การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (Working Integrated Learning: WIL)


              ด้วยผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสัมมนาเครือข่ายองค์การการเรียนรู้  เพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  (Mini_UKM)  ครั้งที่ 19  ในหัวข้อ การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน  (Working Integrated Learning: WIL)  จัดโดยศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561  ณ  ห้อง AR 201  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  ผังเมืองและนฤมัตรศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เห็นว่าเนื้อหาที่วิทยากรบรรยาย  นำเสนอ  และความรู้ที่ได้รับการจากเข้าร่วมโครงการ  อาจจะเกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจ  ดังนี้

              หลักการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน

                     1. หลักสูตรและการจัดการศึกษา

                          1.1  จัดการศึกษาแบบหลักสุตรปกติ  หรือเป้นแบบโมดูล  (Modula System)  ก็ได้

                          1.2  สามารถบูรณาการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป  โดยการสอดแทรกผสมผสานในรายวิชาหลัก  หรือรายวิชาเฉพาะที่กลมกลืน  และมีความสัมพันธ์กับองค์ความรู้หลัก

                          1.3  สามารถบูรณาการศาสตร์และสาขาวิชาตามความถนัด  และความต้องการด้านอาชีพของผู้เรียน  รวมทั้งตรงกับความต้องการของผุ้ประกอบการ

                          1.4  มีการเชื่อมต่อระหว่างอาชีวศึกษากับอุดมศึกษาสำหรับการเรียนต่อปริญญา  หรือการฝึกอบรมทักษะ  และความชำนาญระดับวุฒิบัตร/ประกาศนียบัตร

                          1.5  มีการเชื่อมต่อภายในสถาบันอุดมศึกษา  อาทิ  ระหว่างคณะและสาขาวิชา  และระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ  รวมทั้งมีระบบ Credit Transfer

                          1.6  ตรงตามสาขาวิชาที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  (New Growth Engines)  ของประเทศ 
                2. กระบวนการจัดการเรียนการสอน

                          2.1  มีความร่วมมือกับภาคเอกชน  หรือภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจร  โดยใช้  Work Integrated Learning: WIL อย่างเข้มข้น  โดย

                                -  ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

                                -  ให้สถานประกอบการเป็นฐาน  (Platform)  ในการจัดการเรียนการสอน  และการปฏิบัติจริงอย่างน้อย  ร้อยละ 50  ของเวลาเรียน

                                -  คณาจารย์ร่วมเป็นครูพี่เลี้ยงในสถานประกอบการร่วมกับภาคเอกชน

                                -  ผู้เชี่ยวชาญในสถาประกอบการ  หรือภาคเอกชนร่วมเป็นอาจารย์ช่วยสอนในสถาศึกษา

                3.  หน่วยงานภาคีร่วมจัดการเรียนการสอน

                     มีหน่วยงานภาคีภาคเอกชน  หรือภาคอุตสาหกรรม  ที่มีข้อตกลงความร่วมมือ  (MOU)  ในการร่วมจัดการเรียนการสอนแบบ WIL ซึ่งตรงกับสาขาวิชา  สมรรถนะ  และทักษะตามหลักสูตร  โดยมีจำนวนและศักยภาพของหน่วยงานภาคเอกชนที่เพียงพอต่อการร่วมจัดการเรียนการสอน

            เงื่อนไขของ WIL

                 1.  การเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของการทำงานจริงของสาขาวิชา

                 2.  ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานตามสาขาวิชา

                 3.  กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของการศึกาาในหลักสูตรของผู้เรียน

                 4.  ต้องมีลักษณะงานตรงตามสาขาวิชา  และงานนั้นต้องสามารถพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามที่กำหนดได้

            สภาพจริง  หมายถึง  แหล่งเรียนรู้จากประสบการณ์  ด้วยการทำงาน  ที่ผู้เรียนต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมของการทำงานจริง  เช่น  สถานประกอบการ  ชุมชน  บุคคลต้อนแบบ  พื้นที่เชิงภูมิประเทศ  หรือการทำงานบน Internet  ที่แตกต่างจากการเรียนรู้ในสถานศึกษา

            ประเภทของ WIL [Rosse, S., 2014: 22-25]  Developing the Field of Work Integrated Learning (WIL) In Higher Education: A Scoping Study and Curriculum Inquiry.

                1.  เน้นการสร้างความตระหนัก  (Awareness Model)

                2.  เน้นการประยุกต์ใช้  (Application Model)

                3.  เน้นการสร้างสมรรถนะ  (Competency Model)

                4.  เน้นการสังเคราะห์องค์ความรู้  (Synthesis Model)

                5.  เน้นการรื้อและสร้างองค์ความรู้ใหม่  (Deconstruction-reconstruct Model)     

                6.  เน้นการทบทวนเพื่อสะท้อนความคิด  (Iterative Reflection Model)

                7.  เน้นการวิจัย  (Research-based Model)

                8.  เน้นการแก้ปัญหา  (Problem-based Model)

        WIL  ผลักดันให้เกิด THAILAND 4.0  ได้อย่างไร

                 1.  สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ  เอกชน  และภาคประชาสังคมแบบประชารัฐ

                 2.  สถาบันอุดมศึกษามีองค์ความรู้เชิงแนวคิด  หลักการ  และทฤษฎี

                 3.  ผลักดันนักวิชาการให้ถ่ายทอดความรู้สู่สภาพจริงผ่านกระบวนการ  WIL  และนักศึกษา

                 4.  สร้างสรรค์ความรู้ไปสู่นวัตกรรมให้เกิดการนำไปใช้ได้จริง

อ้างอิงจาก  power point  นำเสนอของ  ดร.อลงกต  ยะไวทย์  (มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล) 

หมายเลขบันทึก: 651629เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2018 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2018 06:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท