องค์ประกอบของการเรียนรู้วินัย 5 ประการ



    ได้มีโอกาสในการอ่านบทความของ Peter Senge และผู้ช่วยศาสตรจารย์ประคอง สุคนธจิตต์ จาก www.krirk.ac.th ที่ได้กล่าวถึงวินัย 5 ประการสำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้ พอจะสรุปได้ว่า
    วินัย ก็คือ แนวทางในการปฏิบัติ การพัฒนาเพื่อแสวงหาการเสริมสร้างทักษะ หรือสมรรถนะ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถผ่านการปฏิบัติเพื่อความคิดสร้างสรรค์เพื่อสิ่งใหม่ ๆ ที่จริงแล้ววินัยในแต่ละบุคคล แต่ละเรื่องก็แตกต่างกันออกไป
    ในที่นี้ขอกล่าวถึงวินัย 5 ประการสำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้ วินัยประการที่ 1: ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)
    ความรอบรู้แห่งตน ก็คือ ความรู้ของบุคคลนั่นเอง ความรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคนั้นได้มีการเรียนรู้เท่านั้น การที่คนจะมีการใฝ่หาความรู้หรือฝึกฝนตนด้วยการเรียนรู้อยู่เสนอ ไม่ว่าจะเป็น ฟัง พูด อ่าน เขียน ก็ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญในการจะสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นหรือถึงแม้จะรู้อยู่แล้ว แต่ความรู้เหล่านั้นก็สามารถทำให้รู้เพิ่มขึ้นหรือให้ชัดเจนขึ้น รู้ให้เชี่ยวชาญมากขึ้น วินัยประการที่2:แบบแผนความคิดอ่าน(Mental Models)
    กล่าวได้ว่าแบบแผนความคิดคือ วิธีการคิดในแต่มุมมองของแต่ละบุคคล เพราะบุคคลจะต้องเรียนรู้ ต้องรู้จักวิธีคิด และมีการคิดในหลาย ๆ แง่มุม เช่น คิดเชิงบวก คิดเชิงลบ คิดนอกกรอบ เป็นต้น เพราะในสถานการณ์ก็มีความแตกต่างกันออกไป โดยจะต้องฝึกฝนให้เราได้เข้าใจ แยกแยะระว่างสิ่งที่เราเชื่อกับสิ่งที่ปฏิบัติ การที่จะเข้าใจมุมมองและความคิดของผู้อื่นเราจะต้องเปิดใจให้กว้างกับสิ่งที่เราคิด ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ วินัยประการที่3:วิสัยทัศน์(Shared Vision)
    วิสัยทัศน์ร่วมเป็นเรื่องของการ รวมใจเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะทำให้องค์การมีพลังสร้างสรรค์ทำให้สมาชิกขององค์กรทำงานในลักษณะ ทุ่มเทใจ ต่อองค์การ เนื่องจากวิสัยทัศน์ร่วมเข้าไปกระทบใจ กระทบความเชื่อ ค่านิยมความใฝ่ฝันของชีวิต ของคนในองค์กรเพื่อให้เกิดการเป็นหนึ่งเดียวมีเป้าหมายเดียวกัน วินัยประการที4:การเรียนรู้เป็นทีม(Team learning)
    องค์การแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยพลัง 2 ด้านคือ พลังในด้านของความสามารถของบุคคล กับพลังกลุ่มที่เกิดการเสริมพลังในการเรียนรู้และทำงานเป็นทีม องคการทั่วไปหากสมาชิตมีการทำงานโดยมีเป้าหมายคนละทิศทาง ทำให้พลังความสามารถขาดประสิทธิภาพไปบ้างแต่ถ้าองค์การมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม เกิดการรวมตัวกัน ก็จะก่อให้เกิดพลัง การเรียนรู้ที่กว้างขึ้น การเรียนรู้ที่หลากหลายจะทำให้สมาชิกทำงานไปสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกัน วินัยประการที่5:(System thinking)
    Sengeได้ให้ความหมายของคำว่า “การคิดอย่างเป็นระบบ (systematic thinking)” ไว้ว่า “วินัยของการมองเห็นภาพโดยรวม เห็นทั้งหมด มีกรอบที่มองเห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเห็นแค่เชิงเหตุเชิงผลเห็นแนวโน้มรูปแบบของความเปลี่ยนแปลง มากกว่าจะเห็นแค่ฉาบฉวยหรือผิวเผิน” การคิดอย่างเป็นระบบมีความสำคัญอย่างมากกับสภาพการบริหารในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปด้วยการชิงไหวชิงพริบในธุรกิจยุคนี้ ทุนทางปัญญาที่ผู้บริหารทุกคนจำต้องมี หากใครไม่มีจะเป็นผู้แพ้อย่างถาวร สมองของผู้บริหารต้องเข้าใจสภาพขององค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ในองค์การ เข้าใจปัจจัยพื้นฐานประวัติศาสตร์และพัฒนาการแต่อดีตถึงปัจจุบัน เห็นความซับซ้อนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของระบบย่อย หากแก้ไขหรือดำเนินการตรงที่ใดที่หนึ่งของระบบจะกระทบส่วนอื่น ๆ ได้เช่นไร ต้อง “อ่านเกม” ได้ และอ่านเกมเป็น เวลาจะเดินหมากก็ไม่สมควรเดินหมากทีละตัว โดยขาดการเล็งเห็นหมากทั้งกระดาน เดินหมากเช่นนี้แล้วผลที่จะติดตามมาจะเกิดผลเช่นไร มีแนวทางที่ดีกว่าเช่นไรบ้าง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะเป็นเช่นไร
    ลักษณะของการคิดอย่างเป็นระบบที่ดี ได้แก่ 1. คิดเป็นกลยุทธ์ ชัดเจนในเป้าหมาย มีแนวทางที่หลากหลาย แน่วแน่ในเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์ 2. คิดทันการ ไม่ช้าเกินการณ์ มองให้เห็นความจริง บางทีชิงปฏิบัติก่อนปัญหาจะเกิด 3. เล็งเห็นโอกาส ในทุกปัญหามีโอกาส ไม่ย่อท้อ สร้างประโยชน์ มองให้ได้ประโยชน์
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วินัย 5 ประการย่อมมีความสำคัญต่อองค์กรเพราะคนคือทรัพยากรที่มีคุณค่าของหน่วยงาน การพัฒนาศักยภาพของบุคคลจึงเป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์การ ไม่ว่าจะเป็นบบุคลหรือเป็นทีม ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตามดั้งนั้น การที่คนจะมีวินัย ย่อมส่งผลต่อการเกิดองค์การแห่งการเรียนรู้
คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 64990เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2006 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท