ครูพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ Mr.Natthawut Suriya

ปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Phenomenology)


ปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนาได้รับการพัฒนาโดย Edmund H. Husserl ในปี ค.ศ. 2505 

ซึ่งพยายามเน้นและอธิบายเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน (Smith, Flowers, and Larkin 2009; p16)

 ผลงานของ Husserl มีแนวทางที่จะศึกษาถึงระดับของจิตสำนึกและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในโลกที่เกิดจากจิตสำนึกของมนุษย์ว่าเป็นอย่างไร ปรากฏการณ์วิทยาเชิงเชิงพรรณนาช่วยให้นักวิจัยศึกษาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของประสบการณ์ของมนุษย์โดยกระบวนการสะท้อนคิด (Smith, Flowers, and Larkin 2009; p16) 

Giorgi (1995) เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องในการพัฒนางานของ Husserl ซึ่งได้นำเสนอขั้นตอนที่มีประโยชน์ในการนำไปสู่การศึกษาปรากฏการณ์วิทยาเชิงเชิงพรรณนา

 ซึ่งแนวทางนี้มี 4 ขั้นตอน 1) การกำหนดกรอบ (Bracketing) 2) การรู้โดยสัญชาตญาณ(intuiting) 3) การวิเคราะห์ (analysing) 4) การพรรณณา (describing) (Polit and Beck 2017) 

ซึ่งแนวคิดเรื่องการกำหนดกรอบ (Bracketing) เป็นแนวคิดที่สำคัญในแนวทางนี้เนื่องจากช่วยให้นักวิจัยพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของความคิดและทฤษฎีในปรากฏการณ์โดยการค้นหาความจริง โดยที่ไม่มีการคิดล่วงหน้าหรือถ้ามีผู้วิจัยจะต้องแยกออกจากสิ่งที่กำลังศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Gerrish and Lathlean 2015) 

แต่อย่างไรก็ตาม Heidegger ยังอ้างว่างานของ Husserl เป็นทฤษฎีและนามธรรมมากเกินไป  และ Heidegger ชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์ของมนุษย์ถูกแต่งเติมจากประสบการณ์และความรู้ในอดีต 

ดังนั้นความคิดในการกำหนดขอบเขต(Bracketing) ไม่ควรถูกนำมาใช้เนื่องจากไม่สามารถที่จะจำกัดสิ่งที่อยู่ในโลกและอาจเป็นอุปสรรคต่อการตีความ (Polit and Beck 2016) 

สิ่งสำคัญคือในการสำรวจคือการที่มนุษย์นั้นตีความประสบการณ์ของตนเองอย่างไร (Parahoo 2014) 

นอกจากนี้ Van Manen (1990) ได้วิจารณ์ผลงานของ Giorgi ว่าไม่ได้พยายามที่จะแปลความหมายของประสบการณ์เหล่านั้นเลย นอกจากนี้ยังพบว่ามีความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างวิธีการวิจัยการเชิงพรรณาและวิจัยเชิงตีความของปรากฏการณ์วิทยา 

ซึ่งวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความหมาย(Interpretative Phenomenological Analysis: IPA)จะเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่แต่ละบุคคลนั้นประสบในเหตุการณ์นั้น ในทางตรงกันข้ามการวิจัยเชิงเชิงพรรณนา(Descriptive Phenomenology) จะมุ่งเน้นและศึกษาไปที่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์(Parahoo 2014).

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับผม บทความต่อไปผมจะพูดถึง ปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความหมาย(Interpretative Phenomenological Analysis) ที่ผมได้นำมาใช้กับงานวิจัยของผม ซึ่งแน่นอน ปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความหมาย(IPA) ยังเป็นสิ่งที่ใหม่สำหรับคนทั่วๆไป เราสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ครับ 

รวบรวมข้อมูลโดย นายณัฐวุฒิ สุริยะนักศึกษาปริญญาเอก the University of Edinburgh Scotlandทุนสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข..

.................'Every moment what I learn is an ingredient of knowledge and experience'....................................

หมายเลขบันทึก: 648476เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2018 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2018 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ค้นมาเจอคนกันเอง…คือดี….ขอบคุณนะครับ

รายละเอียดมีเยอะกว่านี้มาก ถ้าไม่เข้าใจกับสอบโดยตรงได้เลยนะครับ วิทิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท