จิตตานุสติปัฎฐาน (แนวปฏิบัติวิชชาธรรมกาย)


            แนวทางปฏิบัติภาวนาธรรมตามแนววิชชาธรรมกายย ที่ให้ผุ้ปฏิบัติะรรมรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ผ่านกาย วเทนา จิต และธรรม หรือที่รุ้กันในหมู่ผู้ปฏิบัติว่า พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียดแล้วก็ให้รวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดไว้ ณ ศุนย์กลางกายพระอรหัตที่ละเอียดที่สุดอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของใจ ให้เห็นใส ละเอียด สะอาด บริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองอู่เสมอนั้น ก็คือ

              การปฏิบัติภาวนาที่ให้ผลเป็นการดับกิเลสจากจิตใจของกายหยาบไป สู่จิตใจของกายละเอียด ที่เรียกว่า "ดับหยาบไปหาละเอียด" ไปจนสุดละเอียดนี้เอง ชื่อว่า "นิโรธ" ดับสมุทัย คือเป้ฯธรรมเครื่องปหานหรือำจัดอนุสัยกิลสที่ละเอียดๆ และนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานนั้นให้หมดสิ้นไป ด้วยโลกุตรปัญญา ของธรรมกายอันเปริญขึ้นแล้ว พร้อมด้วย "วิชชา" ธรรเป็นเครื่องรู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมและสภาวะของสังขาร/สังขตธรรม และวิสังขาร/อสังขตธรรม ตามที่เป็นจริง  จากการที่ได้ทั้งรุ้และทั้งเห็น นั่นเอง

              และในขณะเดียวกัน การเจริญภาวนาดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการถอดขันธ์จากกายโลกิยะทั้ง ๘ ซึ่งเป็นกายที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ ไปสู่กายที่ละเอียดบริสุทธิ์ผ่องใสกว่า คือ ธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นกายที่้พ้น ภพ ๓ ไปแล้ว และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเป็นวิสังขาร/อสังขตธาตุอสังขตธรรมล้วนๆ อันไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ แลับมีสภาวะที่เทียง (นิจฺจํ) เป็นบรมสุข )รมํ สุข์) และยังยืน(ธุวํ) อันเป็นอัตตลักษณะที่ตรงกันข้ามกับอนัตตลักษณะของสังขาร/สังขตธรรม โดยสิ้นเชิง

            ผลจากการเจริญภาวนาดังกล่าวนี้เอง ที่สามารถให้เห็นธรรมคือการเกิดขึ้นและความเสื่อไปในจิต เป็นทางให้เกิดความเบื่อหย่ายในทุกข์ และเป็นให้คลายจากความกำหนัดยินดี ให้จติวิมุตติหลุดพ้นจากิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมทีปฎิบัติได้ และเสวยสุขด้วยความสงบด้วยปัญญาอันเป็นชอบต่อไป

             เมื่อเจริญภาวนามาถึงเพียงนี้ ย่อมประจักษ์ในความจริงที่ว่า ณ ศุนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งถาวรของใจและกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เอง คือ ทางายเอก หรือเกอายมรรค ทงไปของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย

            ณ ศูนย์กลางกายนี้ แม้แต่ผุ้)กิบัติะรรมที่ยังไม่ถึงธรรมกาย หากหมั่นเจริญภาวนารวมใจให้หยุด ให้นิ่งลงไปที่กลางของกลางนี้ไว้เสมอทุกอิริยาถ ก็ยังได้ผลในทางกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายดีกว่า่ไปจรดใจไว้ที่อื่น เพราะการจริดในไว้ ณ กลางของกลางศุนย์กลางกายนี้ ใจจะหยุด งบ และสงัด จากกิเลสนิวรณื ไม่ฟุ้งซ่านไปรับอารมณ์ภายนอกไม่ปรุงแต่งอารมณ์ให้เกิดกิเลสสัญญโญชน์ ให้ต้องเียนว่ายตายเกิดและเป็นทุกข์อีก

           ธรรมปกิบัติให้ "ใจหยุด" นั้นแหละเป็นตัวสำเร็จ เพราะถูกทางสายกลาง คือ กลางของกาย เวทนา จิตและธรรม ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งอยุ่ตรงหรือในแนวเดียวกันกับอายตนะนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์และที่เป็นบรมสุขนั่นเอง..

           "หลักและวิธีปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้น ถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 648404เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท