The Five Disciplines


บุคคลเป็นผู้สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเรียกการสร้างทักษะและความสามารถของบุคคลดังกล่าวว่า “กฎหรือวินัย: Discipline”

แนวทาง 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

(The Five Disciplines)             

          Peter Senge ศาสตราจารย์ของสถาบัน MIT ของสหรัฐอเมริกา ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ด้วยกรอบความรู้ 5 สาขา วิชาการ ที่เรียกว่า The five disciplines ซึ่งจะเป็นแนวทางหลักในการสร้างองค์การการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น The five disciplines หรือแนวทางสำคัญ 5 ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นประกอบด้วย

1.      ความเป็นนายของตัวเอง (PERSONAL  MASTERY)การเป็นบุคคลผู้รอบรู้ บุคคลจะต้องมีพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา

2.      ความเชื่อฝังใจ (MENTAL MODEL) มีโมเดลความคิด     บุคคลจะต้องมีจิตใจที่สงบ สะอาด มีพลังที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มีจิตใจที่สามัคคีกันกับบุคคลในองค์กร

3.      ความใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน (SHARE VISION) บุคคลต้องมีพฤติกรรมที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันทั่วทั้งองค์กรรู้เป้าหมายร่วมกัน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร

4.      การเรียนรู้ร่วมกันของทีมอย่างต่อเนื่อง (TEAM LERANING) บุคคลต้องร่วมกันทำงานเป็นทีม เรียนรู้การทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดความคิดที่หลากหลาย และเลือกแนวคิดที่เป็นประโยชน์สูงสุดนำไปปฏิบัติ

5.  การคิดเชิงระบบ (SYSTEMS THINKING) บุคคลต้องมีพฤติกรรมที่เป็นนักคิดอย่างเป็นระบบในสภาวะการณ์ปัจจุบันและในอนาคต การดำเนินกิจการการบริหารย่อมมีความสลับซับซ้อน การเป็นนักคิดที่เป็นระบบมองภาพรวมเห็นชัดเจนอย่างเป็นระบบ และมองแต่ละส่วน อย่างชัดแจ้ง เช่น มองเห็นป่าทั้งป่า และมองเห็นต้นไม้แต่ละต้น จะทำให้บุคคลและองค์กรสามารถอยู่รอดได้

แหล่งที่มา:http://km.women-family.go.th/wp-content/uploads/2006/08/handbook.doc
คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 64882เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2006 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท