หมอลำเดชา นิตะอินทร์ : มันอยู่ในในกะป๋อง : ข้อเสนอว่าด้วยเรื่อง Sex Toy และจิ๋มกระป๋อง


เดชา นิตะอินทร์ แม้จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่กลอนลำของเขายังคงตราตรึงใจของผู้ฟังทุกยุคทุกสมัย ในบรรดาหมอลำผมขอการันตีว่า ตั้งแต่ฟังมาไม่มีหมอลำคนใดที่กลอนลำจะนำยุค และสะท้อนสภาพสังคมได้ดีเท่ากับกลอนลำของเดชา

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม

ถ้าคอหมอลำกลอน ไม่รู้จัดเดชา ถือว่าไม่ใช่คอหมอลำ ความอัจฉริยภาพของเขาแสดงออกมาผ่านเนื้อหาของกลอน ที่ทำให้ผู้ฟังขบขันและได้ฉุกคิดถึงเนื้อหาที่เกิดขึ้นกับสังคม บางคราก็นำยุคในโลกแห่งจินตนาการในยุคของเขา แต่ก็เกิดขึ้นจริงในโลกปัจจุบัน

เดชา นิตะอินทร์ เป็นใคร ? เกิดวันที่เท่าไหร่ ? ใครแต่งกลอนลำให้? เรียนลำกับใคร ? เมื่อไหร่? ออกงานครั้งแรกวันไหน? เสียชีวิตตอนไหน? ด้วยโรคอะไร? มีแผ่นเสียงบันทึกมากน้อยแค่ไหน? ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ผมยอมรับว่าไม่รู้จักเลย

ประเด็นที่ทำให้ผมสนใจเดชามากที่สุดคือกลอนลำของเขา ซึ่งหาฟังได้ในยูทูป (ฟังกลอนนี้ : ) ผมชอบฟังเลยอยากเขียนพูดคุยเกี่ยวกับกลอนลำของเขาสักหน่อย ผมคิดว่าน่าสนใจมากทีเดียว

เป็นเรื่องปกติที่หมอลำจะโต้แย้งนโยบายรัฐ (ถึงมีก็ไม่มาก) โดยมากจะสนับสนุนนโยบายรัฐ หรือนำนโยบายรัฐมาแต่งเป็นกลอนลำ ส่วนหนึ่งนั้นอาจเป็นเพราะหมอลำไม่อยากเสี่ยงต่ออำนาจรัฐซึ่งมีสิทธิ์ขาดในการชี้ความถูกผิดได้ อีกทั้งหากแต่งกลอนนโยบายรัฐยังสามารถนำไปอ้างอิงต่อการเป็นศิลปินดีเด่น หรือศิลปินแห่งชาติได้รับการยกย่องอีกด้วย มีตัวอย่างของศิลปินหมอลำอีสานอาวุโสให้เห็น จากกลอนอีสานเขียว ดังนั้นหมอลำเลยชอบการลำที่ส่งเสริมนโยบายรัฐมากกว่าการวิพากษ์จากนโยบายรัฐ

กลอนลำชุดนี้ของเดชาเช่นเดียวกัน เขานำนโนบาย “อีสานไม่กินปลาดิบ” ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530 ในรัฐบาลของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดังนั้นเราพออนุมานได้ว่ากลอนลำชุดนี้ น่าจะอัดหลังช่วงปี พ.ศ. 2530 สิ่งที่เขาทำคือการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้สรุปลงในกลอนลำได้เป็นอย่างดี แต่การสร้างมุกตลกในกลอนลำของเขา เลือกแสดงลักษณะเสียดสีความเป็นชาวบ้าน และชาวชนบท เช่นกรณีของยายคนหนึ่ง ที่อุจจาระใส่ในไห แล้วหอบไปให้คุณหมอตรวจ ซึ่งเป็นการมองในมุมที่ว่ามันเป็นการเล่าเรื่องตลก (joke) หรือผู้ฟังหลายคนไม่ได้ฉุกคิดว่าจะเป็นตัวเอง

ในชุดเดียวกัน สิ่งที่เดชานำเสนอผ่านกลอนลำ คือ Sex Toy เขาโยงจากช่วงที่ประเทศของไทยพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 เขาเสนอการทำจิ๋มกระป๋อง ซึ่งในสมัยนั้นผู้เขียนคาดว่าน่าจะมีเข้ามาในแผ่นดินอีสานแล้ว สาเหตุของการเข้ามาน่าจะเป็นเพราะชาวอีสานในช่วงนั้นนิยมไปทำงานต่างประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย หรือประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งต้องห่างบ้าน จึงต้องมี SEX Toy ระงับอารมณ์ และไม่ผิดศีลธรรมอีกด้วย

ในภาพอาจจะมี 1 คน

ไม่ใช่แค่เดชาคนเดียวที่พูดเรื่อง การช่วยตัวเอง (Masturbation) ศิลปินแห่งชาติอย่างหมอลำเคน ดาเหลา ก็เล่าไว้ในกลอน “แตงสังหารสาว” ซึ่งกล่าวในเชิงล้อเลียนหญิงสาวแรกรุ่นที่ใช้แตกกวา แทนอวัยวะเพศชายช่วยตัวเอง ย้อนไปไกลกว่านั้นหลักฐานการมีอยู่ของเซ็กส์ทอยที่เก่าแก่ที่สุดนั้นย้อนกลับไปได้ถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือ 28,000 ปีก่อน ปรากฎในรูปศิวลึงค์ขนาด 19.2 เซนติเมตร สร้างขึ้นจากทราย ในถ้ำแห่งหนึ่งที่เยอรมนี โดยนักโบราณคดียังไม่สามารถหาคำตอบได้ชัดเจนว่า เซ็กส์ทอยชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อบูชาในพิธีกรรม, เป็นอาวุธ หรือเพื่อความสุขส่วนตัวของใครบางคนกันแน่ นอกจากนั้นยังมีรายงานการพบศิวลึงค์ที่ทำจากก้อนหิน และกระดูกมากมาย เช่น เดียวกับเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ เช่น หวี และเข็มเย็บผ้า (อ่านต่อ : https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_6293) ดังนั้นเรื่อง SEX หรือการช่วยตัวเองจึงไม่ใช่อะไรน่าอาย เมื่อมันมีมานานแล้ว

เดชาเขาฉายภาพปรากฏการณ์ของประเทศไทยในช่วงนั้นว่ามีการผลิตสิ่งต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมมากมาย เช่น การตั้งโรงงาน อาหารกระป๋อง สิ่งที่เขากล่าวถึงประโยชน์ในการตั้งโรงงาน เขาบอกว่า “…ตั้งโรงงานขึ้นใส่ประเทศของเฮา ผลพลอยได้จากเขานั่นกะมียุมาก หนึ่งนั่นหากเฮาได้ทำงาน รัฐบาลกะได้เงินส่งส่วย…” สิ่งหนึ่งที่เขาสรุปว่าถ้าตัวเองทำ คือ “…หีกระป๋อง…” แล้วเขาก็อธิบายรายละเอียดของประโยชน์ไว้อย่างชัดเจน อาจใช้ภาษาไม่สุภาพแต่มันคือความจริงของสังคมไทยที่ควรยอมรับ เดชายังย้ำอีกว่า “…ขายดีกว่าหมู่…”

ทรรศนะในกลอนลำแบบนี้ ผมคิดว่าน่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่สังคมไทยควรหันกลับมามองและเปิดอิสระในเรื่องของ SEX Toy เมื่อเราเปิดอิสระก็จะเป็นเรื่องของที่โล่งแจ้ง ทำให้สามารถออกแบบมาตรการ มาตรฐานมาควบคุมได้ มิใช่จะปกปิดแล้วคิดว่า ไม่จำเป็นเพราะมันลามก

กลอนลำชุดนี้ของเดชา มีความโดดเด่นในเรื่องของกลอน ทำนอง ซึ่งใช้การ ญายกลอน มากเป็นพิเศษทำให้ผู้ฟัง ได้ฟังเหมือนเป็นการเล่านิทาน อีกทั้งมีกลอนหักมุมที่น่าสนใจตามที่ได้กล่าวมา ดังนั้นผมขอสรุปสุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุดเพราะจะเขียนเรื่อย ๆ (มีอีกหลายตอน) ว่าเดชาเป็นหมอลำฝีปากกล้า และแต่งกลอนได้ดี กลอนของเขาเล่าสังคม แต่ไม่วิพากษ์อำนาจรัฐ นำเสนอเรื่องราวของยุคสมัยผ่านกลอนลำ นำเรื่องของชาวบ้านมาเป็นตัวตลก ทำให้น่าฟังและน่าติดตาม


อ้างอิง

file:///C:/Users/WIN8.1%20PRO/Downloads/57890-Article%20Text-135123-1-10-20160531.pdf

http://ngthai.com/history/1134...

https://th.wikipedia.org/wiki/...

https://gmlive.com/legallity-h...

https://www.slideshare.net/sar...

https://th.wikipedia.org/wiki/...

file:///C:/Users/WIN8.1%20PRO/Downloads/3379-3972-1-PB.pdf


ภาพจาก : https://hilight.kapook.com/vie...

หมายเลขบันทึก: 649364เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2018 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2018 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท