สรุปผล"เวทนานุปัสสา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา" ตอนที่ ๒


           ผลดีของการเจริญสติปัฎฐานตามวิชชาธรรมกาย 

           พระพุทธิงค์ทรงตรัสว่าเป็นทางสายเอก(เอกายนมรรค) นั้น มีความมุ่งหมายให้ปฏิบัติทั้งในภาคสมถะและภาควิปัสสนากัมมัฎฐานควบคู่กันไป จึงชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน แลธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาร ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผุ้ปกิบัติได้รับผลทั้งในส่วนที่ทำให้ใจหยุด สงบ นิ่ง เป็นอามรณ์เดียว เพื่อกำจัดนิวรณธรรมทั้งหลาย และในสวนของการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) และทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร/อสังขตธรรม) ตามที่เป็นจริง เพื่อเจริญวิปัสสนาปัญญาและโลกุตตรปัญญา  ให้สามารถปหานอวิชชา ตัณหา อุปาทานหรือสัญโญชน์ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไป แล้วจิตใจก็จะสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสจากทั้งนิวรธรรม และจากทั้งอวิชชาอันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง เป็นสุขอยู่ด้วยความสงบ ดาย วาจา และใจ

          สมดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า

          "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นย่ิงกว่าความสงบ (กาย วาจา ใจป ย่อมไม่มี"

          อนึ่ง ยิ่งผุ้ปฏิบัติะรรมเจริญภาวนาได้ถึงขึ้นวิมุตติหลุดพ้นจากอาสวกิเลส และถึงวิมุตตญาณทัสสนาะเพียงใด ธรรม๒ อย่างคือ สมถะและวิปัสสนา ของท่านผุ้นั้น ก็ย่อมเข้ากันได้โดยแนบสนิท เพียงนั้น

          การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทะเจ้านั้น เป็นกัมัฎฐ,านแบบที่เจริยทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ซึ่งตรงกับความมุ่งหมายของสติปัฎฐานทุกประการ

          กล่าวคือ ให้รวมใจหยุดใหยุด ณ ศูนย์กลางกายไว้เสมอทุกอิริยาบถ หรืออย่างน้อยก็ให้ครึงหนึ่งของใจ หยุดอยู่ ณ ศุนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุดนั้น ย่อมยังผลให้นิวรณธรรมถูกระงับหรือกำจัดใให้หมดสิ้นไปจากจิตใจตามระดับสมาธิที่รงอบู่ และการที่จิตใจรวมอยุหอยู่ในอารมณืเดียวอยู่เสมอนั้เองเป็นผลให้ผุ้ปฏิบัติธรรมนั้นมีสติสัมปชัะญญะพิจารณาเห็นทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตตามระดับสมาธิที่รงอยุ่ และากรที่จิตใจรวมอยุดอยู่ในอารมร์เดียวอยู่เสมอนี้เองเป้นผลให้ผุ้ปฏิบัติธรรมนั้นมีสติสัปชัญญะพิจารษเห็นทั้ง กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นทั้งภายในและภายนอก ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นพร้อมกับสามารถเห็นทางออกจาเวทนาได้โดยอัตโนมัติ

        จึงเป็นเครื่องช่วยป้องกัน และกำจัดกิเลส ตัณหา และอุปาทานในเบญจขันธ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผลจากการรวมใจ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของใจ ให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายอยู่เสมอ ทุกอิริยาบถดังกล่าว ยังเป็นเครื่องช่วยให้ผุ้ปฏิบัติธรรมมีอินทรีย์ังวรและศีลสังวรอย่างดี

        ผลรวมของการเจริญภาวนาดังกล่าวนี้ ก็ย่ิงช่วยบำรุงอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวดัน ก็พลอยให้สติปัฎฐาน ๔  สัมมัปปธาร ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌางค์ ๗ เจริญงอกงามบริบูรณ์ขึ้นด้วย และธรรมทั้ง ๒ อย่างนี้ คือ ทั้งสมถะและวิปัสสนา ขอวท่านผุ้ปฏิบัติธรรมนั้น ก็ย่ิงเข้าคู้กันได้อย่างสนิทแน่นแฟ้น ดังพระพุทธภาษิตว่า

       "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งจักษุ ตาที่เป็นจริงรู้อยู่เห็อยู่ซึ่งรูป ตาที่เป็นจริง รู้อยุ่เห็นอยู่ซึ่งความรุ้แจ้งทางจักษุตามที่เป็นจริง รู้อยุ่เห็นอยู่ซึ่งสัมผัสทางจักษุตามที่เป็นจริง และรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งเทวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจักษุเป็นปัจจัย ที่เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ตามที่เป็นจริง เขาย่อมไม่หลงรักในจักษุ ไม่หลงรักในรูป ไม่หลงรักในความรุ้แจแ้งทางจักษุ ไม่หลงรักในสัมผัสทางจักษุ และไม่หลงรักในเวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจักษุเป็ปัจจัย ทั้งที่เป็นสุข เป็นทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์

       เมื่อไม่หลงรัก ไม่ผุกใจ ไม่หลงใหลไปตาม แต่มีปกติพิจารณาเห็นดทษของสิ่งนั้นๆ อยุ่ดังนี้แล้ว ความยึคดถือในขันธ์ทั้ง ๕ ของเขาก็หยุดฟักตัวในกาลต่อไป ตัณหาคือควาททะยานอยากที่นำไปสู่ภพใหม่อันระคนด้วยความเพลิดเพลินและความกำนัดรัก ซึ่งมีปกติเพลินเฉพาะต่อมารมณ์นั้นๆ ของบุคคลนันก็เสื่อมคลายคืนความเี่าร้อนทางกายก็เสื่อมถอยคลายคืน ความเร่าร้อนทางจิตก็เสื่อมถอยคลายคืน เขาไม้เสวยสุขทั้งทางกายและทางใจ ทิฎฐิความเห็นความเขาผุ้เป็นแล้วอย่าวนี้ ย่อมเป็นสัมมาทิฎฐิ (ความเข้าใจตที่ถุกต้อง) ความคิดของผุ้เป็นแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง) ความเพียรของผุ้เป้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น สัมมาวายามะ ()ความพยายามที่ถูกต้องป ความระลึกของผุ้เป็นแล้วอย่างนี ย่อมเป็นสัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง) คสมาธิของผุ้เป็นแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ(ความตั้งจิตมั่นไว้ในแนวที่ถูกต้อง) กายกรรม วจีกรรม และาบีวะ ของเขาก็บริสุทธิ์ดีแล้วมาตั้งแต่แรก อริยมรรคมีองค์ ๘ ของเขา ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ด้วยอาการอย่างนี้

        เมื่อเขาทำอริยมรรคมีองค์ ๘ สติปัฎฐาน ๔ .. สัมมัปปธาน ๔ ... อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความงอกงามบริบูรณืได้แท้ ธรรม ๒ อย่างของเขา คือ สมถะวิปัสสนา ชื่อว่าเข้าคู่กันได้อย่างแน่นแฟ้น

        อนึ่ง จากผลของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ซึ่งช่วยให้รู้แจ้งสภาวะของธรรมชาติทีเ่ป็นจริง จาการที่ทั้งรุ้และทั้งเห็นนี้เอง จึงเป็นที่ประจักษืชัดว่า การรุ้การเห็นกระบวนการของจิต ที่จะปรุงแต่งอารมณืให้เกิด เวทนา ตัณหา อุปาทาน และสัญโญชน์ ซึ่งเกิดขึ้นเื่องจากอายตนะภายนอกกระทบ หรือสัมผัสกับอายตนะภายในอันได้แก่ทวรต่างๆ แล้วธาตุส่วนละเอียดของอายตนะภายนอกนั้น ย่อนเข้าถึงวิญญาณธาตุต่างๆ ึ่งมีดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงุ้ซ้อนอยู่ โดยมีประสาทต่างๆของกายเนื้อเป้นที่ตั้ง และเป็นสื่อให้ธาตุส่วนละเอียดของอายตนะภายนอกถึงวิญญาณธาตุต่างๆ ทั้ง ๖ และให้วิญญาณธาตุทั้ง ๖ สามารถทำหน้าที่รู้หรือรับรู้อารมร์ภายนอกทั้งหลายเหล่านั้นได้นี่้เอง

      จึงเห็นแจ้งชัด ว่ ประสาทกายเนื้อของทวารทั้งหาย หาใช่เป้นตัวรุ้หรือทำหน้าที่รับรุ้อารมร์จากาภยอก ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ เป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของทวารต่างๆ ซึ่งมีวิญญาณธาตุ และดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิดและดวงรุ้ซ้ออย่ และช่วยเป็นสื่อให้ธาตุละเอียดของอายตนะภายนอกได้สัมผัสกับอายตนะภายใน และในวิญญาณธาตุต่างๆ โดยมีดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรูซอนอยู่อทำหน้าที่รับรุ้เท่านั้นเอง

      ความทจริงข้อนี้ ผุ้เจริญสมาธิภาวนาย่อมประจักษ์ด้วยตนเองว่า ยิ่ง "ใจ" รวมหยุดอยฝุ่ในอารมร์เดยวได้แนบสนิทเพียงใด การรับรู้หรือความรุ้สึกต่อการสัมผัสระหว่างอายตนะภายนอกกับอายตนะภายในหรือทวารต่าวยอมน้อยลงมากเพียงนั้น เพราะยิ่ง "ใจ"หยุด แนบสนิทเป็นจุดเดียวกันวิญญาณะาตุ ซึ่งเป็นธาตุรับรู้ส่วนละเอียด ดันมีดวงเห้น ดวงจำ ดวงคิด (หรือจิต) และดวงรู้ (หรือวิญญาณ) ซ้อนอยู่นั้น ก็ยิ่งไม่ทำหน้าที่รับรุ้อารมร์และปรุงแต่งอารมณืจากาภยนอกที่มาสัมผัสนั้น ด้วยเหตุนี้ ผุ้ที่เจริญภาวนาสามาธิในระดับสูงๆ จึงมีความรุ้สึกในสิ่งที่มาสัมผัสกายน้อยลงๆ หรือได้ยินสรรพสำเนียงจากภายนอกแผ่วเบาลง ตามระดับของใจที่เป้นสมาธิสูขขึ้น นถึงไม่รู้สึกเลยหรือไม่ได้ยินสรรพสำเนียงจากภายนอกเลย ทั้งๆ ที่ประสาทากยเนื้องยังดีๆ อยุ่...

        "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 648853เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2018 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2018 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท