จริยธรรมเบื้องต้น


    

จริยธรรมเบื้องต้น

 ความหมายของจริยธรรม

       จริยธรรม คือ ความสำนึก หรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม

คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"

จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว

      ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว

๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา

๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท

๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง

๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้

         ความสำคัญของจริยธรรม

การมีจริยธรรมและคุณธรรม เป็นส่วนสำคัญที่จะนำพาความสุขและความเจริญก้าวหน้าไปสู่มนุษย์และสังคมนั้นๆ และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมมาก ซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของจริยธรรมและคุณธรรมได้ดังนี้

1).ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ หากทุกคนในสังคมมีคุณธรรมและจริยธรรมก็จะทำให้สังคมสงบสุข และทุกคนจะใช้เวลาไปกับการพัฒนาสังคมให้เป็นปึกแผ่น ไม่ต้องแบ่งเวลาเพื่อระแวดระวังอันตรายจากพวกคนเลว

2).ช่วยให้คนเรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา จริยธรรมและคุณธรรมที่มีอยู่ในตัวทุกคนจะคอยเตือนสติให้เราทำความดีเพื่อรักษาชื่อเสียงของตนและวงศ์ตระกูล

3) ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เติบโตไปพร้อมๆกัน หากมนุษย์นำความ

เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาพัฒนาในด้านที่ผิด เช่น ผลิตอาวุธมาใช้ประหัตประหารกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ความเดือดร้อนจะเกิดแก่คนทั่วไป แต่ในทางตรงข้ามหากมนุษย์มีคุณธรรมจริยธรรม นำความเจริญก้าวหน้านี้มาใช้ผลิตวัตถุ เช่น คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม ก็จะนำพามาแต่ประโยชน์ให้แก่คนทั่วไป เพราะจิตใจที่สงบสุขจึงสร้างสรรค์แต่สิ่งที่มีคุณค่าต่อคนในสังคมและประเทศชาติจริยธรรมถือเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษย์และสังคม หากมนุษย์คนใดขาดจริยธรรมอาจมีผลร้ายต่อตนเองและสังคม สังคมที่ขาดจริยธรรมย่อมเป็นสังคมที่วุ่นวายไม่สงบสุข

4).ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่บุคคลในชาติ โดยจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคม เมื่อทุกคนปฏิบัติพร้อมเพรียงกันทั้งสังคมและประเทศชาติก็จะเป็นระเบียบตามไปด้วย

5. ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่าง นับเป็นคุณแก่สังคม ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแบบอย่างโดยการชี้นำทางอ้อม หรือออกปากแนะนำให้มีความรับผิดชอบ ไม่เห็นแก่ตัว โดยการเป็นแบบอย่างที่ดีนี้จะทำให้ผู้ที่ยึดถือเรา ไม่กลับไปทำความชั่วอีก

6. ช่วยทำให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสรรค์แต่สิ่งดีมีคุณค่า หากมนุษย์นำความรู้มาใช้ในอาชีพที่สุจริตก็จะนำมาซึ่งคุณประโยชน์ให้แก่คนทั่วไป รวมทั้งสังคมและประเทศชาติ แต่หากมนุษย์นำความรู้มาใช้โดยขาดจริยธรรม เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ก็จะสร้างความเสียหายให้แก่สังคมและประเทศชาติเช่นกัน

         คุณค่าของจริยธรรม

1.ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

2. ช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง  มีความรับผิดชอบสำนึกในหน้าที่ ที่พึงมีต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

3.จริยธรรมช่วยให้เกิดสติปัญญา รู้จักใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาโดยถูกวิธี

4.ช่วยให้เกิดความสงบในสังคม

5.ช่วยให้อยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ

6.ทำให้มนุษย์รู้จักปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้

7.ช่วยป้องกันการเบียดเบียนและเอาเปรียบกัน

8.ช่วยให้มนุษย์มีความหนักแน่น ขยันอดทน รู้จักต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคและปัญหา

9.ช่วยให้มนุษย์สามารถกำหนดเป้าหมายของชีวิตและสามารถเดินสู่เป้าหมายได้

        หลักปฎิบัติของการมีจริยธรรม

1. มีมารยาทดี

2.ชอบช่วยเหลือผู้อื่น

3. มีความซื่อสัตย์สุจริต

4.มีความเพียร

5. มีความเมตตา

6.มีความกตัญญู

7.มีความประหยัด

8.มีความอดทน

9.มีความเคารพนับถือผู้อื่น (ที่ควรเคารพ)

10. มีความกล้าทำในสิ่งที่ดี

11.ไม่เห็นแก่ตัว

12.  มีความรับผิดชอบ

13.มีความขยัน

14.มีความเสียสละ

15.รู้จักวางตนให้เหมาะสมกับฐานะ  กาลเทศะ

16. พูดจาไพเราะอ่อนหวานกับตนเองและผู้อื่น

17.เป็นผู้มีศีล 5 บริสุทธิ์

ประโยชน์ของจริยธรรม

1.ทำให้เป็นคนที่ดูดี ดูน่าเชื่อถือ

2. ทำให้เป็นคนที่เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลอื่น ๆ ได้เป็นอย่างมาก

3. ทำให้เป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณที่ดี

4. มีความยุติธรรมถูกต้อง

5ทำให้เป็นผู้ที่มีความประพฤติชอบเหมาะสม

6. เป็นที่รักของคนรอบข้าง

7. เป็นผู้ที่น่าเคารพ

8. เพื่อให้มีเมตตาธรรม ไม่เบียดเบียน

9. เพื่อให้ชีวิตมีความปลอดภัย ไม่ต้องหวาดระแวงกันและกัน

10. เพื่อให้ประกอบกิจการงานและประพฤติธรรมได้โดยสะดวก

11. เพื่อเป็นพื้นฐานให้สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ต่อไป

12 เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

13. เพื่อกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคต

14. เพื่อให้ประกอบอาชีพโดยความซื่อสัตย์สุจริต

15.เพื่อให้รักและเคารพเกียรติของตนเอง

16. เพื่อให้เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

17. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในทรัพย์สินของตนเองไม่ต้องวิตกกังวล

18. เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

19. เพื่อกำจัดเวรภัยทั้งปัจจุบันและอนาคต

         องค์ประกอบทางจริยธรรม

  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธีนี้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่น่าสนใจ   ในการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้เกิดกับผู้เรียนได้นั้น   ครู  ผู้บริหารสถานศึกษา   ผู้ปกครอง  และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้อง   มีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืนในปลูกฝังคุณธรรมขึ้นในจิตใจของผู้เรียน   ซึ่งจากการศึกษาองค์ประกอบทางจริยธรรม  สามารถจำแนกได้เป็น  3   องค์ประกอบดังนี้

  1. องค์ประกอบทางปัญญา

 1.1 ขั้นความรู้

 1.2  ขั้นความจำ

           1.3 ขั้นความเข้าใจ

            1.4 ขั้นนำไปใช้

            1.5 ขั้นวิเคราะห์

            1.6 ขั้นประเมินค่า

  2. องค์ประกอบทางอารมณ์

            2.1  ขั้นรับรู้

            2.2  ขั้นตอบสนอง

            2.3 ขั้นเห็นคุณค่า

            2.4 ขั้นจัดระบบ

            2.5 ขั้นกิจนิสัย

    3. องค์ประกอบทางพฤติกรรม

           3.1  ภายใน   เช่น  ความรู้   ความคิด   สติปัญญา

           3.2  ภายนอก  เช่น   การอบรมบ่มนิสัย  สภาพแวดล้อมทางครอบครัว   สภาพแวดล้อมทางสังคม

        ประเภทของจริยธรรม

แบ่งเป็น  2  ประเภท  ดังนี้

1.จริยธรรมภายใน

            เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลตามสภาพจิตใจและสภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน  อาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็น  เช่น  ความซื่อสัตย์สุจริต  ความยุติธรรม  ความเมตตากรุณา  ความกตัญญูกตเวที  เป็นต้น

2.จริยธรรมภายนอก

            เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฎให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน  เช่น  ความรับผิดชอบ  ความเป้นระเบียบเรียบร้อย  ความมีวินัย  การตรงต่อเวลา  สุภาพ  อ่อนน้อม  มีมารยาท  เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงาน  ความกตัญญูกตเวที  เป็นต้น

          คุณลักษณะของจริยธรรม

1.ความรับผิดชอบ (Responsibility)

            หมายถึง  ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำการปฎิบัติหน้าที่หรือภารกิจต่างๆ  ด้วยความผูกพัน  ความพากเพียร  และความละเอียดรอบคอบ  ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย  ทั้งความพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น

2.ความซื่อสัตย์ (Probity)

            หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง  ประพฤติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย  วาจา  ใจ  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น

3.ความมีเหตุผล (Rationality)

            ความสามารถในการใช้ปัญญาในการประพฤติรู้จักไตร่ตรอง  พิสูจน์ให้ประจักษ์  ไม่หลงงมงาย  มีความยับยั้งชั่งใจโดยไม่ผูกพันกับอารมณ์  และความนยึดมั่นของที่มีอยู่เดิม  ซึ่งอาจผิดได้

4.ความกตัญญูกตเวที  (Gratitude)

ความกตัญญู  หมายถึง  ความรู้สึกในการอุปการะคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา

กตเวที  หมายถึง  การแสดงออกและการตอบแทนบุญคุณ

ดังนั้น  ความกตัญญูกตเวที  จึงหมายถึง  ความรู้บุญและการตอบแทนผู้อื่นและสิ่งที่มีบุญคุณ

5.ความอุตสาหะ  (Perseverance)

            หมายถึง  ความพยายามอย่างยิ่ง  เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำ  ด้วยความขยันขันแข็งกระตือรือร้นอดทน  ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย้อท้อ

6.ความสามัคคี (Hermony)

            หมายถึง  ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี  โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน

7.ความมีระเบียบเรียบร้อย (Discipline)

            การควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคมกฎระเบียบ ข้อบังคับ  กฎหมายและศีลธรรม

8.ความเสียสละ (Sacrifice)

            หมายถึง  การละละความเห็นแก่ตัว  การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์  กำลังกาย  และกำลังปัญญา 9.ความประหยัด (Parsimony)

            หมายถึง  การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังพอเหมาะพอควร  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินฐานะของตน

10.ความยุติธรรม (Impartiality)

            หมายถึง  การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง  การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ  จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงไม่มีลำเอียงเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

11.ความเมตตากรุณา (Clemency)

            หมายถึง  ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข  และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 647439เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2018 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2018 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท