กู้ภัย กู้ชีพ


กู้ภัย กู้ชีพ

นายอานนท์ ภาคมาลี(คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

กู้ภัย คือการช่วยชีวิต ผู้ที่ประสพภัย ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ ระหว่างเกิดหรือหลังพิบัติเกิดขึ้นแล้ว จากวงรอบการบริหารจัดการภัยพิบัติ นั้น จะเห็นได้ว่า งานกู้ภัยเป็น งานเล็ก ในหลายงานเมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งบางครั้งอาจะสับสนกับการเก็บกูศพ หรือ งานช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากในประเทศไทยระบบการแจ้งเตือน ,แผนต่างยังไม่เป็นรูปธรรม หน่วยกู้ภัยที่มีองค์ประกอบครบมีน้อยมาก และมีก็ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ตอบสนองได้ทันเวลากับภัยพิบัติ ขั้นตอนการร้องขอที่ดูสั้นในเอกสาร แต่เวลาปฏิบัติจริงมีข้อแม้ข้อขัดข้องมากกมายที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข ซึ่งทำให้การตอบสนองที่จะส่งหน่วยกู้ภัยเข้าพื้นที่ล่าช้า และภาพที่ออกมาคือหน่วยกู้ภัยเข้าไปช่วยเก็บกู้ร่างที่ไร้ชีวิต โดยนานๆครั้งจะมีโอกาสได้ชื่นชมผลงานการช่วยชีวิตที่เกิดจากการเข้าพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วซึ่งส่วนหนึ่ง อาจจะเกิดจากความอึดของคนไทย ที่เคยชินกับความล่าช้า ขั้นตอนการช่วยชีวิตRescue  1..การรับแจ้งและการรายงาน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่ หน่วย รับแจ้งเหตุจาก ผู้ประสพภัยหรือหน่วยอื่น เพื่อให้หน่วยช่วยชีวิต เข้าช่วยชีวิตในพื้นที่ที่กำหนด โดย ในส่วน ผู้รับแจ้ง ต้องรับทราบข้อมูลที่จำเป็นในการช่วยชีวิตขั้นต้น และ กระจายข่าวของส่งข่าวให้หน่วยช่วยเหลือที่ใกล้ที่สุดหรือผู้ที่จะเข้าช่วยเหลือ 2.การวางแผนขั้นต้น เป็นการปรับแผนที่เคยวางไว้ ( ถ้ามี ) ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากปฏิบัติบ่อยๆจะกลายเป็นซึ่งที่ระเบียบปฏิบัติประจำการค้นหาและการเข้าสู่พื้นที่locate ทางบกเช่นการเดินเท้าการขึ้นลงจากที่สูงทางรถยนต์ทางอากาศทางน้ำแบบผสม 3.การเข้าถึงAccess เป็นการใช้ ทรัพยากร , เครื่องมือ , ทักษะความชำนาญ เพื่อที่จะเข้าถึง ผู้ประสบภัยอย่างปลอดภัยทั้งนี้รวมทั้งการนำชุดช่วยเหลือกู้ภัยออกอย่างปลอดภัยดัวยได้แก่ การเจาะเข้าที่เกิดเหตุ และ การช่วยเหลือ ซึ่ง ภาพที่เห็นบ่อย คือ การใช้เครื่อง ตัดถ่าง งัดแงะร่างผู้บาดเจ็บออกมา ซึ่งในทางทหาร บางหน่วย ยังไม่มีด้วยซ้ำ ทั้งที่ในบางครั้งหากอากาศยานตก และนักบินติดในซากอากาศยาน คงต้องได้แต่นั่งมอง หาเอาพานท้ายปืนฟาดกระจกเอา ใน ขั้น ตอนที่ ๓ การค้นหาและการเข้าสู่พื้นที่ locate และ ๔การเข้าถึง Access นี้เองที่ บางหน่วยงาน มีทักษะ ขีดความสามารถ และอุปกรณ์บางอย่าง พอจะช่วยได้เช่น เชือก , อุปกรณ์ลงทางดิ่ง , แต่เมื่อเวลาผ่านไป เทคนิคการกู้ภัย พัฒนา ไปแต่ เทคนิคของงานกู้ภัยในประเทศไทยในงานด้านนี้ กลับขาดการพัฒนาอย่างทั่วถึง และต่อเนื่อง เช่น เชือกลงทางดิ่งที่ตอนนี้ทั่วโลก ไม่ใช้เชือกแบบเกลียว( Laid Rope) แล้ว แต่ ใช้เชือก แบบมีแกน( Kern metal Rope ) แทน และโดยปกติ เชือกจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน ๑๐ ปี แต่นี่เมือไทย บางที่มีมานานแล้ว แต่ ถึงจัดหามาก็เป็นเชือก คล้ายกับเชือกตามตลาด หรือเชือกที่มี นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียว ยังไม่รวมการ อุปกรณ์อื่นๆ เช่นรอกกู้ภัย ที่ น้อยชุดกู้ภัยในประเทศไทย ที่จะใช้งานได้ , ชุดสายรัดตัวในการกู้ภัยที่ หลายท่านเข้าใจว่าทำไมไม่ใช้เชือกแทนล่ะ เหตุผลคือ ในการกู้ภัยที่ต้องมีการค้างตัวบนเชือกเป็นเวลานาน เชือกที่แสวงเครื่องทำสายรัดตัวแบบนี้จะกดทำเส้นเลือดบริเวณขาทำให้ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก อาจเป็นอันตรายถึงพิการได้ แต่ เหตุผลทางวิชาการอาจจะเป็นแรงผลักดันไม่พอที่จะส่งผลการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้จนกว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเตรียมการเคลื่อนย้ายStabilize เป็นการให้การดูแลด้านการแพทย์ ณ พื้นที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะ นำผู้ประสบภัย ออก โดยไม่มีการบาดเจ็บเพิ่มเติม และ ไม่มีอาการที่รุนแรงขึ้น จากที่เป็นอยู่ ในส่วนงานด้านนี้ นั้น ในพื้นที่ ประสบภัยที่สามารถเข้าถึงสะดวกด้วยรถยนต์ ก็ ไม่เป็นปัญหานัก แต่ถ้าเป็นพื้นที่ ที่ถูกตัดขาดนั้น การปฏิบัติดังกล่าว ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ เนื่องจาก งานด้านการพยาบาลสนาม การรักษาพยาบาล ที่ อาจจะมากกว่าการปฐมพยาบาล ทั่วไป โดยที่ไม่ใช้นายแพทย์ เนื่องจาก ความห่างไกลของระยะทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้นในการกู้ชีพ เช่น การห้ามเลือดด้วยการบีบเส้นเลือดใหญ่Clamping , การให้น้ำเกลือ , การลดความกดดันในช่องอก Decompression and Drainage of chest , การทำช่องหายใจฉุกเฉิน Emergency Airway Procedures ) ซึ่ง นายแพทย์หลายคนว่า มันอันตราย หากทำไม่ถูกต้อง ควรซึ่ง ในสถานการณ์ภัยพิบัติบางครั้งหมอคงไปไม่ถึงที่เหล่านั้นหรือนานเกินที่จะรอ การนำส่งพื้นที่รองรับหรือพื้นที่รักษาพยาบาลTransportation เป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ที่อันตราย ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย เพื่อการรักษาขั้นสูงต่อไป เช่นการนำออกจากพื้นที่ป่าภูเขามายัง สนาม เฮลิคอปเตอร์ที่ใกล้ที่สุดเพื่อส่งต่อไปยัง โรงพยาบาล มีขีดความสามารถเพียงพอในการรักษา เช่น การเคลื่อนย้าย ไปยังพื้นที่ รองรับ ( สถานพยาบาล ) ซึ่งการทำงานโดยทั่วไปก็จะใช้เทคนิคเดี่ยวกับการเข้าถึงพื้นที่  อย่างที่ผมเน้นไป งานกู้ภัยบนท้องถนนและงานดับเพลิง ดูเหมือนจะเป็นสาขาการกู้ภัยที่ได้รับการพัฒนา แต่ มองงานกู้ภัยด้านอื่นเรายังห่างชั้นมากดูได้จากเมื่อคราวซึนามิ ทีมกู้ภัยทั่วโลกมาเรากลายเป็นพวกคนล้าหลังไปเลย สาเหตุหลัก คือการที่ งานนี้ขาดคนระดับผู้บริหารที่เติบโตมาจากการทำงานกู้ภัย

กู้ชีพ คือ คนกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลกู้ชีพ(ต้องอบรมต่อยอดจากหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพทั่วไป) เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน(อันนี้เป็นสาขาใหม่ในระบบสาธารณสุข ถูกฝึกมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นผู้ช่วยแพทย์และพยาบาลกู้ชีพ ณ จุดเกิดเหตุ))และพลขับรถกู้ชีพ(คนนี้ต้องมีวิชาการรับรอง แม้กระทั้งจุดจอดรถ หรือการขับในสถานการณ์เร่งรีบ)

หน่วยกู้ชีพ มีหน้าที่หลักสำคัญที่สุด คือการตรวจประเมิน และให้การรักษา ณ สถานที่เกิดเหตุ เพราฉะนั้นการเจ็บป่วย ณ ที่เกิดเหตุไหน มีอาการเพียงเล็กน้อย(ระดับประชาชนเราเคยดูแลตนเองได้ในอดีต)อาจไม่ได้พบเจอหน่วยกู้ชีพ

นึกภาพง่ายๆ คือการย้ายห้องฉุกเฉิน ไปตั้งไว้ที่บ้านคุณ หรือข้างถนน หรือที่ไหนก็ได้แล้วแต่ที่มีผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บนั่นแหละ(ง่ายดี)เพราะบางการเจ็บป่วย เวลาอันรวดเร็วที่ต้องได้รับการรักษา อาจหมายถึงการรอดชีวิต หรือไม่พิการซึ่งตรงนี้แตกต่างจากการขับรถเร็วๆและเร่งรีบเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ/ผู้ป่วย ออกจากที่เกิดเหตุ หน่วยกู้ชีพเน้นเรื่องการตรวจประเมิน ให้การรักษาที่จำเป็นก่อน และเคลื่อนย้ายอย่างเหมาะสมที่สุด ด้วยอุปกรณ์ปริมาณมากที่มีอยู่บนรถกู้ชีพ เราไม่เน้นความเร็วเท่านั้น แต่ต้องเน้นเรื่องคุณภาพการรักษา และผลสุดท้ายคนไข้ได้กลับบ้านด้วย

ตรงนี้ประชาชนหลายท่านยังไม่เข้าใจ ส่วนมากเน้นเรื่องความเร็ว แต่ลืมไปว่าทีมที่อยู่ตรงหน้า ก็คือ ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ที่ท่าน(หรือญาติ)กำลังจะไปนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความประณีต มีผลมากกว่า ความเร็ว

หมายเหตุ กู้ภัย กู้ชีพ การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การสร้างเครือข่ายกับนานานชาติ การเข้าร่วมกับสมาคมกู้ภัย กู้ชีพ กับต่างประเทศ มีการเสริมทักษะ บุคลากรให้ได้รับการฝึกจนเกิดความชำนาญ การเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี การประสานงาน การวางแผนงานกับหน่วยงานต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 648711เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2018 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2018 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท