ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

ผู้นำกับการพูดแบบผู้นำ


พูดแบบผู้นำ

โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

ที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์และการสื่อสาร

www.drsuthichai.com

บทความนี้ ผมอยากเขียนเกี่ยวกับการพูดของผู้นำระดับโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่สาธารณะชนหรือการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้นำมักจะต้องใช้การพูดเพื่อจูงใจให้คนจำนวนมากคล้อยตาม

 

            เช่น JFK หรือ จอห์น เอฟ. เคนเนดี  อับราฮัม ลินคอล์น , บารัก โอบามา  ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา หรือ Tony Blair (โทนี่ แบลร์) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ หรือ -  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  อัจฉริยะบุคคลระดับโลก

 

            หากเรานำเอาคำพูดของบุคคลเหล่านี้มาวิเคราะห์ดูเราจะพบว่า พวกเขามีเทคนิคในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนและใช้เทคนิคต่างๆดังนี้

 

1.มีการสอดใส่อารมณ์ต่างๆลงไปในน้ำเสียง เราจะเห็นว่า สุนทรพจน์ของผู้นำระดับโลกมีชีวิตชีวา เพราะเขาสอดใส่อารมณ์ ความรู้สึก ลงไปในน้ำเสียง จึงทำให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้น อยากฟัง อีกทั้งมีความซาบซึ้งกินใจ ในเวลาฟังอีกด้วย

2.มีการใช้ วรรคทอง ซึ่งการใช้วรรคทองทำให้ผู้ฟังเกิดการจดจำ

 อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐได้กล่าวในการไว้อาลัยแก่ผู้สูญเสียชีวิตในสงครามกลางเมือง ว่า “รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ” หรือ “ คุณอาจจะหลอกคนทุกคนได้ในบางเวลา คุณอาจจะหลอกคนบางคนได้ตลอดเวลา แต่คุณไม่สามารถหลอกคนทุกคนตลอดเวลาได้”

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  อัจฉริยะคนหนึ่งของโลก “ Learn from yesterday, live for today, hope for tomorrow.”   “เรียนรู้จากวันวาน ใช้ชีวิตอยู่ในวันนี้ มีความหวังกับวันพรุ่งนี้”

JFK หรือ จอห์น เอฟ. เคนเนดี  กล่าววรรคทองในวันรับตำแหน่งประธานาธิบดีว่า “ โปรดอย่าถามว่าประเทศชาติของท่านจะทำอะไรให้กับท่านได้บ้าง แต่จงถามว่า ท่านจะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติของท่าน ”

นางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย “ถ้าท่านมีเงินหนึ่งรูปี และฉันมีเงินหนึ่งรูปี แล้วนำเงินนั้นมาแลกกัน ก็จะไม่มีความหมายอะไร แต่ถ้าคุณมีความเห็นหนึ่งความคิดเห็น ฉันมีหนึ่งความคิดเห็นและนำมาแลกกัน เราจะได้ความคิดเห็นเพิ่มเป็นสองความคิดเห็น”

3.มีการใช้คำอุปมาอุปไมย  หรือคำเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นคำที่สั้น   กะทัดรัด  ซึ่งนิยมพูดกันในชีวิตประจำวัน  อาจจะเป็นคำพูดในเชิงต่อว่าหรือเปรียบเปรย (ทั้งในทางดีและทางร้ายก็ได้)  โดยผู้นำจะพูดโดยยกเอาเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นมาเทียบเคียง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพไปตามนั้น  มักจะมีคำเชื่อมว่า  “ เป็น , เหมือน , เท่าราวกับ ” เป็นคำที่ใช้เชื่อมประโยค

 

4.มีการยกตัวอย่าง ผู้นำที่พูดเก่งมักจะใช้ตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งตัวอย่างนั้นจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่พูด อีกทั้งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ  ผู้นำหลายคนมักใช้ตัวอย่างของตนเองหรือประสบการณ์ของตนเองเป็นตัวอย่าง เช่น ตนพบกับความยากลำบากมากก่อน ตนจึงเข้าใจและเห็นใจ บุคคลที่ยากลำบาก หรือ ตนได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาและเกิดการสูญเสียเพื่อนฝูง ญาตพี่น้อง ตนจึงเข้าใจเรื่องของการสูญเสียและการต่อสู้ทางการเมืองเป็นอย่างดี เป็นต้น

 

ดังนั้น  ผู้ที่เป็นผู้นำ หรือ ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำ ควรนำเอาเทคนิคทั้ง 4 ข้อข้างต้น ไปใช้หรือไปประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการพูดของท่านให้เหมือนกับผู้นำ เมื่อท่านพัฒนาการพูดโดยใช้เทคนิคทั้ง 4 ข้อนี้โดยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง กระผมเชื่อว่า การพูดของท่านจะเหมือนกับผู้นำระดับโลก และท่านจะเป็นบุคคลหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการพูดแบบผู้นำ

คำสำคัญ (Tags): #นักพูด
หมายเลขบันทึก: 651874เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2018 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2018 07:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท