อาสวะ


           กิเลสละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานของสัตว์ ชื่อว่า "อนุสัย" วิธีเจริญจิตตานุปัสสาสติปัฎฐาน คือ การมีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต เพื่อกำจัดหรือปหาน(ละ) กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ ประเภทของ 

           "อาสวะ หมายถึง อกุศลธรรมคือกิเลสเครื่องหมักดองในจิตตสันดานของสัตว์ มี ๔ ปรเภท คือ 

           - กามาสวะ คือ อกุศลธรรมที่เป็นเครื่องหมักดองจิตตสันดานสัตว์อันเป็นเหตุให้มีควาททะยานอยากและยินดี พอใจ ในกามคุณทั้ง ๕ 

           - ภวาสวะ คือ อกุศลธรรมที่เป็นเครื่องหมักดองจิตตสันดานของสัตว์อันเป็นเหตุให้อยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือที่รวมเรียกว่า มีความยินดีในภพภูมิต่างๆ

           -ทิฎฐาสวะ คือ อกุศลธรรมที่เป็นเครื่องหมักดองจิตตสันดานของสัตว์อันเป็นเหตุให้มีความยินดี พอใจ ในความเห็นผิด และ

           - อวิชชาสวะ คือ อกุศลธรรมที่เป็นเครื่องหมักดองจิตตสันดานของสัตว์ อันเป็นเหตุให้มีความยินดี พอใจ ในความไม่รู้สัจจธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่รู้ในสภาวะของธรรมชาติทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัย ปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ตามที่เป็นจริง

           รวมเป็นอาสวะ ๔ อย่างด้วยกัน แต่ถ้าจะกล่าวโดยหลักใหญ่ๆ ก็มีเพียง ๓ คือ กามาสวะ ภาวสวะ และอวิชชาสวะ เท่านั้น 

          ส่วนทิฎฐาสวะ นั้นเป็นแต่เพียงประเภทย่อมที่แยกมาจากอวิชชาสวะนั่นเอง

          อาสวะเหล่านี้เองที่เป็นเครื่องมักดองจิตตสันดานของสัตว์ เอบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็นอยู่ในเห็น จำ คิด รู้ เป็นรส เป็นชาติเจืออยู่ในเห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์ผุ้ที่ยังไม่บรรลุ มรรค ผลนิพพาน เป็นเหตุให้มีความทะยานอยากและยินดี พอใจ ในกามคุณและในภพภูมิต่างๆ และประการสำคัญที่สุดก็คือ เป็นเหตุให้ยินดีพอใจในความเห็นผิดและไม่รู้ สัจจธรรม หรือไม่รู้สภาวธรรมตามที่เป็นจริง แล้วก็จะสะสม ตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดานของสัตว์ ในลักษณะของ "อนุสัย" ที่เป็นเครื่องห่อหุ้ม เห็น จำ คิด รู้ เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างในจิตตสันดานของสัตว พร้อมที่จะฟุ้งขึ้นมาพร้อมกับอุศลจิต เมื่อจิตออกไปยึดไปเกาะเดียวกับอารมณ์ภายนอกต่างๆ 

           ถ้าหากว่าผุ้นั้นประมาท ขาดสติสัมปชัญญะ รู้สึกผิด ชอบ ชั่ว ดี บาป บุญ คุณ โทษ หรือทางเจริญ ทางเสื่อม แล้วปล่อยให้จิตใจเลื่อนลอยตามอารมณ์นั้นแล้ว กิเลสที่เกิดขึ้นพร้อมกับอกุศลจิตนั้นก็จะมีอำนาจเหนือจิตใจ แล้วดลจิตดลใจให้ปฏิบัติหรือประกอบอาุศลกรรมด้วยกาย วาจา และใจ อันเป็นผลให้เกิดโทษ หรือความทุกข์ เดือดร้อนแก่ตนเองและผุ้อื่นต่อไป

          อาจกล่าวได้ว่า "กิเลสทั้งปวง นับตั้งแต่อวิชชา ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งกลายที่รวมเรียกว่า สมุทัย นั้น ต่างก็ประชุมรวมลงอยุ่ใจิตจของสัตว์ คือในเห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การแก้หรือปหานกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะต้องแก้ที่จิตใจ คือที่ เห็น จำ คิด และรู้ นี่เอง กิเลสจึงจะดับหมด แล้วธรรมกายจึงนะปรากฎขึนใสสว่าง สะอด บริสุทธิ์ ขยายส่วนใหญ่โตออกไปได้เต็มธรรม แล้วก็จะไม่กลับมัวหมองและไม่กลับเล็กเขช้ามาอีก เพราะเบิกบานเต็มที่ เหมือนดอกบังที่บานแล้ว ก็จะเห็นธรรมกายนั้นใสสว่างอยู่ทุกเมื่อ...

         "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้น ถึงธรรมกาย"

         

คำสำคัญ (Tags): #อาสวะ
หมายเลขบันทึก: 648311เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2018 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2018 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท