โครงการยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน


โครงการยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน

แผนงาน                   วิชาการ

กลยุทธ์ที่ 1                พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานในระดับสากล

                                      เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่าง

                             สร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อสังคมโลก

 

สนองมาตรฐานของ สพฐ มาตรฐานที่ 5      ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร                                             

ตัวบ่งชี้ที่ 

                 ๕.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์

                 ๕.๒ ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์

                 ๕.๓ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์

                  ๕.๔ ผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์     

         

ลักษณะโครงการ          £    โครงการใหม่        R    โครงการต่อเนื่อง

ผู้รับผิดชอบ               ฝ่ายบริหารงานวิชาการ 

ระยะเวลาดำเนินการ      เริ่มต้น  16  พฤษภาคม  2561    สิ้นสุด  28  กุมภาพันธ์  2562

 

1. หลักการและเหตุผล

                 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ซึ่งเน้นในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษา      ทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองได้กำหนด เป้าหมายให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติ มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า ร้อยละ 50 และจุดเน้นที่ 3 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลักให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 ซึ่งจากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนขามสะแกแสง พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีผลการประเมินต่ำกว่าระดับประเทศในหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้  และในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่เพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 3 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 3 ได้แก่  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ นอกจากนี้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 วิชาหลักทั้งมัธยมศึกษาปีที่ 3  และมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึง ร้อยละ 50

          โรงเรียนขามสะแกแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จึงได้ดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงเรียนขามสะแกแสง จึงกำหนดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ขึ้น

 

2. วัตถุประสงค์

              2.1  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6  ให้สูงขึ้น ร้อยละ 3 ทุกกลุ่มสาระ

         2.2  เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนขามสะแกแสง มีความรู้  ประสบการณ์ที่ได้รับจากพัฒนา

คุณภาพการศึกษา  มาปรับปรุงและพัฒนาการการเรียนของตนเอง

              2.3  เพื่อนำผลการประเมินในระดับโรงเรียนมาเทียบเคียงกับการประเมินผลในระดับชาติ

 

3.  เป้าหมาย

     3.1  เชิงปริมาณ

                1)  นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 โรงเรียนขามสะแกแสง ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ  3          

                 2)  นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 โรงเรียนขามสะแกแสง ร้อยละ  90  ได้รับความรู้และประสบการณ์ตามวัตถุประสงค์

                 3.  ร้อยละ  50  ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 โรงเรียนขามสะแกแสง มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้นเมื่อนำมาเทียบเคียงกับการประเมินผลในระดับชาติ

     2.2. เชิงคุณภาพ

นักเรียนโรงเรียนขามสะแกแสงมีคุณภาพและศักยภาพตามมาตรฐานสากล และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

 

4. เนื้อหา

          การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของสถานศึกษาซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีบทบาทหลักในการสนับสนุน ส่งเสริม อำนวยการ ให้โรงเรียนได้ดำเนินการเพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนที่ได้เข้าเรียน และจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และคุณภาพสูงตามเกณฑ์ เป้าหมาย และมาตรฐานของหลักสูตรให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ  เป็นรายบุคคลและทุกคน

     รศ.ดร.สุพักตร์  พิบูลย์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เสนอแนวคิดในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แนวคิด “Empowerment Approach และ Theory- Driven Approach ไว้น่าสนใจมาก ดังมีรายละเอียดของกระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พอสรุปได้ดังนี้

              ขั้นที่ 1  Taking Stock คือ การตรวจสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือผลการประเมินคุณภาพโรงเรียน เพื่อวิเคราะห์ว่าโรงเรียนเรามีคุณภาพมากน้อยเพียงใดเป็น การวิเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูล (Baseline) เช่น พิจารณาจากผลการสอบ O-NET, N.T. หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำปีของสถานศึกษา

                ขั้นที่ 2 Setting Goal เป็นการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ เป็นต้นว่า ภายในปี 2559 เราต้องมี

                        1) ผลการประเมินคุณภาพภายในระดับดีมาก

                        2) กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอย่างน้อยร้อยละ 90 อยู่ในระดับดีมาก

                         3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเฉพาะการประเมินO-NET จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 ของฐานเดิม

                 ขั้นที่ 3 Developing Strategies and implementing มุ่งพัฒนากลยุทธ์แล้วนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ตัวอย่างของกลยุทธ์ เช่น

                        1) ขับเคลื่อนห้องเรียนคุณภาพ หรือประกันคุณภาพแต่ละรายวิชา แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แม้แต่ครูทุกคนต้องตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพ และดำเนินการยกระดับคุณภาพให้ได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นการนิยามว่า “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ก็คือ ผู้ที่ทำงานสำเร็จใครสามารถทำผลงานปีนี้ได้ดีกว่าปีที่แล้ว เรียกว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                         2) ปฏิรูปการบริหารจัดการห้องเรียนประจำชั้นกำหนดเกณฑ์ “ห้องประจำชั้น/ ที่ปรึกษาคุณภาพ”

                         3) บริหารจัดการสถานศึกษาที่เน้นการขับเคลื่อนเชิงทฤษฎีอย่างเป็นระบบตามกรอบหลักวิชา

                 ขั้นที่ 4 Documenting Progress เป็นขั้นตอนการประเมินรวบรวมเอกสารหลักฐาน     ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของงานตามเป้าหมาย

                 ทั้งนี้ การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนเน้น “การมีส่วนร่วม” ของ ครู อาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง ฝ่ายต่าง ๆ เช่น กรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า เป็นต้น

                 นอกจากนี้ ดร.จันทมา นนทิกร โดยโครงการพัฒนาโรงเรียนเข้มแข็งด้วยการจัดการความรู้ (Healthy School by Knowledge Management) มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาการเรียนรู้ (มสวร.) ได้สังเคราะห์วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practices) เรื่อง การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จาก 16 โรงเรียนดีเด่นแล้วจำแนกเป็นประเด็นหลักเพื่ออธิบายวิธีปฏิบัติ ดังนี้

                 1. การบริหารจัดการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

                      1.1 การจัดการความรู้เพื่อกำหนดนโยบาย และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

                      1.2 การวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน

                      1.3 การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนากระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                      1.4 การนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร

                      1.5 การประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อเฝ้าระวังและติดตามแก้ไขปัญหา

                 2. วิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการได้ 3 รูปแบบ คือ

                      รูปแบบที่ 1 การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นตามเกณฑ์ที่คาดหวัง มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

                                    1)  การปรับเปลี่ยนท่าทีของครูในการจัดการเรียนรู้

                                    2)  การกำหนดเกณฑ์ที่คาดหวังและเกณฑ์การประเมินผล

                                    3)  การจัดกลุ่มผู้เรียนที่เหมาะสม

                                    4)  การกำหนดรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้และการจัดกิจกรรม

                      รูปแบบที่ 2 การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

                                    1) การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนพิเศษ

                                    2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ

                      รูปแบบที่ 3 การช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร

                                    1)  การดูแลใกล้ชิดเพื่อปรับพฤติกรรมและให้โอกาสนักเรียน

                                    2)  การเพิ่มพูนผลสัมฤทธิ์เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์การจบหลักสูตร

                 3. การจัดหลักสูตรนอกระบบ

                 เป็นการจัดหลักสูตรพัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยไม่ติดระบบปกติซึ่งอาจใช้นวัตกรรมในการบริหารและดำเนินการ

 

                 กล่าวโดยสรุป  แนวคิดหลักการในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนี้ โรงเรียนขามสะแกแสง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31  ต้องวางแผนการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ เชื่อมประสานกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ บนพื้นฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายที่กำหนดอย่างชัดเจน

 

5. กิจกรรมและการดำเนินการ  

 

รายการ / กิจกรรม

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

ขั้นเตรียมการ      ระหว่างเดือนพฤษภาคม    2561

1. ประชุมชี้แจงผลการสอบ o-net  แก่ครูผู้สอน

2. วิเคราะห์คะแนนย้อนหลัง 3 ปี  เพื่อศึกษาและพิจารณาจุดเด่นและจุดควรพัฒนาเป็นรายมาตรฐานและรายสาระ

3. คัดเลือกนักเรียนตามศักยภาพ (เก่ง  ปานกลาง อ่อน)

4. จัดทำโครงการยกผลสัมฤทธิ์

พฤษภาคม  2561

   

พฤษภาคม  2561

 

 

พฤษภาคม  2561

 

พฤษภาคม  2561

งานวิชาการ

 

งานวิชาการ/

หัวหน้ากลุ่มสารระฯ

 

งานวิชาการ/

ครูผู้สอน

งานวิชาการ


ขั้นดำเนินการ     ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2561 – เดือนมิถุนายน  2561

5. ปรับปรุงหลักสูตร

 

6. เพิ่มสมรรถนะครูด้านการวัดประเมินผล (อบรม/ทบทวน)

7. นิเทศการจัดการเรียนรู้ของครู

 

8. มอบหมายนโยบายให้ทุกกลุ่มสาระทำโครงการยกผลสัมฤทธิ์

       ฯลฯ

พฤษภาคม - มิถุนายน 2561

 

พฤษภาคม - มิถุนายน 2561

 

ตลอดปีการศึกษา 2561

 

พฤษภาคม 2561

 

 

งานวิชาการ/

กลุ่มสาระฯ

งานวิชาการ/

กลุ่มสาระฯ

ฝ่ายบริหาร/

หัวหน้ากลุ่มสาระฯ

ฝ่ายบริหาร

 

ขั้นสรุปประเมินผล และรายงาน    ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน  2562

5. ประเมินผลและสรุปโครงการ

6. รายงานโครงการ

มีนาคม – เมษายน 2562เมษายน 2562

งานวิชาการ

งานวิชาการ

 

6. งบประมาณ  จำนวนเงิน  10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

 

ลำดับที่

รายการ

จำนวนที่ใช้

ราคา/หน่วย

จำนวนเงิน

หมายเหตุ

1

ค่าอาหารเบรก

100 ชุด

25

2,500

 

2

ค่าจัดทำเอกสารการประชุม

100 ชุด

10

1,000

 

3

ค่าถ่ายเอกสาร

4,000 แผ่น

0.50

2,000

 

4

ค่ากระดาษ

8 ลัง

500

4,000

 

5

ค่าวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ

-

-

500

 

รวมทั้งสิ้น

10,000

บาท

 

7. การประเมินผล

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

วิธีการประเมิน

เครื่องมือ

เชิงปริมาณ

                1)  นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 โรงเรียนขามสะแกแสง ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ  3          

                 2)  นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 โรงเรียนขามสะแกแสง ร้อยละ  90  ได้รับความรู้และประสบการณ์ตามวัตถุประสงค์

                 3.  ร้อยละ  50  ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 โรงเรียนขามสะแกแสง มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้นเมื่อนำมาเทียบเคียงกับการประเมินผลในระดับชาติ

 

เชิงคุณภาพ

นักเรียนโรงเรียนขามสะแกแสงมีคุณภาพและศักยภาพตามมาตรฐานสากล และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

 

สังเกต, ตรวจสอบ

 

 

 

 

การตรวจสอบ

สังเกต  สัมภาษณ์

 

แบบสำรวจ

 

 

 

 

แบบประเมิน

 

8.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                    8.1 นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 3 ทุกกลุ่มสาระ

         8.2  นักเรียน มีความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับจากพัฒนาคุณภาพการศึกษา มาปรับปรุงและพัฒนาการการเรียนของตนเอง

              8.3  มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงขึ้นเมื่อนำมาเทียบเคียงกับการประเมินผลในระดับชาติ

หมายเลขบันทึก: 647690เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2018 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2018 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท