โครงการยกระดับคุณภาพการสอนของบุคลากรภายในโรงเรียน (enhancing the quality of teachers)


ชื่อโครงการ    ยกระดับคุณภาพการสอนของบุคลากรภายในโรงเรียน

(enhancing the quality of teachers)

หลักการและเหตุผล

              การยกระดับคุณภาพการสอนของบุคคลากรภายในโรงเรียนเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของสถานศึกษาจากข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนย้อนหลังโรงเรียนบ้านตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมานั้นเฉลี่ยลดลง รวมไปถึงโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาคง 3 ด้วยเช่นกัน จึงส่งผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6 มีบทบาทหลักในการสนับสนุน ส่งเสริม อำนวยการ ให้ทุกโรงเรียนได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาบุคลากรทุกคน ตามนโยบาย “ครูมุ่งพัฒนาตน ส่งผลต่อผู้เรียน” เพื่อนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพสูงตามเกณฑ์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยสถานศึกษาได้ใช้รูปแบบการยกระดับคุณภาพการสอนของบุคคลากรภายในสถานศึกษาตามคำแนะนำของ Ms. Barbour จากหนังสือ Hanover (2014, pp. 26-27) ดังมีรายละเอียดของกระบวนการดำเนินงาน “Results-Oriented Cycle of Inquiry” 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

1.  Set Goals ตั้งเป้าหมาย

2.  Plan วางแผน

3.  Act ลงมือทำ

4.  Assess ประเมินผล

5.  Reflect and Adjust สะท้อนผลและปรับปรุง

                 ทั้งนี้ การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนเน้น “การมีส่วนร่วม” ของบุคลากรภายในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ฝ่ายบริหารงาน 4 ฝ่าย และคณะครูทุกคน เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานต่อไป

 

วัตถุประสงค์ (เชิงคุณภาพ ปริมาณ)

  • เพื่อวางแผนทบทวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในสถานศึกษา
  • เพื่อให้ครูแต่ละรายวิชาได้ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ของตนให้ครบตามตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2561
  • เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนผ่านระเบียบการวัดผลและประเมินผลในระดับชาติ เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และชั้นเรียน
  • เพื่อสร้างความไว้วางใจจากข้อมูลที่เป็นรูปธรรมให้กับผู้ปกครองของนักเรียน ในการส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา

เป้าหมาย

ยกระดับคุณภาพการสอนของบุคลากรเพื่อส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

 

วิธีดำเนินการ

“Results-Oriented Cycle of Inquiry” ดังมีรายละเอียดของกระบวนการต่อไปนี้

  • Set Goals ตั้งเป้าหมาย
  • Plan วางแผน
  • Act ลงมือทำ
  • Assess ประเมินผล
  • Reflect and Adjust สะท้อนผลและปรับปรุง

- ครูทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม

- ครูทุกคนมีการแลกเปลี่ยนและปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้และกลยุทธ์ทางการสอน โดยออกแบบเนื้อหาสาระให้ครบตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2561

- ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามระเบียบการวัดผลและประเมินผลในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ชาติ เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และชั้นเรียนมีผลพัฒนาการที่ดีขึ้น

- ผู้อำนวยการสถานศึกษาประชุมร่วมกับฝ่ายบริหารงานทั้ง 4 ฝ่าย คณะครูทุกคน และผู้ปกครอง เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมในการจัดอบรมให้กับคณะครู รวมถึงกำหนดวันที่จะเริ่มทำการอบรม โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 3 ช่วง คือ ก่อนเปิดภาคเรียน ระหว่างเปิดภาคเรียน และหลังปิดภาคเรียน ทำหนังสือเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการจัดการเรียนการสอนมาให้ความรู้ เพื่อให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด

- มอบหมายงานให้ครูแต่ละคนรับผิดชอบ โดยดูจากความสามารถหรือความถนัดของแต่ละคน

ร่วมกันจัดทำแผนดำเนินงานโดยมีเนื้อหาที่ระบุถึงที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 

- ผู้รับผิดชอบเป็นพิธีกรทำหน้าที่และประธานในการจัดการอบรมหรือผู้อำนวยการสถานศึกษากล่าวเปิด

- เริ่มดำเนินการจัดการอบรมเพื่อยกรดับคุณภาพการสอนของคณะครู

- คณะครูทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกขั้นตอน

- ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเบรกช่วงเช้า อาหารกลางวัน และเบรกช่วงบ่ายจัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อม

- ก่อนจบการอบรมมีการซักถามข้อสงสัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่ได้ผลจริง นอกจากนี้คณะครูจะได้สรุปความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อจัดทำเป็นรายงานการอบรมส่งผู้บังคับบัญชา

- ประธานหรือตัวแทนกล่าวปิดการอบรม มอบค่าตอบแทนและของที่ระลึกให้กับวิทยากร ร่วมกันถ่ายภาพเพื่อทำรายงาน

- ฝ่ายรับผิดชอบเก็บสถานที่ลงมือปฏิบัติงาน

 

  •  ผู้อำนวยการติดตามผลจากการอ่านรายงานการอบรม ว่าการอบรมในแต่ละครั้งผู้เข้าร่วมได้อะไรนำไปพัฒนาหรือปรับปรุงการการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนบ้าง และเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะครู
  •  เมื่อมีการอบรมทั้ง 3 ครั้งครบแล้วนั้นจะมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยวัดจากการวัดและประเมินผลในระดับต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนว่าไปในทิศทางใด โครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
  • ครูได้วางแผนทบทวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเอง
  •  ครูแต่ละรายวิชาได้ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ของตนให้ครบตามตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2561
  •  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากระเบียบการวัดผลและประเมินผลในระดับชาติ เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และชั้นเรียนสูงขึ้นหรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  •  เกิดความไว้วางใจจากข้อมูลที่เป็นรูปธรรมให้กับผู้ปกครองของนักเรียน มีความเชื่อมั่นในการส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา

         

- นำผลที่ได้มาเผยแพร่พื้นที่ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนเพื่อให้ทุกคนทราบผลการปฏิบัติงาน

- ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยกันสะท้อนหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงโครงการให้ถูกต้องและเหมาะสม

 

ระยะเวลา

          20 สัปดาห์ (16 พฤษภาคม 2561 – 30 ตุลาคม 2561) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

 

งบประมาณ (อาหาร เบรก ตอบแทนวิทยากร ทำกิจกรรม)

          แบ่งการอบรมออกเป็น 3 ช่วง คือ ก่อนเปิดภาคเรียน ระหว่างเปิดภาคเรียน และหลังปิดภาคเรียน

          ค่าอาหารกลางวันและน้ำ           ครูจำนวน 18 คนๆละ 50 บาท    18 x 50 = 900 บาท

          ค่าอาหารเบรก 2 ช่วง               ครูจำนวน 18 คนๆละ 60 บาท    18 x 60 =  1,080 บาท

          ค่าอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม                                                  1,000 บาท

          ค่าตอบแทนวิทยากรจากเขตพื้นที่การศึกษา                              1,000 บาท

          ของที่ระลึก                                                                            500 บาท

          รวม                                                                                   4,480 บาท

          จัดการอบรม 3 ครั้งที่กล่าวไปแล้วข้างต้น   รวมทั้งสิ้น                  4,480 x 3 = 13,440 บาท

*จัดอบรมในสถานศึกษาจึงไม่เสียค่าสถานที่

 

ผู้รับผิดชอบ

ผู้บังคับบัญชาแบ่งคณะครูรับผิดชอบงานตามขอบเขตและความเหมาะสม ได้แก่

  • สถานที่และความสะอาด
  • พิธีกร
  • จัดเตรียมเบรค อาหารกลางวัน ของที่ระลึก
  • อำนวยความสะดวกระหว่างการจัดกิจกรรม
  • จัดเตรียมเอกสาร

ประเมินผล

          - มีการจัดทำแบบประเมินสำหรับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมได้ประเมินหลังจบการอบรมทุกครั้งเพื่อสะท้อนผลการอบรม

          - ครูทุกคนทำรายงานการอบรม

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ครูได้วางแผนทบทวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเอง
  •  ครูแต่ละรายวิชาได้ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ของตนให้ครบตามตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2561
  •  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากระเบียบการวัดผลและประเมินผลในระดับชาติ เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และชั้นเรียนสูงขึ้นหรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  •  เกิดความไว้วางใจจากข้อมูลที่เป็นรูปธรรมให้กับผู้ปกครองของนักเรียน มีความเชื่อมั่นในการส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา


หมายเลขบันทึก: 647709เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2018 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2018 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท