อาบัติคือบาปโทษ


อาบัติ คือการต้อง, การล่วงละเมิด, เป็นโทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท หรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาษิต 

มีโทษ ๓ สถาน คือ 

1. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ 

2. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส 

3. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน 

อาบัติ 7 อย่างนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายแบบโดยมากจัดเป็น 2 คือ

1.ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส)

2. ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ 5 อย่างที่เหลือ);

หรือจัดเป็นคู่คือ 

1. ทุฏฐลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ

2. อทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ;

1. อเทสนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง

 2. เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง คือเปิดเผยความผิดของตน

และจัดเป็นคู่แบบตรงกันข้ามคือ    1. อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก)

2. สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ 6 อย่างที่เหลือ);

1. อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ

 2. สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ;

 1. อัปปฏิกัมม์ หรือ อปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้ คือแก้ไขไม่ได้

 2. สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้

พระพุทธเจ้าได้กำหนดสิกขาบทหรือพระวินัยไว้ให้ปฏิบัติตามหรือเรียนรู้เพื่อประโยชน์ 10 ประการ 

1.เพื่อความดีแห่งหมู่สงฆ์

2.เพื่อความสำราญ (ไม่เดือดร้อน) แห่งหมู่

3.เพื่อกำจัดบุคคลเก้อยาก (หน้าด้าน, ไม่ละอาย)

4.เพื่อความอยู่เย็นผาสุกแห่งผู้มีศีลเป็นที่รัก

5.เพื่อระวังป้องกันอาสวะที่เกิดในปัจจุบัน(กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต)

6.เพื่อระวังกำจัดอาสวะ(กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต) ที่จะมีต่อไปวันข้างหน้า

7.เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส

8.เพื่อความเจริญยิ่งๆ ของผู้เลื่อมใสแล้ว

9.เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม (ธรรมอันดี)

10.เพื่ออุดหนุนหรือถือตามพระวินัย 

คำสำคัญ (Tags): #อาบัติ#วินัยพระ
หมายเลขบันทึก: 648409เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 03:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 04:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท