การใช้โปรแกรม ZipGrade ในการตรวจข้อสอบ


การเปิดใช้ ZipGrade

สามารถเปิดใช้ได้ทั้งใน Computer และ Smartphone

1.      Download Application ZipGrade โดยใช้ Smartphone

Android ใช้ Play Store

IOS ใช้ App Store

2.         ตั้งค่า Usernameและ Password

  • แบบ Free สามารถใช้ได้ 100 Sheet/Month
  • แบบจ่ายเงิน สามารถใช้ได้ไม่จำกัดจำนวน โดยทางคณะพยาบาลศาสตร์ ใช้ User และ Password

ดังนี้

                                Username : [email protected]

                                Password : 08142221xx

3.         ใน Computer สามารเข้าไปตั้งค่า Usernameและ Password ใน Website www.zipgrade.com

 

การตั้งค่าใน Computer และ การนำเข้ารายชื่อนักศึกษา

1.         เปิด WWW.zipgrade.com

2.         Login โดยใส่ Username และ Password

3.         เลือก Students

  • Add New Student เป็นการพิมพ์ข้อมูลของนักศึกษาทีละคน
  • Import Student form CSV เป็นการนำเข้าจาก File Excel เมื่อ Click เลือกคำสั่งนี้ ขั้นต่อไปคือ เลือก Simple file (ตัวอักษรสีฟ้าอยู่บรรทัดสุดท้ายของ File requirements) จะได้ File “SampleStudentsfile” ซึ่งจะมีนามสกุล .CSV ให้ใส่ข้อมูลตามที่กำหนดให้ โดยสามารถเพิ่มเติมตามความต้องการ (แต่ควรตั้งชื่อตัวแปรเป็นภาษาอังกฤษ) เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้ Save แต่ควรตั้งชื่ออื่นที่สามารถเข้าใจง่าย จากนั้นต้องทำการแปลง File เพื่อให้โปรแกรมสามารถอ่านชื่อนักศึกษาเป็นภาษาไทยได้ โดยเปิด File ที่ Save ไว้ โดย Program Notepad แล้ว Save ใหม่โดยเลือก Encoding เป็น UTF-8 ๖แนะนำว่าควรตั้งชื่อที่ไม่ซ้ำกับ File เดิม) แล้วกลับไปที่ Zipgrade เลือก File ใน Browse CSV file นำ File ที่ผ่านการแปลงโดย Notepad มาใส่ จากนั้นกดเลือก Has a Header Row (Skip first row)? แล้วเลือก Upload

 

การสร้าง File การตรวจข้อสอบที่ต้องการและการตรวจข้อสอบ

การสร้าง File การตรวจข้อสอบต้องทำใน Smartphone โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.         เลือก Quizzes

2.         เลือก New

3.         ช่อง Name เป็นการตั้งชื่อ File การตรวจข้อสอบ (หลักการตั้งชื่อFile การตรวจข้อสอบ คือ รหัสวิชาและสถานะของข้อสอบ เช่น NS 332 (Mid))

4.         ช่อง Answer Sheet Form เป็นการเลือกกระดาษคำตอบ โดยของคณะพยาบาลศาสตร์ จะมีกระดาษคำตอบ 20 ข้อ, 50 ข้อ, 60 ข้อ, 80 ข้อ, 100 ข้อ, 120 ข้อ และ 140 ข้อ

5.         ช่อง Date จะเป็นวันปัจจุบันที่ทำการสร้าง File การตรวจข้อสอบ

6.         ช่อง Classes เป็นชั้นปีที่ทำการสอน

7.         ช่อง Quiz Tagging เป็นการเตือนความจำสั้นๆ

8.         เลือก Create Quiz เป็นการทำเฉลยและการตรวจข้อสอบ

·   Edit Key เป็นตัวเฉลย ซึ่งสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

1.         การกดเลือกข้อถูกในแต่ละข้อใน Smartphone

2.         การ Scan จากกระดาษที่ทำตัวเฉลยไว้แล้ว

·   Scan Papers เป็นการตรวจข้อสอบ โดยต้องให้กระดาษที่ทำการ Scan อยู่ในมุมระยะทั้ง 4 ของ Smartphone รวมทั้งต้องดูการตกของแสง ไม่ควร Scan ใต้หลอดไฟฟ้า

·   Review Papers เป็นการแสดงการตอบของกระดาษคำตอบของนักศึกษาแต่ละคน โดยมีสัญลักษณ์ ดังนี้

                o สีแดง แสดงว่า นักศึกษาตอบข้อสอบในข้อนั้น แต่ไม่ตรงกับข้อที่ถูกต้อง

                o สีเขียว แสดงว่า นักศึกษาตอบข้อสอบในข้อนั้นและตรงกับข้อที่ถูกต้อง

                o สีเหลือง แสดงว่า ข้อที่ถูกต้อง

·   Item Analysis แสดงการวิเคราะห์ข้อสอบในค่าที่สำคัญแบบคร่าวๆ โดยสามารถแสดงเป็นในทั้ง 2 รูปแบบ คือ pdf และ CSV

หมายเลขบันทึก: 649401เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2018 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2018 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท