วัยทอง


สาระความรู้เรื่องวัยทอง

 

       ประเด็น

                ผู้หญิง

                    ผู้ชาย

ความเกี่ยวข้องระบบสืบพันธุ์

-เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

-รังไข่หยุดการผลิตไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือน

-เมโนพอส (menopause)

-ฮอร์โมนที่มีผลต่อสมรรถภาพ จากฮอร์โมนเพศชาย มีปริมาณลดลงหลังอายุ 40 ปี

-แอนโดรพอส (andropause)

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง

-เอสโตรเจน

-โปรเจสเตอโรน

เทสโทสเตอโรน/แอนโดรเจน

อายุเฉลี่ยที่พบอาการวัยทอง (ปี)

45-55

42-45

สาเหตุของการเกิดวัยทอง

-เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

-เกิดจากการเจ็บป่วย

-เกิดจากการรักษาทางการแพทย์

-เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

-กรรมพันธุ์

-พฤติกรรม

-โรคเรื้อรัง  

อาการ

-ร้อนวูบวาบตามตัวและหน้าอก  เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน  

-ปวดศีรษะ กระวนกระวายใจ รู้สึกเหนื่อยง่าย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย รู้สึกถูกทอดทิ้ง

-นอนไม่หลับ

-ผิวแห้ง

-ปวดหลัง ปวดตามข้อต่างๆ ปวดกล้ามเนื้อ

-ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลาร่วมเพศ ไม่มีความสุขทางเพศ เบื่อและไม่สนใจทางเพศ

-ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะลำบาก

 

อาการทางร่างกาย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง

นอนไม่ค่อยหลับ หรือตื่นนอนเวลากลางคืน

เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามกระดูกและข้อ

อาการทางระบบประสาทและไหลเวียนโลหิต

ร้อนวูบวาบตามร่างกาย มีเหงื่อออกมาก

หัวใจเต้นเร็ว หรือใจสั่น

อาการทางจิตใจ

หลงลืมมากขึ้น ไม่มีสมาธิ ตกใจกลัวอย่างไม่มีเหตุผล หงุดหงิด ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ปัญหาสุขภาพทางเพศ ขาดความสนใจทางเพศ

ขาดความตื่นเต้นทางเพศ องคชาตไม่แข็งตัว ขณะตื่นนอนเช้า ล้มเหลวในกิจกรรมทางเพศ

องคชาตอ่อนตัวขณะมีเพศสัมพันธ์

การรักษา

การให้ฮอร์โมนทดแทน

 (Hormone Replacement Therapy - HRT)

ใช้ยาฮอร์โมนเพศชายเสริม ชนิดกิน ชนิดฉีดและชนิดเจลทาผิว

ภาวะแทรกซ้อนของวัยทอง

-โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วน

-โรคกระดูกพรุน

-ปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

-ปัญหาทางเพศ

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลงพุง อ้วนง่าย

การป้องกันและการพยาบาล

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นที่มีแคลเซียม และวิตามินดี

-ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ แอโรบิค ไทเก๊ก

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

-ควบคุมจัดการอาการที่เกิดขึ้น

-อาหาร เลี่ยงอาหารรสหวาน เน้นทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย อาทิ ผักใบเขียว ถั่ว ไข่แดง แตงโม หรือหอยนางรม (ผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงต้องระวัง)

-ออกกำลังกาย เน้นชนิดกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ปั่นจักรยาน

ตีสควอช เป็นต้น

-จิตใจ คิดบวกและรู้วิธีจัดการกับความเครียด

 

หมายเลขบันทึก: 652987เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2018 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2018 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท