม / Intervention

และสิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มสำหรับตนเองคือ 

  • การทำงานภาคปฏิบัติและนำไปเทียบเคียงกับหลักการ/มาตรฐานเชิงคุณภาพ จะทำให้คนทำงานมีการทำงานที่มีเป้าหมายชัดเจนขึ้น และรู้ว่ายังขาดอะไรที่ยังเป็น GAP ที่สามารถพัฒนาต่อไปได้อีก
  • คนทำงานทำงานจริง แต่ทำอย่างไรให้คนทำงานรู้ว่า สิ่งที่ตนเองทำนั้นเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพหรือไม่(ครุ่นคิด บทบาท Fa น่าจะเป็นกลไกสำคัญ)
  • เน้นการทำ Grouping  + Mapping เพื่อนำไปสู่การวางแผนหรือแนวทางการดูแล
  • การจัดกลุ่มผู้ป่วยควรคำนึงถึงหลายๆ มิติ เช่น Volume+Severities 

ความรู้สึกของการทำหน้าที่ Capture ในวันนี้

รู้สึกประทับใจ กระบวนการการประเมิน อาจารย์จากทีม สรพ. มีความเป็นกัลยาณมิตรและมีความเป็นครูสูงมาก นอกจากอาจารย์จะมาประเมินแล้วยังชวนชี้ชวนมองให้คิดตาม และเสริมองค์ความรู้ที่พื้นที่ยังขาด ทำให้คนในพื้นที่มองเห็นตนเองว่า อะไรคือสิ่งที่ตนเองทำได้ดีอยู่แล้ว และมีอะไรอีกที่น่าทำ ทำให้เกิด Inspiration อย่างเช่นจะเห็นได้ว่า ทีมผู้บริหาร เช่น ผู้อำนวยการ รพช. และทีม สสจ.ติดตามและเรียนรู้ด้วยทั้งวัน  นอกจากนี้มีการสรุปถอดบทเรียนสั้นๆ ร่วมกับทีมในพื้นที่ทำให้เห็น Value ในมิติของการเรียนรู้  “แม้ผลการประเมินจะเป็นอย่างไร

การนำเสนอการทำงานของพื้นที่นอกจากเป็น presentation แล้วเรื่องเล่า (Story telling) ทำให้คนทำงานสามารถเล่าเรื่องราวได้อย่างพรั่งพรูและมีพลังจากการเล่าเรื่อง Skill ของการเป็นผู้ฟัง (Deep Listening) ทำให้ผู้ปฏิบัติอยากเล่าเรื่องของตนเอง เป็นเรื่องเล่าเร้าพลัง

และที่น่าชื่นชมอีกอย่างคือ ทีมผู้ตรวจ/นิเทศงานแม่และเด็ก นำโดย .ดร.สุพัฒนา ธรรมวงศ์หรืออาจารย์ดอกเตอร์กี จากศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรีร่วมติดตามและเรียนรู้ไปพร้อมกับพื้นที่ ร่วมสะท้อนโอกาสของการพัฒนาที่สามารถขับเคลื่อนกันไปพร้อมกันทั้งเขต

25-09-61


คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#mch#PNC#ha
หมายเลขบันทึก: 653697เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2018 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2018 04:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท