หัตถกรรมหมวกเปี้ยวใบลาน บ้านโคกลาน


นางเสียน  เสนเดช
1. ข้อมูลพื้นฐาน

- เป็นผู้ริเริ่มตั้งกลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน บ้านโคกลาน
- ภูมิปัญญาด้าน   หมวกเปี้ยวใบลาน
- ที่อยู่   หมู่ที่ 8  ตำบลบ้านราม  อำเภอหัวไทร  จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อายุ   61 ปี
- อาชีพหลัก   เกษตรกร
- การศึกษา   ป.4
- ประสบการณ์   30  ปี
- ปัจจุบันทำกิจกรรม   เกษตรกร และ อาชีพเสริมเป็นการทำ หมวกเปี้ยวใบลาน
2. ประวัติความเป็นมาของกลุ่มอาชีพ หมวกเปี้ยวใบลาน
กลุ่มหมวกเปี้ยว บ้านโคกลาน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านราม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช  อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลานได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ ตามโครงการหมู่บ้านพิทักษ์ป่า รักษาสิ่งแวดล้อม ในพ.ศ. 2545 ได้รับงบประมาญจากกรมป่าไม้เป็นเงิน 20,000 บาท กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน มีสมาชิกทั้งหมด 23 คน นอกจากทางกรมป่าไม้จะให้การสนับสนุนแล้ว ทางศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหัวไทร ได้เข้ามาให้การเรียนรู้ในเรื่องกระบวนการกลุ่ม และออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ ๙งทางกลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน บ้านโคกลาน คือ รากฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของคนในชุมชนได้ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนาบ้านโคกลาน
นางเสียน   เสนเดช  ผู้ริเริ่มตั้งกลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน บ้านโคกลาน และเบื้องหลังความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากคู่ชีวิต  คือ นายมนูญ  เสนเดช  ซึ่งมีฝีมือในการออกแบบหมวกสวยงามให้กับทางกลุ่ม
3. หัตถกรรมหมวกเปี้ยวใบลาน
  หัตถกรรมเป็นงานฝีมือที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์โดยการนำเอาวัสดุธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานหัตถกรรมที่ผลิตขึ้นมาในท้องถิ่นส่วนหนึ่งจะมีการสืบทอดต่าง ๆ กันมาจนเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ 
การผลิตงานหัตถกรรมมีหลายลักษณะ เช่น การทำเครื่องจักสาน การแกะสลัก การทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา การปั้นรูปและลวดลายประดับ เป็นต้น ในบรรดาหัตถกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมประเภทที่มีการผลิตกันมาช้านาน และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
การผลิตเครื่องจักสานมีการผลิตที่มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และสภาพทางสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นแหล่งหนึ่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติภายในท้องถิ่นซึ่งเอื้อต่อการนำมาผลิตงานหัตถกรรม ภาคใต้จึงเป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงหลายอย่าง เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศภาคใต้เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ราษฎรมีการสร้างงานหัตถกรรมเครื่องจักสานขึ้นใช้มาก โดยเฉพาะ “ลาน” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เจริญงอกงามได้เป็นอย่างดีในภาคใต้ ชาวบ้านภาคใต้จึงได้คิดประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากใบลาน 
ในอดีตนั้นชาวบ้านนิยมนำใบลานมาทำเป็นวัสดุในการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมโดยการใช้ใบลานตากแห้งมาผลิตงานจักสานขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนหรือทำเป็นของเล่นเด็ก โดยมีรูปแบบ ลวดลาย รูปทรงต่าง ๆ เช่น หมวกเปี้ยว ตะกร้า กระเป๋าถือ กล่องใส่ของใช้เล็ก ๆ เป็นต้น 
หัตถกรรมใบลานมีแพร่หลายในอำเภอหัวไทร เชียรใหญ่ ปากพนัง ชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จึงมีการริเริ่มส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 โดยเฉพาะบ้านโคกลาน ตำบลบ้านราม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งหนึ่งที่มีการผลิตหัตถกรรมจากวัตถุดิบประเภทใบลานที่มีชื่อเสียงของอำเภอหัวไทร เนื่องจากชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิต มีขั้นตอนและวิธีการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีการคิดรูปแบบ และการคิดประดิษฐ์ลวดลายที่สวยงาม จึงทำให้หัตถกรรมหมวกเปี้ยวใบลานได้รับการสนับสนุน ด้านงบประมาณและ องค์ความรู้จากองค์กรภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้หัตถกรรมหมวกเปี้ยวใบลานยังมีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และยังมีการสืบทอดหัตถกรรมแขนงนี้จนเป็นที่รู้จักของผู้คนทั้งในและจังหวัดใกล้เคียง
4. กระบวนพัฒนาอาชีพ
4.1 กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ ใช้เทคนิค การมีส่วนร่วมเพื่อระดมความคิดแสวงหาหนทางการการพัฒนาอาชีพ เข้าร่วมอบรมกับหน่วยของรัฐ
4.2 บริหารการจัดการ แบ่งฝ่ายรับผิดชอบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์
5. จุดเด่นของสินค้า/ผลิตภัณฑ์
หมวกเปี้ยวใบลาน เป็นงานฝีมือที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์โดยการนำเอาวัสดุธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ ซึ่งมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาของชาวบ้าน มีเอกลักษณ์เฉพาะ
6. เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน
ในการให้ความรู้แก่นักเรียน เป็นฐานการเรียนรู้ของลูกเสือ เนตรนารี นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน แวะเวียนมาดูงานอยู่อย่างต่อเนื่อง
7. ขั้นการเตรียมใบลานและวัสดุอุปกรณ์
7.1 การเตรียมใบลาน
7.1.1 การคัดเลือกใบลาน
7.1.2 การตัดยอดลาน
7.1.3 การเก็บรักษาใบลาน
7.2 การเตรียมวัสดุอุปกรณ์
7.2.1 เชือก
7.2.2 เข็มมุด
7.2.3 มีด
7.2.4 เส้นด้าย

เส้นด้าย

7.2.5 ใบลาน

7.2.6 หวาย

7.2.7 กันเปี้ยว

7.2.8 เหล็กไช

7.2.10 เข็มเย็บหมวก

7.2.11 ดินสอ

8. ขั้นตอนการทำ
8.1 นำใบลานที่ตากแห้งแล้วมาเหลาแกนตรงกลางออกให้มีความบาง 

8.2 นำใบลานมาพับครึ่งและปาดตรงกลางออกพอประมาน

8.3 ขั้นตอนการตั้งหัวโดยใช้เข็มเย็บกับเส้นด้าย แล้วนำใบลานที่ตัดส่วนตรงกลางออกมาร้อยลงไปในเข็ม

8.4 ผูกมัดรวมกันให้แน่นเพื่อที่จะตั้งหัวหมวก

8.5 เหลาแกนตรงกลางของใบลานออกมาเพื่อที่จะทำโครงสร้างของหมวก

8.6 นำใบลานที่เหลืออยู่จากการทำโครงสร้าง นำไปสอดเข้าไปในระหว่างช่องที่ได้สร้างโครงสร้างเอาไว้ 

8.7 โครงสร้างของการตั้งหัวหมวก

8.8 ใช้เส้นด้ายเย็บใบลานแต่ละใบในส่วนของการตั้งหัวหมวกให้ติดกันเพื่อที่จะให้ใบลานนั้นไม่หลุดจากกัน

8.9 ดึงใบลานที่อยู่ชั้นนอกออกมาเพื่อที่จะทำการสอดใบลานอันอื่นเข้าไประหว่างใบลานที่ดึงออกมา โดยใช้เข็มมุดในการเชื่อมให้ติดกัน เพื่อที่จะจัดทรงของหมวกให้เป็นรูปร่างที่สวยงาม

8.10 ทำการสานใบลานไปเรื่อย ๆ ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วใช้ดินสอวาดรอบโครงสร้างหมวกเพื่อที่จะใช้เส้นด้ายเย็บหมวกให้มีความคงทนและสวยงาม และใช้หวายกับเชือกมาร้อยทำขอบของหมวก

9. คุณค่าของหัตถกรรมหมวกเปี้ยวใบลาน
ในด้านคุณค่าของหัตถกรรมหมวกเปี้ยวใบลานจำแนกได้ 6 ด้าน ได้แก่ คุณค่าด้านความงามและศิลปะ คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คุณค่าด้านสังคมสัมพันธ์ คุณค่าด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าด้านการสร้างนิสัย
10. ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
  ซื้อวัสดุมาประกอบ เช่น หวาย เส้นได้  กันเปียว เข็มเย็บหมวก เป็นต้น ประมาณ  50 บาท
11. ผลการดำเนินงาน / ผลสำเร็จ
  หมวกเปี้ยวใบลานทำให้เกิดรายได้เสริมกับครอบครัวและมีการผลิตและจำหน่ายให้กับชุมชนใกล้เคียง
12. สถานที่ตั้งกลุ่ม / หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อได้
กลุ่มหมวกเปี้ยวใบลาน เลขที่ 11 หมู่ที่ 8 บ้านโคกลาน ตำบลบ้านราม  อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์  0-7547-8266

หมายเลขบันทึก: 648137เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2018 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2018 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท