อาหารเพิ่มเกล็ดเลือด และการเพิ่มเกล็ดเลือดด้วยวิธีธรรมชาติ


อาหารเพิ่มเกล็ดเลือด และการเพิ่มเกล็ดเลือดด้วยวิธีธรรมชาติ

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ

เกล็ดเลือด คือ เซลล์เม็ดเลือดที่ช่วยทำให้เลือดสามารถจับตัวเป็นลิ่ม หรือเป็นก้อน ผู้ป่วยสามารถสังเกตุอาการ เช่น อาการเหนื่อยล้า, เลือดออกตามรอยฟัน หรืออาการฟกช้ำได้ง่ายเมื่อเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

โรค หรืออาการอื่นๆที่สามารถส่งผลให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดมีดังนี้ เช่น ลูคิเมีย, การติดเชื้อ, ภาวะแซกซ้อนจากการรักษาโรคมะเร็ง, โรคพิษสุรา, ภาวะตับแข็ง, ม้ามโต, การติดเชื้อในกระแสเลือด และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เป็นต้น

เมื่อผู้ป่วยได้ทำการตัดเลือด และเกล็ดเลือดแล้วนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา ส่วนกรณีที่ตรวจพบว่าภาวะเกล็ดเลือดต่ำอยู่ในระดับกลาง หรือไม่รุนแรงนั้นสามารถช่วยได้โดยการับประทานอาหารให้ถูกต้อง และการทานอาหารเสริมควบคู่ไปด้วย

 อาหารเพิ่มเกล็ดเลือด

อาหารที่วิตามิน และแร่ธาตุสูงมีส่วนช่วยให้ร่างกายสร้าง และรักษาระดับของเกล็ดเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย ซึ่งในปัจจุบัน มีอาหารเสริมหลากหลายชนิดในท้องตลาดที่สามารถให้วิตามิน และแร่ธาตุในจำนวนมากได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ สะอาด และครบหมู่ ยังถือเป็นแนวทางการเพื่อเกล็ดเลือดที่ทรงประสิทธิภาพอยู่

วิตามิน B 12

วิตามิน B 12 มีส่วนช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดมีสุขภาพดี ภาวะขาดวิตามิน B 12 จึงส่งผลต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โดยอาหารที่มีวิตามิน B 12 สูง ได้แก่

  • ตับวัว
  • ไข่ไก่
  • หอยกาบ

ทั้งนี้ยังพบว่า วิตามิน B 12 พบได้มากในผลิตภัณฑ์จากนมโค อย่าไรก็ตาม จากงานวิจัยพบว่า นมโคมีส่วนในการรบกวนกระบวนการสร้างเกล็ดเลือด

โฟเลต

โฟเลต คือ วิตามิน B ที่ช่วยดูแลเซลล์ และเซลล์เม็ดเลือด สามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น

  • ถั่วลิสง
  • ถั่วขาวตาดำ
  • ถั่วแดง
  • ส้ม และน้ำส้มคั้น

ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่มีคุณภาพ แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่

  • หอยแมลงภู่
  • เมล็ดฝักทอง
  • ถั่วเลนทิล
  • เนื้อวัว

วิตามิน C

วิตามิน C ช่วยให้เกล็ดเลือดสามารถเกาะกลุ่มกัน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยในการดูดซับธาตุเหล็กซึ่งช่วยเพื่อการสร้างเกล็ดเลือดอีกทางหนึ่ง อาหารที่มีวิตามิน C สูง ได้แก่

  • มะม่วง
  • สับปะรด
  • ผักบรอกโคลี
  • พริกหยวก
  • มะเขือเทศ
  • ผักกะล่ำ
หมายเลขบันทึก: 648703เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท