อาตยะ ๑๒, ธาตุ ๑๘ ตอนที่ ๓


          

          เมื่อจิตใจถุกกิเลสเข้ามาย้อมและดลจิตดลใจอยู่นั้น ก็จะเห็นสีน้ำเลี้ยงจิตเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของกิเลส ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

           เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา จึงพึงมีสติสัมปชัญญะ พืจาราเห็นเว่ทาในเวทนา ทั้งภายในและภายนอกอยู่เสมอว่า การเสวยอารมร์สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ของสัตว์ผุ้ที่ยังมีอวิชชาครอบคลุมจิตใจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเสวยเวทนาโดยมีอสมิสหรือไม่ก็ตาม ย่อมเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจับยเสมอ แลถุถ้เาหารปล่อยจิตใจเลื่อยลอยไปตามอารมณ์โดยปราศจากการคุ้มครองรักษาให้สงบหรือสัติแล้ว ย่อมจะเป็นช่องทางให้กิเลส ตัณหาและอุปาทานคือความยึดมั่นถือมัี่นในเวทนาและเหตุปัจจัย (ผัสสะระหว่า อายตนะภายนอกกับ อายตนะภายใน และจักขุวิญญาณเป็นต้น) ให้เกิดเวทนาทั้งหลายได้ อันเป้นทางให้เกิดโทษทุกข์แก่ตนได้ เพราะที่ทแ้จริงแล้ว เวทนาทั้งหลายเหล่านั้น หาได้จีรังยั่งยืนให้ยึถือได้ตลอดไปไม่ ย่อมมีการเกิดขึ้น แล้วก็เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา

         เมื่อเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของเวทนาดังนี้แล้ว แม้จะรู้ว่า เวทนามีอยู่ ก็มีสติสัมปชัญญะระลึกได้ว่า สักแต่เป้นเวทนา ซึ่งหามีสาระแก่นสารให้ยึดถือได้แต่อย่างใดไม่ ทำให้คลายความยคึดมั่นถือมั่นในเวทนาและ เหตุปัจจัย (ผัสสะระหว่า อายตนะภายนอก กับ อายตนะภายใน และจักขุวัิญญาณเป็ต้น ) ให้เกิดเวทนาทั้งหลายลง จิตใจก็จะพลอยสงบระงับเพราะความหลงผิดสิ้นไป กิเลสตัณหาก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาย้อมหรือดลจิตให้เป็ไปตามอำนาจของมันได้ เมื่อกิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป้นเหตุแห่งทุกข์ฺดับ ทุกข์ก็ดับ หรือไม่เกิด

       การมีสติพิจารณาเห็นเวทนาในวเทนา จนเห้นธรรมคือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปของเวทนา อย่างนี้ ย่อมเป้ฯทางให้เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ (นิพพิทา) ความหนัด (วราคะ) หลุดพ้น(วิมุตติ) บริสุทธิ์ (วิสุทธิ) และสงบ (สันติ) อันเป้นผบให้เกิดความสุขจากความสงบกาย วาจา และใจดังพระพุทธภาษิตที่ว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขฺ แปลความว่า สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ (กาย วาจา ใจ) ย่อมไม่มี

        การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรมกายนั้น มีอุบายทำให้ใจหยุดใจน่ิงอยุ่นอารมร์เดียวแนบสนิท ตรงศุนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ว฿่งให้ผลทั้งในด้านสมถะ อันช่วยหจิตใจใสสะอาดบริสทุธิ์จากิเลสนิวรณืทั้งหลาย จึงสามารถเห็นอรรถเห็ฯธรรมได้ชัดแจ้ง และทั้งสามารถเจริญวิปัสสนาปัญญา และโลกุตรปัญญาจาการที่ได้ทั้งรู้ และทั้งเห็นสภาวะของธรรมชาติตามที่เป้นจริง ปละเห็นแจ้งในสัจจธรรมท้งหลายได้โดยละเอียด ดังนี้ จึงเป้ฯธรรมาวุธอันคมกล้าที่จะใช้ปหาร อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

        เมื่อพิจารณาสภาวธรรม คือเวทนาในเวทนาแล้ ก็ให้ทำนิโรธ พิสดารธรรมกายจนสุดกายหยาบกายละเอียดเป็น เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ปล่อยอุปาทานในขันธ์ของกายในภพ ๓ และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติเสียได้แล้วธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียเดข้าอายตนะนิพพานถอดกาย เข้าซ้อนสังทับทวีกับพระนิพพานในพระนิพพานที่ละเอียดๆ ต่อไปจนสุดละเอียด แล้วตรึกนิ่ง ฟังตรัสรู้ในนิดรธในธรรมที่ควรรรู้ แลวคำนวณรู้ที่ตรัสรู้ในนิโรธของพระพุทธเจ้า จักรพรรดิ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด นับอสงไขยอายุธาตุ อายุบารมี ไม่ถ้วยจนตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพานเป็น ซ้อนหยุดนิ่งแน่นกับพระนิพานต้นๆ ต่อไปจนสุดละเอียด..

        "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย" 

หมายเลขบันทึก: 648699เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท