โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)


โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)

นายอานนท์ ภาคมาลี(คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หมายถึง พยาธิสภาพที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง จากภาวะหลอดเลือดเลี้ยง ที่เกิดจากการ ตีบ อุดตัน หรือแตก ซึ่งเป็นสาเหตุการณ์ตาย และกลายเป็นผู้พิการถาวร มีแนวโน้ม การตายจากโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าความดันโลหิตสูง เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

อาการของโรค มีการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือทันที่ทันใด อาจเป็นๆหายๆ หรือค่อยๆเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น โดยมีอาการแสดงดังนี้ ร่างกายอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ปวดศีรษะ อาเจียน ซึมไม่รู้สึกตัว เวียนศีรษะ ตามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  1. ผู้ป่วยที่มีภาวะ หรือโรคความดันโลหิตสูงเพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  2. ผู้ป่วยเบาหวาน
  3. ผู้สูบบุหรี่
  4. ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
  5. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  6. ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
  7. ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ อันดับแรกๆ จึงควรป้องกันดังนี้

  1. ลดอาหารเค็มเพื่อสุขภาพ เลือกกินอาหารที่มีรสชาติพอดี ไม่เค็มไม่หวาน ให้ชิมก่อนเครื่องปรุงรส หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารสจัด อาหารแปรรูป
  2. เพิ่มการกินผัก และผลไม้
  3. ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง
  4. งดหรือเลิกสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  5. เคลื่อนไหวออกกำลังกายทุกๆวัน วันละ 20 – 30 นาที
  6. เรียนรู้วิธีผ่อนคลาย ความเครียดให้กับตนเอง
  7. ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  8. ตรวจสุขภาพ วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การปฏิบัติตน สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

  1. กลุ่มที่มีความดันโลหิตแนวโน้มสูง (120 – 129/80 – 89 mmHg)
  2. กลุ่มที่มีความดันโลหิตสูง (140 /90 mmHg)
  • ควรตรวจวัดความดันโลหิต ปีละ 1 ครั้ง
  • ลดการกินอาหารเค็ม ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินหรืออ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์ งดบุหรี่ จะเป็นผลดีขึ้นภายใน 3 – 6 เดือน และการปฏิบัติต่อเนื่อง
  • ควรไปตรวจวัดความดันโลหิตตามแพทย์นัด เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • เริ่มต้นเดี๋ยวนี้ในการดูแลตนเอง ทั้งการกิน การออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหว การควบคุมน้ำหนัก และงดการดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
  • เรียนรู้วิธีผ่อนคลายความเตรียด การจัดการในภาวะความดันโลหิตสูงและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งมีภาวะความเสี่ยงสูง ถึง 1 ใน 3 ของผู้ที่จะเกิดโรค รวมทั้งภาวะหัวใจล้มเหลวและภาวะไตวาย อีกด้วย

ข้อพึงสังเกต

  1. การรักษาจะช่วยทำให้ความดันโลหิตลดลง แต่ไม่ได้แสดงว่าหายจากโรคแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ากลับไปมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นเดิม ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ และยังเสี่ยง ต่ภาวะแทรกซ้อนด้วย
  2. การปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองมีความสำคัญมาก ที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องตลอดไป เพราะจะทำให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติอยู่ได้
  3. ต้องไปพบแพทย์ทันที่ ถ้ามีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ตามัว หรือเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หรืหายใจลำบากตอนกลางคืน หรือมีปัสสาวะน้อยโดยเฉพาะกลางคืน และมีเลือดปนออกมา

 

การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

         เบาหวานเป็นความผิดปกติ ของร่างกายที่ไม่สามารถใช้น้ำตาลในร่างกายได้ตามปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้มีความเสื่อมต่ออวัยวะต่างๆของร่างกาย และหากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลสุขภาพของตนให้ดี ก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน เช่นอาการหมดสติ รวมทั้งอาการแทรกซ้อนแบบเรื้อรังที่ค่อยๆเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ยาที่รักษาให้ เหมือนเดิมอีก เช่นความดันโลหิตสูง จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย หัวใจล้มเหลว เส้นเลือดแดงส่วนปลาย ประสาทตาอักเสบ หลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์ อัมพาต)

การป้องกันโรคแทรกซ้อนเหล่านี้

       ที่ดีที่สุด การควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี และปัจจัยเสี่ยง ต้องควบคุมให้ได้ คือ การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันผิดปกติ แนวทางการดูแลสุขภาพ 5 เรื่อง หลักที่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอได้แก่

  1. การบริโภคอาหารที่สมดุลกับสุขภาพ
  2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. การจัดการภาวะเบาหวาน การปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์
  4. งดบุหรี่ และลดการเพิ่มการดื่มแอลกอฮอล์
  5. มีจิตใจสบาย และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
หมายเลขบันทึก: 648398เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท