การดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด


การแลกเปลี่ยนและสะท้อนคิดระหว่างอาจารย์: ความสำเร็จของการสอนโดยการสะท้อนคิด

ความหมาย

          การเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด เป็นกระบวนการที่ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนได้มีการคิดวิเคราะห์ และได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการบริการกับการเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรงและเปิดโอกาสให้วิเคราะห์วิพากษ์ และประเมินสิ่งที่ปฏิบัติ รวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะในการปฏิบัติครั้งต่อไป

 

แนวคิด

          การเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด เป็นการประยุกต์แนวคิดการฝึกทักษะสะท้อน (Reflection) โดยเริ่มจากการบรรยายถึงสิ่งที่เป็นส่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการสะท้อนคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยสะท้อนการคิดจากการสังเกตความรู้สึก และการรับรู้ แล้วนำมาประเมินถึงประโยชน์หรือคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนั้น แล้วนำมาวิเคราะห์ในภาพรวมเพื่อให้เห็นซึ่งสภาพสถานการณ์ต่างๆ หลังจากนั้นสรุปความคิดรวบยอดจากการวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผล รวมทั้งวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาตนเอง

 

การดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด

  • การเตรียมทรัพยากรเรียนรู้
  • การเตรียมผู้สอน/ผู้เรียน
  • ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
  • วิธีการจัดการเรียนรู้
  • การวัดประเมินผลการเรียนรู้

 

 

1.การเตรียมทรัพยากรเรียนรู้

   เป็นการเตรียมสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพห้องเรียนที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อการสนทนาแลกเปลี่ยน อุปกรณ์บัตรคำ (Talking Cards/ Index Cards)

 2. การเตรียมผู้สอน/ผู้เรียน

  2.1 ผู้สอน

  • ต้องทราบว่าผู้เรียนเป็นใคร ระดับชั้นปีอะไร มีประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรเพื่อเลือกการประเด็นการเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
  • ตั้งคำถาม/ทบทวนตนเองเพื่อสะท้อนในการเรียนรู้
  • ทบทวนประเด็นปัญหา เพื่อการวางแผนภายใต้บริบทที่มี
  • เปิดใจ ยอมรับ สร้างทัศนคติต่อผู้เรียน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  • ความพยายามในการค้นคว้าเพื่อเพิ่มทักษะความรู้
  • ศึกษาเทคนิคที่ตนเองมีและเทคนิคในการเรียนรู้
  • การเรียนรู้เทคนิคในการสอน การประยุกต์รูปแบบในการสอนที่เป็นรูปธรรม
  • เปิดโอกาสในการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
  • ชี้แนะแนวทาง และเป็นต้นแบบในการสอน
  • สร้างคู่มือในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม การอบรมเพื่อพัฒนาความรู้เพิ่มเติม
  • การได้ร่วมเรียนรู้กับผู้ที่รู้ หรือผู้ให้คำปรึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจ และส่งเสริมกระบวนการ

  

2.2 ผู้เรียน

-   การเปิดใจยอมรับถึงปัญหา ให้ได้พูดคุยถึงปัญหา

-   ให้สะท้อนคิดถึงเป้าหมายของตนเอง เพื่อให้เกิดการกระตือรือร้น

-   การใช้ธรรมชาติของช่วงวัยในการสร้างพลัง กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว

-   การใช้บุคคลต้นแบบหรือสถานการณ์ในปัจจุบันที่สนใจในการเชื่อมโยงการเรียนรู้

-   ให้มองเห็นตนเองผ่านความคิดหรือการกระทำของตนเอง หรือความรู้สึกต่อการกระทำของตนเอง

         

3.ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

  1) การบรรยาย (Description) โดยทำให้ผู้เรียนเห็นว่า สิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดคืออะไร เกิดความรู้สึกอย่างไรในสถานการณ์ หรือประเด็นการเรียนรู้ที่กำลังเผชิญ เพื่อฝึกการคิดจากสถานการณ์ และเชื่อมโยงกับประสบการณ์ด้วยการตั้งคำถาม What Why How

  2) ความรู้สึก (feelings) โดยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน และสะท้อนคิดจากความรู้สึก การสังเกต การรับรู้ต่อสถานการณ์ หรือประเด็นการเรียนรู้นั้นๆ

  3) การประเมิน (Evaluation) โดยให้ผู้เรียนร่วมกันประเมินและวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ หรือประเด็นการเรียนรู้ แล้วตัดสินใจเลือกนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้

  4) การวิเคราะห์ (Analysis) โดยให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์เดิมของตนเอง ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ หรือประเด็นการเรียนรู้ในภาพรวม

  5) การสรุป (General conclusions) โดยให้ผู้เรียนร่วมกันสรุปความคิดรวบยอดจากการวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผล หรือสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

 6) การวางแผนปฏิบัติในอนาคต (Personal action plans) โดยให้ผู้เรียนวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาตนเอง และวางขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์เดิมขึ้นอีก

 

4.วิธีการจัดการเรียนรู้

- การเขียนบันทึก (Journal Writing)

- การสนทนา (Dialogue)

- การวิเคราะห์อุบัติการณ์ (Incident Analysis)

- การอ่านงานเขียน (Reading With Reflection)

- การเขียนบัตรคำ (Talking Cards/ Index Cards)

- การเขียนแผนผังความคิด (Reflection Mapping)

- การสะท้อนเป็นกลุ่มเล็ก (Reflection in Small Groups and Teams)

5.การวัดประเมินผลการเรียนรู้

- ประเมินจากการเขียนสะท้อนผลการเรียนรู้ เพื่อมองเป้าหมายของการเรียนรู้ และประเมินทักษะการเรียนรู้

- การสังเกตพฤติกรรมการสะท้อนคิด

- การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา ในการ pre-post conference

- การประเมินตามสภาพจริงตามแบบประเมินการสะท้อนคิด

                                                                               

                                                                                        สายฝน อินศรีชื่น ผู้บันทึก

 

อ้างอิง

กลุ่มงานวิจัยและการจัดการความรู้. ( 2561). รายงานการประเมินผลโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ การ

          พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการความรู้ (KM). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่.

เชษฐา แก้วพรหม. (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้

          ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 24(2), 12-20.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การสอนกระบวนการคิด. กรุงเทพฯ :

            สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัศนี วันชัย, ชนานันท์ แสงปาก และยศพล เหลืองโสมนภา. (2560).  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค

การสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 105-115.  

Wichainate, K. (2014). Reflective thinking: Teaching students to develop critical thinking in

            nursing practice. Journal of The Police Nurse, 6(2), 187-99.

Ward, J.(2011). Reflection in professional education: An investigation into the reflective

           capabilities of trainee town planners. Reflection Education, 7(1), 67-79.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 650961เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2018 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2018 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท